คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1472/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องบรรยายไว้ในคำฟ้องถึงเหตุที่ฟ้องโจทก์ยังไม่ขาดอายุความเพราะหาใช่สภาพแห่งข้อหาของโจทก์ไม่แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อใดและเหตุใดจึงมีสิทธิฟ้องคดีเมื่อเกินเวลาปีหนึ่งแล้วได้เมื่อจำเลยต่อสู้เรื่องอายุความโจทก์ก็มีสิทธิที่จะนำสืบให้เห็นว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนวันเดือนปีใดจึงยังไม่พ้นปีหนึ่งนับถึงวันฟ้อง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ได้ ทำ สัญญาจ้าง ห้างหุ้นส่วนจำกัด นราพัฒนา ทำการ ก่อสร้าง อาคาร เรียน บ้าน น้ำ ทุเรียน ถ้า ผู้รับจ้าง ส่งมอบ งานล่าช้า ให้ ผู้ว่าจ้าง ปรับ เป็น รายวัน ใน ระหว่าง วันที่ 8 ถึง 12มีนาคม 2527 ผู้รับจ้าง ขอ ต่อ อายุ สัญญา โดย อ้างว่า ไม่อาจ ก่อสร้างอาคาร เรียน ให้ แล้ว เสร็จ ตาม สัญญา จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 7 ได้ ร่วมกันพิจารณา ต่อ อายุ สัญญาจ้าง เป็น การ จงใจ ประมาท เลินเล่อ ทำให้ โจทก์ได้รับ ความเสียหาย ไม่อาจ เรียก ค่าปรับ เป็น รายวัน จำเลย ทั้ง เจ็ดต้อง ร่วมรับผิด ต่อ โจทก์ 72,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 7 ให้การ ทำนอง เดียว กัน ว่า โจทก์ มิได้ ฟ้องคดี ภายใน 1 ปี นับแต่ ทราบ ถึง การ ละเมิด และ รู้ตัว ผู้ พึง ต้อง ใช้ค่าสินไหมทดแทน คดี ของ โจทก์ ขาดอายุความ ขอให้ ยกฟ้อง
ก่อน สืบพยาน ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่า คดี พอ ที่ จะ วินิจฉัย ได้ให้ งดสืบพยาน โจทก์ และ จำเลย และ นัดฟัง คำพิพากษา
ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า โจทก์ มิได้ บรรยาย ถึง เหตุ ที่ โจทก์มีสิทธิ ฟ้องคดี เมื่อ เกิน 1 ปี ได้ และ จำเลย ยก อายุความ ขึ้น ต่อสู้ศาล ก็ ย่อม ต้อง ฟัง ว่าคดี ของ โจทก์ ขาดอายุความ พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “การ ที่ ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3วินิจฉัย สรุป เอา ว่า โจทก์ ฟ้องคดี หลัง วันที่ จำเลย ทั้ง เจ็ด ทำละเมิด5 ปี เศษ โดย ไม่ปรากฏ ใน คำฟ้อง ว่า โจทก์ รู้ ถึง การ ละเมิด และ รู้ตัวผู้จะพึง ต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน เมื่อใด โจทก์ ต้อง บรรยายฟ้องให้ เห็นว่า เหตุใด โจทก์ จึง มีสิทธิ ฟ้องคดี เมื่อ เกิน เวลา 1 ปี แล้ว ได้จำเลย ทั้ง เจ็ด ยก อายุความ ขึ้น ต่อสู้ ศาล ต้อง ฟัง ว่าคดี โจทก์ขาดอายุความ แล้ว นั้น เท่ากับ ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ฟังข้อเท็จจริง ว่า โจทก์ รู้ ถึง การ ละเมิด และ รู้ตัว จำเลย ทั้ง เจ็ด เป็นผู้จะพึง ต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ตั้งแต่ วันที่ 8 ถึง 21 มีนาคม 2527อันเป็น วันที่ โจทก์ อ้างว่า จำเลย ทั้ง เจ็ด ทำละเมิด จึง ไม่ ตรง กับคำฟ้อง และ ไม่มี บท กฎหมาย ใด บัญญัติ ว่า “กรณี โจทก์ ยื่นฟ้อง จำเลยผู้กระทำ ละเมิด เกินกว่า ปี หนึ่ง นับแต่ วัน ทำละเมิด โดย ไม่ บรรยาย ในคำฟ้อง ว่า โจทก์ รู้ ถึง การ ละเมิด และ รู้ตัว ผู้จะพึง ต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน เมื่อใด และ เหตุใด โจทก์ จึง มีสิทธิ ฟ้องคดี เมื่อ เกิน เวลา ปี หนึ่งแล้ว ได้ หาก จำเลย ยก อายุความ ขึ้น ต่อสู้ ให้ ศาล ฟัง ว่าคดี โจทก์ขาดอายุความ หรือ โจทก์ รู้ ถึง การ ละเมิด และ รู้ตัว ผู้จะพึง ต้อง ใช้ค่าสินไหมทดแทน ใน วันที่ จำเลย ทำละเมิด ” ตาม เหตุผล แห่ง คำวินิจฉัยของ ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 แต่อย่างใด คง มี แต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติ ว่า”คำฟ้อง ต้อง แสดง โดย แจ้งชัด ซึ่ง สภาพแห่งข้อหา ของ โจทก์ และ คำขอบังคับทั้ง ข้ออ้าง ที่อาศัย เป็น หลักแห่งข้อหา เช่นว่า นั้น ” ส่วน การ อ้างเอา อายุความ มา เป็นเหตุ ให้ ศาล ยกฟ้อง โจทก์ นั้น เป็น เรื่อง ของฝ่าย จำเลย ที่ จะ ยกขึ้น เป็น ข้อต่อสู้ หาใช่ สภาพแห่งข้อหา ของ โจทก์ ไม่โจทก์ จึง ไม่มี หน้าที่ ต้อง บรรยาย ไว้ ใน คำฟ้อง ถึง เหตุ ที่ ฟ้องโจทก์ยัง ไม่ขาดอายุความ เมื่อ จำเลย ยก ปัญหา อายุความ ขึ้น ต่อสู้ โจทก์ แล้วย่อม เกิด ประเด็น ข้อพิพาท ที่ โจทก์ และ จำเลย จะ ต้อง นำสืบ พยานหลักฐานให้ ศาล วินิจฉัย ฟัง ข้อเท็จจริง ให้ ยุติ เสีย ก่อน แล้ว จึง ปรับ เข้าข้อกฎหมาย ว่าคดี โจทก์ ขาดอายุความ หรือไม่ ดังนั้น ตาม ข้อพิพาท ใน คดีโจทก์ จึง มีสิทธิ ที่ จะ นำสืบ ให้ ศาล เห็นว่า โจทก์ รู้ ถึง การ ละเมิดและ รู้ตัว ผู้จะพึง ต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน วัน เดือน ปี ใด จึง ยัง ไม่ พ้นปี หนึ่ง นับ ถึง วันฟ้อง ฉะนั้น ที่ ศาลชั้นต้น สั่ง งดสืบพยาน ทั้ง สอง ฝ่ายแล้ว วินิจฉัย ว่าคดี โจทก์ ขาดอายุความ พิพากษายก ฟ้องโจทก์ มา นั้นจึง เป็น การ ดำเนิน กระบวนพิจารณา และ พิพากษาคดี โดย ไม่ชอบ ”
พิพากษายก คำพิพากษา ศาลล่าง ทั้ง สอง และ คำสั่งศาล ชั้นต้นที่ สั่ง งดสืบพยาน ทั้ง สอง ฝ่าย นั้น เสีย ส่ง สำนวน คืน ไป ยัง ศาลชั้นต้นดำเนินการ สืบพยาน คู่ความ แล้ว พิพากษา ใหม่

Share