คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 58/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

จำเลยกับส.ผู้ตายเป็นตำรวจประจำสถานีตำรวจเดียวกันจำเลยมีบาดแผลที่เข่าเป็นเหตุให้เดินไม่ถนัดต้องนุ่งกางเกงขาสั้นผู้ตายก่อเหตุขึ้นด้วยการเข้ามาตบแผลที่เข่าจำเลยแล้วด่าจำเลยหาว่าจำเลยเอาเรื่องไปฟ้องผู้บังคับบัญชาและชกหน้าจำเลย1ทีต่อจากนั้นก็เอากรรไกรตัดหญ้าง้างออกจะหนีบคอจำเลยจำเลยหลบและปัดป้องทำให้หนีบคอไม่ได้ผู้ตายก็รวบกรรไกรจ้วงแทงศีรษะจำเลยเมื่อจำเลยหลบกรรไกรปักลงที่ม้านั่งผู้ตายยังใช้กรรไกรพุ่งแทงจำเลยในระดับลูกตาหรือหน้าผากอีกจำเลยหลยกรรไกรไปถูกคานยึดขาม้านั่งที่กองไว้ด้านหลังกรรไกรหลุดจากมือผู้ตายผู้ตายบีบคอจำเลยอีกจำเลยดิ้นรนจนตกจากม้านั่งลงไปที่พื้นมือผู้ตายหลุดจากคอผู้ตายตามไปชกจำเลยอีกพฤติการณ์ของผู้ตายเป็นการแสดงเจตนาที่จะฆ่าจำเลยให้ตายและติดตามทำร้ายจำเลยด้วยวิธีต่างๆติดต่อกันจำเลยจึงชักปืนพกออกมาและยิงผู้ตายไปติดๆกัน2นัดทันทีโดยมิได้เล็ง(กระสุนปืนถูกผู้ตาย1นัด)ในเวลาฉุกละหุกเช่นนั้นจำเลยย่อมไม่มีโอกาสจะหลบหนีได้พ้นเพราะจำเลยมีแผลที่เข่าเดินไม่ถนัดกรรไกรตัดหญ้าก็ตกอยู่ใกล้ๆผู้ตายผู้ตายอาจนำมาใช้ทำร้ายจำเลยถึงตายได้จำเลยยิงผู้ตายเพื่อป้องกันเช่นนั้นเป็นการกระทำพอสมควรแก่เหตุ

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอ ให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ริบของกลาง เว้นแต่ กรรไกร ตัดหญ้า ของกลาง คืน เจ้าของ
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ยกฟ้อง คืน ของกลาง ทั้งหมด แก่ เจ้าของ
โจทก์ร่วม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ประกอบ มาตรา 68, 69 จำคุก 3 ปี อาวุธปืน และ เครื่องกระสุนปืน ให้ ริบ กรรไกร ตัดหญ้า คืน เจ้าของ
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า จำเลย กับ สิบตำรวจตรี ลัมพงษ์ โสภาคะยัง ผู้ตายเป็น เจ้าพนักงาน ตำรวจ ประจำ สถานีตำรวจ ภูธร อำเภอ หนองกุงศรี ด้วยกัน ก่อน เกิดเหตุ 2 วัน จำเลย ขับ รถจักรยานยนต์ ไป คว่ำ ทำ ให้ มี บาดแผลที่ เข่าขวา วัน เกิดเหตุ จำเลย นั่ง อยู่ ที่ ม้ายาว ใต้ถุน สถานีตำรวจคุย กับ ผู้อื่น อยู่ ผู้ตาย ลง จาก สถานีตำรวจ มา หา จำเลย เอา มือตบ เข่าขวา ข้าง ที่ เป็น แผล ของ จำเลย ถาม ว่า เจ็บไหม จำเลย ว่าเจ็บ ผู้ตาย ก็ ถาม ว่า หาก มี ใคร มา ทำ กับ มึง อย่างนี้ จะ สู้หรือไม่ จำเลย ว่า ไม่สู้ ผู้ตาย ชก แก้ม ซ้าย จำเลย 1 ที ด่า จำเลยหา ว่า เอา เรื่อง ไป ฟ้อง ผู้บังคับบัญชา แล้ว ผู้ตาย หยิบ กรรไกรตัดหญ้า มา ง้าง จะ หนีบคอ จำเลย จำเลย หลบ ผู้ตาย รวบ กรรไกร จ้วงแทงลง ไป ที่ ศีรษะ จำเลย จำเลย หลบ กรรไกร จึง ปัก ลง ไป บน ม้านั่งผู้ตาย เอา กรรไกร แทง จำเลย อีก จำเลย หลบ กรรไกร เลย ไป ถูก คาน ยึดขา ม้านั่ง ที่ ซ้อนกัน อยู่ ด้านหลัง จำเลย กรรไกร หลุด จาก มือผู้ตาย ต่อจากนั้น ผู้ตาย ก็ บีบ คอ จำเลย จำเลย ดิ้นรน จน ตก จากม้านั่ง มือ ของ ผู้ตาย หลุด จาก คอ จำเลย ผู้ตาย ชก หน้า จำเลย อีกจำเลย เซถลา ไป และ ชัก ปืนพก ที่ เอว ออก มา ยิง ผู้ตาย 2 นัด ผู้ตายล้ม ลงนอน
ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ใน ชั้นนี้ คง มี ว่า การ กระทำ ของ จำเลยเป็น การ ป้องกันตัว พอสมควร แก่ เหตุ หรือไม่ เห็นว่า จำเลย มีบาดแผล ที่ เข่า เป็น เหตุ ให้ เดิน ไม่ ถนัด ต้อง นุ่ง กางเกง ขาสั้นผู้ตาย ก่อเหตุ ขึ้น ด้วย การ เข้า มา ตบ แผล ที่ เข่า จำเลย แล้วด่า จำเลย หา ว่า จำเลย เอา เรื่อง ไป ฟ้อง ผู้บังคับบัญชา และ ชก หน้าจำเลย 1 ที ต่อจากนั้น ก็ เอา กรรไกร ตัด หญ้า ง้าง ออก จะ หนีบคอจำเลย จำเลย หลบ และ ปัดป้อง ทำ ให้ หนีบคอ ไม่ ได้ ผู้ตาย ก็ รวบกรรไกร จ้วงแทง ศีรษะ จำเลย เมื่อ จำเลย หลบ กรรไกร ปักลง ที่ ม้านั่งซึ่ง ตาม บันทึก การ ตรวจ สถานที่ เกิดเหตุ เอกสาร หมาย จ.3 ที่ม้านั่ง มี รอยลึก 0.5 เซนติเมตร 2 รู ห่าง กัน 6 เซนติเมตร ผู้ตายยัง ใช้ กรรไกร พุ่ง แทง จำเลย อีก จำเลย หลบ กรรไกร ไป ถูก คาน ยึดขา ม้านั่ง ที่ กอง ไว้ ด้านหลัง ซึ่ง ตาม บันทึก การ ตรวจ สถานที่เกิดเหตุ ว่า เป็น รอยไม้ ถูก ของ มี คม 2 รอบ ห่างกัน 10 เซนติเมตรอยู่ ระดับ ลูกตา หรือ หน้าผาก ของ จำเลย กรรไกร หลุดจาก มือ ผู้ตายผู้ตาย เข้า บีบ คอ จำเลย อีก จำเลย ดิ้นรน จน ตก จาก ม้านั่ง ลง ไปที่ พื้น มือ ผู้ตาย หลุดจาก คอ ผู้ตาย ตาม ไป ชก จำเลย อีก พฤติการณ์ของ ผู้ตาย เป็น การ แสดง เจตนา ที่ จะ ฆ่า จำเลย ให้ ได้ และ ติดตามทำร้าย จำเลย ด้วย วิธี ต่างๆ ติดต่อ กัน จำเลย จึง ชัก ปืนพก ออก มายิง ผู้ตาย ไป ติดๆ กัน 2 นัด ทันที ซึ่ง เป็น การ ยิง ที่ มิได้ เล็งเพราะ กระสุนปืน นัด หนึ่ง ไป ถูก พื้น กระดาน ของ สถานีตำรวจ ในเวลา ฉุกละหุก เช่นนั้น จำเลย ย่อม ไม่ มี โอกาส จะ หลบหนี ได้ พ้นเพราะ จำเลย มี แผล ที่ เข่า เดิน ไม่ ถนัด กรรไกร ตัดหญ้า ที่ ผู้ตายใช้ ทำร้าย จำเลย 2 ครั้ง ก็ ตก อยู่ ใกล้ๆ ผู้ตาย ผู้นาย อาจ นำ มาใช้ ทำร้าย จำเลย ถึง ตาย ได้ ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย กับ ศาลชั้นต้นว่า จำเลย กระทำ พอสมควร แก่ เหตุ เป็น การ ป้องกัน โดยชอบ ด้วย กฎหมาย
พิพากษา กลับ ให้ ยกฟ้อง โจทก์ และ บังคับคดี ไป ตาม คำพิพากษา ของศาลชั้นต้น

Share