คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 146/2539

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำในภาษาต่างประเทศใช้อักษรโรมันมี2พยางค์เท่ากันโดยเฉพาะพยางค์ต้นของโจทก์ใช้คำว่าPLAYแต่ของจำเลยดัดแปลงตัวอักษรAให้ต่างกันเล็กน้อยเป็นplayซึ่งทั้งสองคำก็อ่านออกเสียงเหมือนกันว่า เพลย์ ส่วนพยางค์หลังของโจทก์คำหนึ่งอ่านว่าBOYและอีกคำหนึ่งอ่านว่าMATEแต่ของจำเลยได้ดัดแปลงให้ออกเสียงแตกต่างไปจากคำว่าMATEเล็กน้อยโดยเปลี่ยนใหม่ว่าmanเมื่ออ่านออกเสียงคำว่าplayman (เพลย์แมน) ของจำเลยจึงมีสำเนียงเรียกขานเกือบเหมือนหรือใกล้เคียงกับคำว่าPLAYMATE(เพลย์เมท) ของโจทก์ลักษณะตัวอักษรและจำนวนตัวอักษรก็ไล่เลี่ยกันของโจทก์ใช้อักษร7ตัวและ8ตัวของจำเลยใช้อักษร7ตัวอักษรส่วนใหญ่เป็นตัวพิมพ์เหมือนกันเครื่องหมายการค้าคำว่าplaymanที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนจึงมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ถึงขนาดนับได้ว่าทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในสินค้าได้เป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าคำดังกล่าว

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ผลิต และ จำหน่าย สินค้า จำพวก ต่าง ๆ โดยเฉพาะ จำพวก 38 ประเภท เครื่องนุ่งห่ม และ เครื่องแต่งกาย ออกจำหน่าย ทั่ว โลก โจทก์ เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้า คำ อักษร โรมันว่า PLAYMATE และ PLAYBOY จำเลย ได้ ยื่น คำขอ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ดังกล่าว Playman สำหรับ สินค้า จำพวก 38ซึ่ง เหมือน หรือ คล้าย กับ เครื่องหมายการค้า คำ ว่า PLAYMATE ของ โจทก์เป็น การ เลียนแบบ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ทำให้ ประชาชน สับสนหลงผิด ว่า เป็น สินค้า ของ โจทก์ ขอให้ พิพากษา ว่า โจทก์ มีสิทธิใน เครื่องหมายการค้า คำ ว่า PLAYMATE และ PLAYBOY ดีกว่า เครื่องหมายการค้า คำ ว่า playmen ที่ จำเลย ขอ จดทะเบียน และ เพิกถอน คำขอจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า คำขอ ที่ 184798 ใน สินค้า จำพวก ที่ 38ของ จำเลย
จำเลย ขาดนัด ยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ห้าม จำเลย ใช้ เครื่องหมายการค้า “playman”ตาม คำขอ จดทะเบียน เลขที่ 184798 ใน จำพวก 38
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของเครื่องหมายการค้า คำ อักษร โรมัน ว่า PLAYBOY และ PLAYMATE ซึ่งจดทะเบียน ไว้ แล้ว ใน ประเทศ ต่าง ๆ หลาย สิบ ประเทศ รวมทั้งประเทศ ไทย สำหรับ สินค้า จำพวก ต่าง ๆ ประมาณ 20 จำพวก โดยเฉพาะจำพวก 38 ประเภท สินค้า เครื่องนุ่งห่ม และ แต่งกาย โจทก์ ได้โฆษณา สินค้า ของ โจทก์ ที่ ใช้ เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว จน เป็น ที่รู้ จัก กัน อย่าง แพร่หลาย ปัญหา ใน ชั้นฎีกา มี ว่า เครื่องหมายการค้าคำ อักษร โรมัน ว่า playman ที่ จำเลย ยื่น คำขอ จดทะเบียน สำหรับ สินค้าจำพวก 38 มี ลักษณะ เหมือน หรือ คล้าย กับ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์จน ถึง ขนาด นับ ได้ว่า เป็น การ ลวง สาธารณชน หรือไม่ เห็นว่า เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ และ จำเลย เป็น เครื่องหมายการค้า ประเภท คำ ใน ภาษาต่างประเทศ ใช้ อักษร โรมัน มี 2 พยางค์ เท่ากัน โดยเฉพาะ พยางค์ ต้นของ โจทก์ ใช้ คำ ว่า PLAY แต่ ของ จำเลย ดัดแปลง ตัวอักษร A ให้ ต่างกันเล็กน้อย เป็น play ซึ่ง ทั้ง สอง คำ ก็ อ่าน ออกเสียง เหมือนกัน ว่า เพลย์ ส่วน พยางค์ หลัง ของ โจทก์ คำ หนึ่ง อ่าน ว่า BOY และ อีก คำ หนึ่ง อ่าน ว่าMATE แต่ ของ จำเลย ได้ ดัดแปลง ให้ ออกเสียง แตกต่าง ไป จาก คำ ว่า MATEเล็กน้อย โดย เปลี่ยน ใหม่ ว่า man ดังนั้น เมื่อ อ่าน ออกเสียง คำ ว่าplaymen (เพลย์แมน) ของ จำเลย จึง มี สำเนียง เรียกขาน เกือบ เหมือนหรือ ใกล้เคียง กับ คำ ว่า PLAYMATE (เพลย์เมท) ของ โจทก์ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ จำเลย ใช้ ภาษา ต่างประเทศ เป็น สำคัญลักษณะ ตัวอักษร และ จำนวน ตัวอักษร ก็ ไล่เลี่ย กัน ของ โจทก์ ใช้ อักษร7 ตัว และ 8 ตัว ของ จำเลย ใช้ อักษร 7 ตัว อักษร ส่วน ใหญ่ เป็นตัว พิมพ์ เหมือนกัน ผู้ ไม่ คุ้นเคย กับ ภาษา ต่างประเทศ หาก ไม่ ใช้ความ สังเกต ให้ รอบคอบ ถี่ถ้วน ย่อม ฟัง และ เรียกขาน เป็น สำเนียงเดียว กัน ได้ โจทก์ ได้ ใช้ เครื่องหมายการค้า ทั้ง สอง คำของ โจทก์มา ก่อน และ ยัง ได้ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ทั้ง สอง คำ สำหรับสินค้า จำพวก 38 ไว้ ก่อน จำเลย รวมทั้ง ได้ โฆษณา สินค้า ที่ ใช้เครื่องหมายการค้า คำ ดังกล่าว จน เป็น ที่ รู้ จัก กัน แพร่หลาย ก่อน จำเลยยื่น คำขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า คำ ว่า playman ใน จำพวก สินค้าเดียว กับ ของ โจทก์ ถึง 30 ปี เศษ โดย ไม่ปรากฏ ว่า จำเลย ได้ โฆษณาค่า เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย แต่อย่างใด จึง ฟังได้ ว่า เครื่องหมายการค้า คำ ว่า playman ที่ จำเลย ยื่น ขอ จดทะเบียน มี ลักษณะ เหมือนหรือ คล้าย กับ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ถึง ขนาด นับ ได้ว่า ทำให้สาธารณชน สับสน หลงผิด ใน สินค้า ได้ เป็น การ ละเมิด สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ โจทก์ จึง มีสิทธิ ขอให้ห้าม จำเลย ใช้ เครื่องหมายการค้าคำ ดังกล่าว
พิพากษากลับ ให้ บังคับคดี ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น

Share