คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

กรณีที่จะเป็นการรับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นต้องเป็นกรณีที่ผู้ชำระหนี้รับช่วงสิทธิของผู้รับชำระหนี้มาฟ้องร้องเอาจากผู้ที่ตนชำระหนี้แทนแต่กรณีของคดีนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องจำเลยผู้รับชำระหนี้เสียเองจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา229(3). การที่ผู้เช่าชำระหนี้ค่าภาษีแทนผู้ให้เช่าในนามของผู้ให้เช่าตามความผูกพันในสัญญาเช่าระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่าและพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ยอมรับชำระหนี้จากผู้เช่าแล้วถือได้ว่าผู้เช่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการชำระหนี้เมื่อปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บภาษีเกินไปผู้เช่าย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินภาษีส่วนที่อ้างว่าชำระเกินนั้นคืนได้ถ้าหากได้ฟ้องคดีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้. ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินมาตรา8กำหนดให้คิดค่าภาษีตามค่ารายปีของทรัพย์สินถ้าทรัพย์สินนั้นให้เช่าให้ใช้ค่าเช่าเป็นหลักคำนวณค่ารายปีแต่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินแก้หรือคำนวณค่ารายปีใหม่ได้เมื่อมีเหตุให้เห็นว่าค่าเช่าระหว่างผู้ให้เช่าและผู้เช่าตามสัญญาเช่าไม่ใช่จำนวนเงินอันสมควรและมีข้อเท็จจริงว่าปรากฏเหตุเช่นนั้นหากค่าเช่าไม่ได้น้อยจนเกินสมควรหรือไม่มีเหตุที่น่าจะเห็นได้ว่าผู้ให้เช่าและผู้เช่าสมยอมกันแล้วเจ้าพนักงานประเมินก็ต้องประเมินค่ารายปีเพื่อเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินตามจำนวนค่าเช่าที่ผู้เช่าชำระให้แก่ผู้ให้เช่า.

ย่อยาว

คดี ทั้ง สอง สำนวน ศาล ได้ พิจารณา พิพากษา รวมกัน โจทก์ ทั้ง สองสำนวน ฟ้อง ความ ว่า โจทก์ ได้ ทำ สัญญาเช่า โรงงาน สุรา บางยี่ขัน จากจำเลย ที่ 1 ตาม สัญญาเช่า ฉบับ ปี 2523 – 2537 เป็น การ เช่า ที่ดินอาคาร ยานพาหนะ และ ทรัพย์สิน อื่นๆ ค่าเช่า เฉพาะ โรงเรือน และ ที่ดินใน ปี พ.ศ. 2524 และ 2525 ปีละ 979,000 บาท จำเลย ที่ 1 มี หน้าที่ ต้องเสีย ภาษี โรงเรือน และ ที่ดิน ให้ แก่ จำเลย ที่ 3 ตาม พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ปีละ 122,400 บาท แต่ ตาม สัญญาเช่าดังกล่าว กำหนด ให้ โจทก์ ชำระ แทน จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 3 ได้ แจ้งการ ประเมิน ภาษี โรงเรือน และ ที่ดิน ดังกล่าว ประจำปี 2524 และ 2525เป็น เงิน ปีละ 8,135,296.30 บาท ซึ่ง ไม่ ถูกต้อง ตาม กฎหมาย โจทก์ได้ ทักท้วง ไป ยัง จำเลย ที่ 1 และ จำเลย ที่ 1 ได้ ยื่น อุทธรณ์ ต่อจำเลย ที่ 4 แต่ จำเลย ที่ 4 มี คำสั่ง ให้ ยก อุทธรณ์ โจทก์ ขอ ให้จำเลย ที่ 1 ฟ้อง ดคี ต่อ ศาล ให้ เพิกถอน การ ประเมิน และ เพิกถอนคำวินิจฉัย อุทธรณ์ จำเลย ที่ 1 ปฏิเสธ ไม่ ยอม ฟ้อง คดี และ จำเลย ที่2 สั่ง ให้ โจทก์ ชำระ เงิน ค่า ภาษี โรงเรือน และ ที่ดิน ตาม ที่จำเลย ที่ 3 ประเมิน เรียก เก็บ อัน เป็น การ จงใจ ทำ ให้ โจทก์เสียหาย ขอ ให้ เพิกถอน คำสั่ง การ ประเมิน ภาษี และ เพิกถอน คำวินิจฉัยอุทธรณ์ ดังกล่าว ให้ โจทก์ รับผิด ชำระ ค่าภาษี โรงเรือน และ ที่ดินแทน จำเลย ที่ 1 เป็น เงิน เพียง ปีละ 122,400 บาท ให้ จำเลย ทั้ง สี่ร่วมกัน คืนเงิน ค่าภาษี โรงเรือน และ ที่ดิน ที่ โจทก์ เสีย เกินไปเป็น เงิน จำนวน ปีละ 8,012,896.30 บาท ทั้ง สอง ปี พร้อมกับ ดอกเบี้ยใน อัตรา ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อปี นับ ตั้งแต่ วันฟ้อง เป็นต้นไป จนกว่าจะ คืน ให้ โจทก์ เสร็จ
จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ทั้ง สอง สำนวน ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ไม่ฟ้อง จำเลย ที่ 3 ที่ 4 เพราะ เป็น หน่วยราชการ ด้วยกัน มี มิตคณะรัฐมนตรี ห้าม ไว้ มิให้ ฟ้องร้อง กัน และ จำเลย ที่ 2 เห็น คล้อยตาม เหตุผล ของ จำเลย ที่ 3 ที่ 4 จำเลย ที่ 2 แจ้ง ให้ โจทก์ ปฏิบัติตาม คำสั่ง การ ประเมิน ภาษี ของ จำเลย ที่ 3 และ คำวินิจฉัย ชี้ขาด ของจำเลย ที่ 4 เพราะ เชื่อ โดย สุจริต ว่า เป็น คำสั่ง ที่ ชอบ ด้วยกฎหมาย โจทก์ จะ ปฏิบัติ ตาม หรือไม่ ย่อม เป็น เรื่อง ของ โจทก์ เองจำเลย ที่ 2 จึง ไม่ ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์
จำเลย ที่ 3 ที่ 4 ทั้ง สอง สำนวน ให้การ ว่า การ ประเมิน ภาษี ของจำเลย ที่ 3 และ คำ ชี้ขาด ของ จำเลย ที่ 4 ชอบ ด้วย กฎหมาย แล้ว โจทก์ไม่ ใช่ ผู้รับ ประเมิน ภาษี จึง ไม่ มี อำนาจฟ้อง การ ประเมิน ภาษีทั้ง ปี 2524 และ 2525 เป็นไป ตาม ข้อเท็จจริง ที่ จำเลย ที่ 1 ได้ ยื่นแบบรายการ เพื่อ เสีย ภาษี โรงเรือน และ ที่ดิน ไว้ ว่า จำเลย ที่ 1ให้ โจทก์ เช่า ที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง ใน อัตรา ค่าเช่า ปีละ45,000,000 บาท ตาม อัตรา นี้ จะ ต้อง เสีย ค่า ภาษี จำนวน ปีละ7,857,144.85 บาท แต่ ตาม สัญญาเช่า โจทก์ จะ ต้อง เสีย ค่า ภาษี แทนจำเลย ที่ 1 กับ ต้อง เสีย เงิน ค่าเบี้ย ประกัน วินาศภัย เป็น เงินปีละ 2,225,227.60 บาท แทน จำเลย ที่ 1 ด้วย ต้อง ถือ ว่า เงิน ทั้ง สองจำนวน นี้ เป็น เงิน ค่า ตอบแทน ที่ จำเลย ที่ 1 ให้ โจทก์ ได้ เช่าโรงเรือน และ ที่ดิน เป็น ส่วนหนึ่ง ของ เงิน ค่าเช่า ดังนั้น จำนวนเงิน ค่า รายปี ที่ จำเลย ที่ 1 ได้ รับ ทั้งหมด จึง เป็น เงิน ปีละ65,082,370.45 บาท ซึ่ง ต้อง เสีย ภาษี โรงเรือน และ ที่ดิน ปีละ8,135,296.30 บาท จำเลย ที่ 1 ได้ ยื่น คำร้อง ต่อ จำเลย ที่ 4 ขอพิจารณา การ ประเมิน ภาษี นั้น ใหม่ และ แจ้ง ยืนยัน ว่า พอใจ เสียค่าภาษี โรงเรือน และ ที่ดิน ปีละ 2,291,667 บาท จำเลย ที่ 4 มี คำชี้ขาด ให้ ยก คำร้อง จำเลย ที่ 1 ทราบ คำสั่ง แล้ว มิได้ ฟ้องร้องภายใน 30 วัน นับ ตั้งแต่ วัน ทราบ คำสั่ง ของ แต่ละ ปี การ ประเมินของ เจ้าพนักงาน ของ จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 จึง เป็น อัน ยุติ โจทก์ฟ้อง คดี ไม่ ได้ หาก จำเลย ที่ 1 มี สิทธิ ฟ้อง เพิกถอน การ ประเมินก็ มี สิทธิ ขอ เพิกถอน เฉพาะ ส่วน ที่ เกิน จาก จำนวน 2,291,667 บาท
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ เพิกถอน การ ประเมิน ภาษี โรงเรือน และ ที่ดินของ จำเลย ที่ 3 และ เพิกถอน คำ วินิจฉัย ของ จำเลย ที่ 4 ให้ โจทก์ชำระ ค่า ภาษี โรงเรือน และ ที่ดิน ตาม ฟ้อง ปีละ 2,291,667 บาท ให้จำเลย ที่ 3 คืน เงิน ค่า ภาษี โรงเรือน และ ที่ดิน ส่วน ที่ ชำระ เกินไป จำนวน 11,687,258.60 บาท แก่ โจทก์ ภายใน สาม เดือน นับจาก วันที่ศาล มี คำพิพากษา เป็นต้นไป หาก ไม่ คืน ภายใน กำหนด ให้ จำเลย ที่ 3เสีย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อ ปี ของ เงิน จำนวน11,687,258.60 บาท นับ ถัด จาก วัน ครบ กำหนด สาม เดือน ดังกล่าวเป็นต้นไป จนกว่า จะ คืน เงิน ค่า ภาษี แก่ โจทก์ เสร็จ ให้ ยกฟ้องโจทก์ เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ คำขอ ของ โจทก์ มากไป กว่านี้ให้ ยก
โจทก์ จำเลย ที่ 3 ที่ 4 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ โจทก์ ชำระ ค่า ภาษี โรงเรือน และที่ดิน ตาม ฟ้อง ปีละ 125,000 บาท ให้ จำเลย ที่ 3 คืน เงิน ค่า ภาษีโรงเรือน และ ที่ดิน ส่วน ที่ ชำระ เกินไป จำนวน 16,025,792.60 บาทกับ ดอกเบี้ย ของ เงิน จำนวน นี้ ตาม อัตรา และ ระยะ เวลา ที่ศาลชั้นต้น กำหนด นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 3 ที่ 4 ฎีกา
ใน ปัญหา ซึ่ง จำเลย ที่ 3 ที่ 4 ฎีกา ว่า ตาม พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 40 ผู้รับ ประเมิน ต้องเป็น เจ้าของ ทรัพย์สิน จำเลย ที่ 1 จึง เป็น ผู้รับ ประเมิน โจทก์เป็น เพียง ผู้เช่า ไม่ ใช่ ผู้รับ ประเมิน และ ตาม มาตรา 31 ผู้รับประเมิน เท่านั้น ที่ จะ มี สิทธิ ฟ้อง คดี ได้ โจทก์ มิใช่ ผู้รับประเมิน จึง ไม่ มี อำนาจฟ้อง คดี นี้ ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า โดยผล ของ สัญญาเช่า โจทก์ มี ความ ผูกพัน ร่วมกับ จำเลย ที่ 1 ที่ จะ ต้องใช้ หนี้ ค่า ภาษี โจทก์ จึง ย่อม ได้ รับ ช่วงสิทธิ จาก จำเลย ที่ 1เรียก เงิน ค่า ภาษี ที่ ชำระ เกิน จาก จำเลย ที่ 3 ที่ 4 โดย นัย แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 229(3) นั้น เป็น การ ไม่ ถูกต้องเพราะ โจทก์ ไม่ มี ความ ผูกพัน กับ จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ ลูกหนี้ ของจำเลย ที่ 3 ที่ 4 โจทก์ ไม่ ได้ มี ส่วน ต้อง รับผิด ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกัน ของ จำเลย ที่ 1 และ ไม่ มี บทบัญญัติ ใดๆ ให้ โจทก์ร่วมรับผิด ใน เงิน ภาษี จึง ไม่ ต้อง ด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 225(3) ทั้ง จำเลย ที่ 1 มิได้ นำ คดี มา ฟ้อง ภายใน กำหนด 30วัน นับแต่ ได้ รับ แจ้ง คำ ชี้ขาด การ ประเมิน ของ เจ้าหน้าที่ ของจำเลย ที่ 3 ที่ 4 โจทก์ หรือ บุคคล ใด จึง ไม่ มี อำนาจฟ้อง คดี นั้นศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า กรณี ที่ จะ เป็น การ รับช่วง สิทธิ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้น ต้อง เป็น กรณี ที่ ผู้ ชำระ หนี้รับช่วง สิทธิ ของ ผู้รับ ชำระ หนี้ มา ฟ้อง เรียกร้อง เอา จาก ผู้ ที่ตน ชำระ หนี้ แทน แต่ โจทก์ ใน คดี นี้ ฟ้อง จำเลย ที่ 3 ที่ 4 ผู้รับชำระ หนี้ เสียเอง กรณี หา ต้อง ด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 229(3) ไม่ แต่ อย่างไร ก็ ดี การ ที่ โจทก์ ชำระ หนี้ ค่า ภาษีแทน จำเลย ที่ 1 ในนาม ของ จำเลย ที่ 1 ตาม ความ ผูกพัน ใน สัญญาเช่าระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ โจทก์ นั้น จะ ถือ ว่า โจทก์ ไม่ มี ส่วน ได้เสีย ใน การ ชำระ หนี้ หา ได้ ไม่ ทั้ง จำเลย ที่ 3 ก็ ยอมรับ ชำระ หนี้จาก โจทก์ แล้ว หาก ปรากฏ ว่า จำเลย ที่ 3 เรียก เก็บ ภาษี เกินไปจำเลย ที่ 3 ก็ หา มี สิทธิ ที่ จะ ยึด เงิน ส่วน ที่ เกิน ไว้ โดยไม่ คืน ให้ แก่ ผู้ มี สิทธิ ใน เงิน จำนวน นั้น ไม่ เมื่อ โจทก์ เป็นผู้ ชำระ เงิน ส่วน ที่ อ้าง ว่า เกิน นั้น โจทก์ ย่อม เรียก เงิน ส่วนนั้น คืน ได้ หา จำต้อง ให้ จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้เรียก ให้ แต่ อย่างใดไม่ ข้อเท็จจริง ปรากฏ ว่า โจทก์ ฟ้อง เรียก เงิน ภาษี ส่วน ที่ อ้างว่า ชำระ เกินไป และ ฟ้อง คดี ภายใน ระยะ เวลา ที่ กฎหมาย กำหนด ไว้โจทก์ จึง มี อำนาจฟ้อง คดี นี้
ใน ปัญหา ที่ ว่า จำเลย ที่ 3 ที่ 4 จะ เรียก เก็บ ภาษี โรงเรือน และที่ดิน ได้ เป็น จำนวน เท่าใด นั้น ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ตามพระราชบัญญัติ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 8 กำหนดให้ คิด ค่า ภาษี ตาม ค่า รายปี ของ ทรัพย์สิน และ ค่า รายปี ให้หมายความ ว่า จำนวน เงิน ซึ่ง ทรัพย์สิน นั้นๆ สมควร จะ ให้ เช่า ได้ใน ปี หนึ่ง เท่าใด ถ้า ทรัพย์สิน นั้น ให้ เช่า ให้ ใช้ ค่าเช่า เป็นหลัก คำนวณ ค่า รายปี แต่ ถ้า มี เหตุ อัน บ่ง ให้ เห็น ว่า ค่าเช่านั้น มิใช่ จำนวน เงิน อัน สมควร พนักงาน เจ้าหน้าที่ มี อำนาจ แก้หรือ คำนวณ ค่า รายปี เสียใหม่ ได้ ใน ปัญหา เกี่ยวกับ ค่าเช่า ศาลฎีกาฟัง ข้อเท็จจริง ว่า โจทก์ เช่า ที่ดิน และ โรงเรือน ที่ จำเลย ที่ 3เรียก เก็บ ภาษี โดย เรียก ค่าเช่า ปีละ 1 ล้าน บาท ใน เบื้องต้น จึงต้อง ถือ ว่า ค่าเช่า จำนวน 1 ล้าน บาท เป็น ค่า รายปี สำหรับ คิดค่า ภาษี ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ใน พระราชบัญญัติ ภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475 มาตรา 8 และ จาก พยานหลักฐาน โจทก์ จำเลย ก็ ฟัง ได้ว่า ใน ปี 2523 จำเลย ที่ 1 ได้ ให้ บริษัท สุรามหาคุณ จำกัด เช่าที่ดิน และ โรงเรือน รายเดียว กัน ใน อัตรา ค่าเช่า ปีละ 1 ล้าน บาทและ จำเลย ที่ 3 ได้ ถือ ค่า รายปี จำนวน 1 ล้าน บาท เป็น หลัก ใน การคำนวณ เรียก เก็บ ภาษี จาก จำเลย ที่ 1 ซึ่ง พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 18 กำหนด ให้ ใช้ ค่ารายปี ของ ปี ที่ ล่วง มา แล้ว เป็น หลัก สำหรับ คำนวณ ภาษี ซึ่ง จะต้อง เสีย ใน ปี ต่อมา ฉะนั้น ใน ปี 2524 จำเลย ที่ 3 จึง ถือ เอา ค่ารายปี สำหรับ 2523 ซึ่ง มี จำนวน 1 ล้าน บาท มา เป็น หลัก ใน การ คำนวณคิด ภาษี ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าว
ใน ปัญหา ที่ จำเลย ที่ 3 ที่ 4 ฎีกา ว่า ค่าเช่า ที่ โจทก์ ชำระ ให้จำเลย ที่ 1 ไม่ เหมาะสม เพราะ ราคา ที่ดิน สูง ขึ้น การ ผลิต สุรา ของโจทก์ มี รายได้ สูง ขึ้น ค่า วัสดุ ก่อสร้าง โรงงาน สูง ขึ้น ตามมาตรา 8 ของ พระราชบัญญัติ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475จำเลย ที่ 3 มี อำนาจ แก้ จำนวน ค่า รายปี ใหม่ เป็น จำนวน 65 ล้าน บาทได้ นั้น ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ตาม บทบัญญัติ ของ กฎหมาย ที่ จำเลย ที่3 ที่ 4 อ้าง นั้น จำเลย ที่ 3 จะ มี อำนาจ แก้ไข ค่า รายปี ใหม่ ได้ ก็ต่อเมื่อ มี เหตุ ให้ เห็น ว่า ค่าเช่า ตาม สัญญาเช่า ระหว่าง จำเลย ที่1 กับ โจทก์ ไม่ใช่ จำนวนเงิน อัน สมควร เท่านั้น และ จำเลย ที่ 3 ที่4 ต้อง มี ข้อเท็จจริง ว่า ปรากฏ เหตุ เช่นนั้น ด้วย หาก ค่าเช่า นั้นไม่ ได้ น้อย จน เกิน สมควร หรือไม่ มี เหตุ ที่ น่า จะ เห็น ได้ ว่าจำเลย ที่ 1 กับ โจทก์ สมยอม กัน แล้ว จำเลย ที่ 3 ก็ ต้อง ประเมินค่า รายปี เพื่อ เรียกเก็บ ภาษี โรงเรือน และ ที่ดิน ตาม จำนวน ค่าเช่าที่ โจทก์ ชำระ ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 แม้ พยาน ของ จำเลย ที่ 3 ที่ 4จะ เห็น ว่า ที่ดิน และ โรงเรือน ที่ จำเลย ที่ 1 ให้ โจทก์ เช่านาจะ มี ราคา เพิ่มขึ้น เพราะ มี การ ตัดถนน ผ่าน ที่ดิน บาง แปลง ทำ ให้การ คมนาคม สะดวก ขึ้น แต่ ข้อเท็จจริง ก็ ไม่ ปรากฏ ว่า ที่ดินข้างเคียง มี การ เช่า กัน ใน อัตรา ค่าเช่า เท่าใด สูงกว่า ที่ จำเลยที่ 1 ให้ โจทก์ เช่า หรือ ไม่ เพียงใด จำเลย ที่ 3 ที่ 4 เพียงแต่อ้างว่า ค่า รายปี ต้อง เป็น จำนวน 65 ล้าน บาท โดย เป็น ค่าเช่า ปีละ55 ล้าน บาท กับ ค่า ประกัน วินาศภัย และ ค่า ภาษี ที่ โจทก์ ต้อง ออกแทน จำเลย ที่ 1 อีกส่วน หนึ่ง เท่านั้น ซึ่ง ค่าเช่า จำนวน 55 ล้าน บาทต่อปี นั้น หา ใช่ เป็น ค่าเช่า เฉพาะ ที่ดิน และ โรงเรือน แต่ รวมทรัพย์สิน อื่น และ เครื่องจักร ด้วย ทั้ง ไม่ ใช่ ค่าเช่า ที่ จำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้ คำนวณ เพิ่มขึ้น ตาม ความ เหมาะสม เพราะ ที่ดิน มี ราคาเพิ่มขึ้น แต่ อย่างใด หาก แต่ เป็น เรื่อง ที่ จำเลย ที่ 3 ที่ 4 กำหนดขึ้น เพราะ เจ้าหน้าที่ ของ จำเลย ที่ 1 ระบุ ค่าเช่า จำนวน ดังกล่าวไว้ ใน แบบ แจ้ง รายการ เพื่อ เสีย ภาษี โรงเรือน และ ที่ดิน โดยผิดพลาด เท่านั้น ส่วน ที่ จำเลย ที่ 3 เอา ค่าประกันภัย และ ค่าภาษีมา รวมกับ ค่าเช่า ปีละ 55 ล้าน บาท เป็น 65 ล้าน บาท ก็ ปรากฏ ว่าโจทก์ ต้อง ประกัน วินาศภัย ทรัพย์สิน ทั้งหมด ที่ เช่า จาก จำเลย ที่1 เฉพาะ โรงเรือน ที่ โจทก์ เช่า โจทก์ จะ ต้อง เสีย ค่า ประกันวินาศภัย เป็น จำนวน เท่าใด ไม่ ปรากฏ พยานหลักฐาน ของ จำเลย ที่ 3ที่ 4 จึง ยัง ฟัง ไม่ ได้ แน่นอน ว่า ค่าประกันภัย ที่ จำเลย ที่ 3นำ มา รวมกับ ค่าเช่า เพื่อ คิด ค่า รายปี เป็น จำนวน เท่าใด การ คำนวณค่า รายปี เพิ่มขึ้น ของ จำเลย ที่ 3 ไม่ มี พยานหลักฐาน สนับสนุน ให้เห็น ว่า เป็น การ สมควร แต่ อย่างใด จำเลย ที่ 3 จึง ต้อง ถือ เอาค่าเช่า ที่ จำเลย ที่ 1 เรียก เก็บ จาก โจทก์ ปีละ 1 ล้าน บาท เป็นหลัก ใน การ คำนวณ ค่า รายปี เพื่อ เรียก เก็บ ภาษี ราย นี้
พิพากษา ยืน.

Share