แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
สิทธิที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นสิทธิที่มีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา443วรรคสามโดยไม่ต้องอาศัยข้อเท็จจริงว่ามีการจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูจริงหรือไม่
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์โดยสาร ใน ทางการที่จ้างของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ด้วย ความประมาท เป็นเหตุ ให้ รถ เสีย หลักพลิกคว่ำ ลง ข้างทาง นาย วีระ บุตร โจทก์ ซึ่ง โดยสาร ไป ใน รถ ถึงแก่ความตาย จำเลย ที่ 4 ผู้ประกอบ การ ขนส่ง ซึ่ง จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 เข้าร่วมขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน รับผิด ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนรวมเป็น เงิน 752,212.33 บาท แก่ โจทก์ และ ดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อ ปีจาก ต้นเงิน 700,000 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ให้การ ว่า โจทก์ ไม่ได้ เป็น มารดา ของนาย วีระ จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ ขับ รถยนต์โดยสาร โดยประมาท ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 4 ให้การ ทำนอง เดียว กับ จำเลย ที่ 2 และ 3 กับ จำเลย ที่ 4ไม่ได้ หา ผลประโยชน์ ใน รถยนต์โดยสาร คัน เกิดเหตุ ร่วม กับ จำเลย ที่ 2และ ที่ 3 ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน ชำระ เงิน 590,000 บาทพร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จาก ต้นเงิน ดังกล่าว นับ ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2533 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า “ที่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ฎีกา ว่าค่า อุปการะ เลี้ยงดู จะ ต้อง ปรากฏว่า มี การ จ่าย ให้ แก่ กัน จริง ถ้า ไม่มีการ จ่าย จริง ก็ ต้อง ถือว่า โจทก์ ไม่เสีย หาย เป็น ทำนอง ว่า ยัง ติดใจโต้แย้ง จำนวน ค่า อุปการะ เลี้ยงดู อยู่ นั้น ใน ข้อ นี้ ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 1563 บัญญัติ ว่า บุตร จำต้อง อุปการะ เลี้ยงดูบิดา มารดา มาตรา 443 วรรคสาม บัญญัติ ว่า ถ้า ว่า เหตุ ที่ ตาย ลง นั้นทำให้ บุคคล คนหนึ่ง คนใด ต้อง ขาดไร้อุปการะ ตาม กฎหมาย ไป ด้วย ไซร้ท่าน ว่า บุคคล นั้น ชอบ ที่ จะ ได้รับ ค่าสินไหมทดแทน เพื่อ การ นั้น ดังนี้สิทธิ ที่ จะ ได้รับ ค่า อุปการะ เลี้ยงดู เป็น สิทธิ ที่ มี ตาม กฎหมายโดย ไม่ต้อง อาศัย ข้อเท็จจริง ว่า มี การ จ่าย ค่า อุปการะ เลี้ยงดูจริง หรือไม่
พิพากษายืน