คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1650/2514

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

จำเลยถูกฟ้องคดีอาญาเรื่องหนึ่ง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลย ขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยได้ประพันธ์ พิมพ์ และนำออกโฆษณา ทำให้แพร่หลายไปถึงประชาชนซึ่งเอกสารสิ่งพิมพ์ กล่าวถึงการกระทำของผู้ทำการแทนในตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าเป็นผู้จัดให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์พิจารณาคดีและตัวผู้ทำการแทนฯ เองก็มีพฤติการณ์ให้การพิพากษาคดีดังกล่าวเป็นไปโดยรวบรัดไม่ชอบด้วยหลักยุติธรรมและกล่าวถึงการกระทำของศาลอาญาศาลอุทธรณ์ และผู้พิพากษาที่พิจารณาพิพากษาคดีนั้นว่า “พิพากษาลงโทษจำเลย โดยไม่คำนึงถึงหลักกฎหมาย หลักความยุติธรรม ประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนจะวิ่งไปขอความยุติธรรมต่อศาลให้สิ้นเปลืองเงินทองเพื่อประโยชน์อันใด…” ดังนี้ เป็นข้อความที่เรียกได้ว่าจำเลยกล่าวในทำนองตำหนิศาลอาญา ศาลอุทธรณ์ และผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะที่ทำการพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ไม่เป็นที่พึ่งของประชาชน นับว่าเป็นการกระทำที่แสดงต่อศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาคดีจึงเป็นถ้อยคำดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 198
เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 198 แล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 136 อีก (อ้างฎีกาที่ 1456/2506)

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันดูหมิ่นเจ้าพนักงานดูหมิ่นศาลและผู้พิพากษา กับละเมิดอำนาจศาล โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ประพันธ์ จำเลยที่ 2 เป็นผู้พิมพ์แล้วจำเลยทั้งสามนำออกโฆษณาทำให้แพร่หลายไปถึงประชาชน ซึ่งเอกสารสิ่งพิมพ์ชื่อ “ฎีกาต่อคณะตุลาการ ศาลฎีกา คณะรัฐมนตรี คณะปฏิวัติ และประชาชน ทุกท่านอันเกี่ยวกับกระบวนยุติธรรมตำรวจ อัยการ ศาลยุติธรรม โดยคณะนักกฎหมายและนักนิติศาสตร์” ซึ่งมีข้อความดูหมิ่นนายจิตติ ติงศภัทิย์ ผู้ทำการแทนในตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า “…นายจิตติ ติงศภัทิย์ จัดให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์พิจารณาคดีและตัวนายจิตติเองมีพฤติการณ์ให้การพิพากษาคดีดังกล่าวเป็นไปโดยรวบรัด ไม่ชอบด้วยหลักยุติธรรม….” และมีข้อความดูหมิ่นศาลอาญา ศาลอุทธรณ์ และผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในคดีที่ศาลอาญาพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143ให้จำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 2 ปี ปรับ 10,000 บาท แต่ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ และศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอาญาดังกล่าวเป็นว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดฐานกรรโชกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 337 ให้จำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 4 ปี ว่า “ทำการวินิจฉัยโดยวิธีงุบงิบปกปิด ซ่อนเร้น เอาพยานหลักฐานของจำเลยในคดีออกเสียจากสำนวนความ

Share