แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่าลูกจ้างขับขี่รถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่1โดยจำเลยที่2ที่3ได้ใช้ให้ลูกจ้างผู้นั้นขับขี่รถดังกล่าวไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่1เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่2ที่3ให้ใช้ลูกจ้างขับขี่รถยนต์ของจำเลยที่1คันเกิดเหตุแต่กลับได้ความว่าหลังจากเลิกงานแล้วลูกจ้างแอบขึ้นไปเอากุญแจรถคันเกิดเหตุจากที่แขวนตามปกติที่ตึกชั้นสามแล้วใช้ขับรถคันเกิดเหตุไปเที่ยวโดยพลการจนเกิดเหตุชนกันย่อมถือไม่ได้ว่าลูกจ้างกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยทั้งสาม. ในคดีละเมิดเมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสามจะต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างจำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธโจทก์ย่อมมีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงให้ได้ความตามที่โจทก์กล่าวอ้างเมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้ได้ความตามที่กล่าวอ้างศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างต่อโจทก์ไม่ได้.
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 เป็น บริษัท จำกัด มี วัตถุประสงค์ ใน การประกอบ กิจการ วินาศภัย โจทก์ ที่ 2 เป็น เจ้าของ รถยนต์ บรรทุก คันหมายเลข ทะเบียน นฐ. 27200 โจทก์ ที่ 1 ได้ รับ ประกันภัย รถยนต์ คันหมายเลข ทะเบียน นฐ. 27200 และ รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน นฐ. 29335ประเภท ประกันภัย ค้ำจุน ใน วงเงิน 100,000 บาท และ 50,000 บาท ตามลำดับ จำเลย ที่ 1 เป็น นิติบุคคล ประเภท รัฐวิสาหกิจ เป็น เจ้าของและ ผู้ ครอบครอง รถยนต์ บรรทุก คัน หมายเลข ทะเบียน 1 บ – 8803กรุงเทพมหานคร เป็น นายจ้าง ของ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 และ นาย วิชิตเจริญโต เมื่อ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2522 เวลา ประมาณ 22 นาฬิกา นายลิขิต ลูกจ้าง จำเลย ที่ 1 ได้ ขับขี่ รถบรรทุก คัน หมายเลข ทะเบียน1 บ – 8803 ไป ใน ทางการ ที่ จ้าง ของ จำเลย ที่ 1 ด้วย ความเร็ว และโดย ประมาท ชน ท้ายรถ บรรทุก คัน หมายเลข ทะเบียน นฐ. 27200 อย่างแรงเป็น เหตุ ให้ รถบรรทุก คัน หมายเลข ทะเบียน นฐ. 27200 ไหล ไป ชน ท้ายรถบรรทุก คัน หมายเลข ทะเบียน นฐ. 29335 ทำให้ รถ เสียหาย นาย ลิขิตถึง แก่ ความตาย โจทก์ ได้ รับ ความ เสียหาย จำเลย ที่ 2 ที่ 3 เป็นลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง มี หน้าที่ ดูแล การ ปฏิบัติงาน ได้ ใช้ให้ นาย ลิขิต ขับขี่ รถยนต์ ดังกล่าว ไป ใน ทางการ ที่ จ้าง ของจำเลย ที่ 1 จำเลย ทั้ง สาม จึง ต้อง ร่วมกัน รับผิด ใช้ ค่าเสียหายแก่ โจทก์ ทั้ง สอง ขอ ให้ จำเลย ทั้ง สาม ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สาม ให้การ ว่า นาย ลิขิต เจริญโต ไม่ ใช่ ลูกจ้าง ขับ รถของ จำเลย ที่ 1 ขณะ เกิดเหตุ นาย ลิขิต ไม่ ได้ ขับ รถ คัน หมายเลขทะเบียน 1 บ – 4803 ไป ใน ทางการ ที่ จ้าง ของ จำเลย ที่ 1 ทั้ง การที่ นาย ลิขิต ขับรถ ออก ไป ยัง ที่ เกิดเหตุ มิได้ เกิดจาก การ ใช้หรือ วาน หรือ ความ ประมาท เลินเล่อ ของ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 แต่ เกิดเหตุนอก เวลา จ้าง และ นอก ทางการ ที่ จ้าง ของ จำเลย ที่ 1 โดย นาย ลิขิตได้ ลักลอบ ขับรถ ดังกล่าว ออก ไป จาก ที่พัก กับ คนงาน อีก คนหนึ่งใน เวลา กลางคืน และ โดย พลการ เพื่อ ไป เที่ยวเตร่ ขากลับ มา จึง ได้เกิดเหตุ อัน มิใช่ เป็น การ ปฏิบัติ งาน ใน ทางการ ที่ จ้าง ของ จำเลยที่ 1 เหตุ คดี นี้ ไม่ ใช่ ความ ประมาท ของ นาย ลิขิต แต่ เป็น ความประมาท ของ ผู้ขับ รถบรรทุก คันหมายเลข ทะเบียน นฐ. 27200 และนฐ. 29335 ซึ่ง จอด กีดขวาง เส้นทาง จราจร ใน ยาม วิกาล โดย ไม่ เปิดไฟ หรือ ให้ สัญญาณ ทำ ให้ รถ ของ จำเลย ที่ 1 เสียหาย ขอ ให้ ยกฟ้องโจทก์ ทั้ง สอง และ จำเลย ที่ 1 ได้ ฟ้อง แย้ง ขอ ให้ บังคับ ให้ โจทก์ทั้ง สอง ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ด้วย
จำเลย ที่ 1 ไม่ นำ ส่ง สำเนา ฟ้อง แย้ง ภายใน กำหนด 15 วัน ศาลชั้นต้นจึง มี คำสั่ง ให้ จำหน่าย ฟ้องแย้ง ออก เสีย จาก สารบบ ความ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ใช้ค่าเสียหาย แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 อุทธรณ์ เป็น ข้อกฎหมาย เพียง ข้อเดียวว่า นาย ลิขิต มิได้ กระทำ ละเมิด ใน ทางการ ที่ จ้าง จำเลย ทั้ง สามจึง ไม่ ควร รับผิด ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ทั้ง สอง
ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ใน ปัญหา ตาม อุทธรณ์ ของ จำเลย ทั้ง สาม ว่านาย ลิขิต ได้ กระทำ ละเมิด ใน ทางการ ที่ จ้าง หรือไม่ เป็น กรณีที่ ศาลอุทธรณ์ จำต้อง ถือ ตาม ข้อเท็จจริง ตาม ข้อ วินิจฉัย ของศาลชั้นต้น แต่ ปรากฏ ว่า ประเด็น ข้อ นี้ ศาลชั้นต้น มิได้ วินิจฉัยตาม ข้อต่อสู้ ของ จำเลย ทั้ง สาม ว่า รับฟัง ได้ เพียงใด หรือ ไม่จึง เป็น การ วินิจฉัย ข้อเท็จจริง ที่ ผิด ต่อ กฎหมาย ศาลอุทธรณ์ฟัง ข้อเท็จจริง ใหม่ แทน ข้อเท็จจริง ของ ศาลชั้นต้น ดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (3) (ก) ว่า นาย ลิขิตเจริญโต เป็น คนงาน มี หน้าที่ ขุดหลุม ปัก เสา ไฟฟ้า ที่ จำเลย ที่3 จ้าง เป็น ลูกจ้าง รายวัน ไม่ มี หน้าที่ ขับ รถยนต์ นาย ลิขิตนำ รถ คัน เกิดเหตุ ของ จำเลย ที่ 1 ไป ขับ โดย พลการ มิได้ ขออนุญาตจาก จำเลย ที่ 3 ผู้ ครอบครอง รักษา รถ โจทก์ ไม่ มี พยาน นำสืบ ว่านาย ลิขิต ขับ รถ ไป ชน ท้าย รถ ของ โจทก์ ที่ 2 ได้ กระทำ ไป ใน ทางการที่ จ้าง ของ จำเลย ทั้ง สาม พิพากษา กลับ ให้ ยกฟ้อง
โจทก์ ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ใน ปัญหา ที่ ว่า นาย ลิขิต ขับ รถ คัน เกิดเหตุไป ชน รถ ฝ่าย โจทก์ ได้ กระทำ ไป ใน ทางการ ที่ จ้าง ของ จำเลย ทั้งสาม หรือ ไม่ ศาลฎีกา เห็นว่า โจทก์ บรรยาย ฟ้อง ว่า นาย ลิขิต กระทำการไป ใน ทางการ ที่ จ้าง จน เกิดเหตุ ครั้ง นี้ โดย จำเลย ที่ 2 ที่ 3ใช้ ให้ นาย ลิขิต เจริญโต ขับขี่ รถยนต์ บรรทุก หมายเลข ทะเบียน1 บ – 8803 กรุงเทพมหานคร ไป ปฏิบัติ หน้าที่ ใน ทางการ ที่ จ้าง ของจำเลย ที่ 1 และ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ปฏิบัติ หน้าที่ โดย ประมาท เลินเล่อ เมื่อ ข้อเท็จจริง รับ ฟัง ไม่ ได้ ว่า จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ใช้ ให้นาย ลิขิต ขับขี่ รถยนต์ ของ จำเลย ที่ 1 คัน เกิดเหตุ ตาม ฟ้อง แต่กลับ ได้ความ ว่า หลังจาก เลิก งาน แล้ว นาย ลิขิต แอบ ขึ้น ไป เอากุญแจ รถ คัน เกิดเหตุ จาก ที่ แขวน ตาม ปกติ ที่ ตึก ชั้น สาม แล้วใช้ ขับ รถ คัน เกิดเหตุ ไป เที่ยว โดย พลการ จน เกิดเหตุ ชน กันครั้ง นี้ ย่อม ถือ ไม่ ได้ ว่า นาย ลิขิต กระทำ ไป ใน ทาง การ ที่จ้างของ จำเลย ทั้ง สาม
ใน ปัญหา ที่ โจทก์ อ้าง ว่า เมื่อ นาย ลิขิต ขับ รถ ไป กระทำ ละเมิดจำเลย ทั้ง สาม จะ อ้าง ความ สัมพันธ์ ระหว่าง จำเลย ทั้ง สาม กับนาย ลิขิต มา ปฏิเสธ ความ รับผิด ไม่ ได้ นั้น ศาลฎีกา เห็นว่า เมื่อโจทก์ ทั้ง สอง กล่าวอ้าง ว่า จำเลย ทั้ง สาม จะ ต้อง ร่วมกัน รับผิดกับ นาย ลิขิต ลูกจ้าง ใน ผล แห่ง ละเมิด ซึ่ง นาย ลิขิต ได้ กระทำไป ใน ทางการ ที่ จ้าง จำเลย ทั้ง สาม ให้การ ปฏิเสธ โจทก์ ทั้ง สองย่อม มี หน้าที่ นำสืบ ข้อเท็จจริง ให้ ได้ความ ตาม ที่ โจทก์ กล่าวอ้าง เมื่อ โจทก์ ทั้ง สอง ไม่ สามารถ นำสืบ ให้ ได้ ความ ตาม ที่ กล่าวอ้าง ศาล ย่อม พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน รับผิด กับ นาย ลิขิตต่อ โจทก์ ทั้ง สอง ไม่ ได้ ฎีกา ของ โจทก์ ทั้ง สอง ฟัง ไม่ ขึ้น
พิพากษา ยืน.