คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่2เข้าว่าความด้วยตนเองโดยมิได้แต่งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนซึ่งไม่ต้องเสียค่าจ้างทนายความจึงไม่ชอบที่จะกำหนดให้ผู้คัดค้านชดใช้ค่าทนายความแทนผู้ร้อง เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่2กับผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา114ผู้คัดค้านต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวคืนแก่จำเลยที่2เมื่อผู้คัดค้านไม่อาจโอนคืนได้เพราะได้ขายให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วในราคา1,900,000บาทผู้คัดค้านก็ต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่2เต็มจำนวนเพราะผู้คัดค้านรับโอนที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตไม่ชอบที่จะนำเงินที่ผู้คัดค้านไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทมาหักออกจากเงินที่ผู้คัดค้านต้องชดใช้ราคาแทน

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง มาจาก เมื่อ วันที่ 29 กันยายน 2532 โจทก์ ฟ้องจำเลย ทั้ง สอง ขอให้ เป็น บุคคล ล้มละลาย ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ พิทักษ์ทรัพย์ จำเลย ทั้ง สอง ไว้ เด็ดขาด เมื่อ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2532 และพิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง เป็น บุคคล ล้มละลาย เมื่อ วันที่ 5 มีนาคม2534 ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า เมื่อ วันที่ 5 มกราคม 2532 จำเลย ที่ 2โอน ขาย ที่ดิน ซึ่ง เป็น กรรมสิทธิ์ ของ จำเลย ที่ 2 ตาม โฉนด เลขที่ 438และ 439 ให้ แก่ ผู้คัดค้าน โดย ผู้คัดค้าน ไม่สุจริต และ ไม่มี ค่าตอบแทนชอบ ที่ จะ ถูก เพิกถอน การ โอน ที่ดิน ทั้ง สอง แปลง ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 ขอให้ มี คำสั่ง เพิกถอน การ โอน ที่ดินโฉนด เลขที่ 438 และ 439 ระหว่าง จำเลย ที่ 2 กับ ผู้คัดค้าน ให้ทั้ง สอง ฝ่าย กลับคืน สู่ ฐานะ เดิม โดย ให้ ผู้คัดค้าน โอน ที่ดิน ทั้งสอง แปลง ดังกล่าว คืน สู่ กอง ทรัพย์สิน ของ จำเลย ที่ 2 หาก ไม่ โอน ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล เป็น การแสดง เจตนา ของ ผู้คัดค้าน ใน กรณี ไม่สามารถกลับคืน สู่ ฐานะ เดิม ได้ ให้ ผู้คัดค้าน ใช้ ราคา แทน เป็น เงิน 5,394,000บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ มี คำสั่งให้ เพิกถอน การ โอน จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ กอง ทรัพย์สิน ของ จำเลย ที่ 2
ผู้คัดค้าน ยื่น คำคัดค้าน ว่า ผู้คัดค้าน ไม่ทราบ มา ก่อน ว่า จำเลยที่ 2 เป็น ผู้ มี หนี้สินล้นพ้นตัว จน ไม่สามารถ ชำระหนี้ ให้ แก่ เจ้าหนี้ได้ ผู้คัดค้าน รับโอน ที่ดิน ทั้ง สอง แปลง มาจาก จำเลย ที่ 2 โดยสุจริตและ มีค่า ตอบแทน ที่ดินพิพาท ทั้ง สอง แปลง มี ราคา เพียง 247,820 บาทการ ที่ ผู้ร้อง ขอให้ ผู้คัดค้าน ใช้ ราคา ที่ดิน ทั้ง สอง แปลง เป็น เงิน5,394,000 บาท จึง เป็น การ ไม่ถูกต้อง ขอให้ ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ ผู้คัดค้าน ใช้ ราคา ที่ดินพิพาท แทนเป็น เงิน 1,900,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปีนับแต่ วันที่ มี คำสั่ง (วันที่ 7 พฤษภาคม 2536) จนกว่า จะ ชำระ เสร็จแก่ กอง ทรัพย์สิน ของ จำเลย ที่ 2 ให้ ผู้คัดค้าน ใช้ ค่าฤชาธรรมเนียมแทน ผู้ร้อง โดย กำหนด ค่า ทนายความ 2,000 บาท
ผู้คัดค้าน อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ ผู้คัดค้าน ใช้ ราคา แทนที่ ดินพิพาท ทั้ง สอง แปลง เป็น เงิน 1,280,000 บาท นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไปตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
ผู้คัดค้าน และ ผู้ร้อง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง เบื้องต้นฟังได้ ว่า จำเลย ที่ 2 เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท สอง แปลงตาม โฉนด เลขที่ 438 และ 439 ตำบล ดีลัง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัด ลพบุรี ซึ่ง จดทะเบียน จำนอง เป็น ประกันหนี้ ไว้ แก่ ธนาคาร กรุงไทย จำกัด ต่อมา ธนาคาร กรุงไทย จำกัด ฟ้อง จำเลย ที่ 2 ให้ ชำระหนี้ และ บังคับ จำนอง ที่ดินพิพาท ทั้ง สอง แปลง ศาล พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 2 ชำระหนี้และ ยึด ที่ดินพิพาท ทั้ง สอง แปลง ดังกล่าว ออก ขายทอดตลาด ตาม คดีหมายเลขแดง ที่ 7703/2523 ของ ศาลชั้นต้น ระหว่าง ประกาศ การ ขายทอดตลาดจำเลย ที่ 2 ได้ ขาย ที่ดินพิพาท ทั้ง สอง แปลง ให้ แก่ ผู้คัดค้าน โดยมอบอำนาจ ให้ ผู้คัดค้าน ไป ชำระหนี้ จดทะเบียน ไถ่ถอน จำนอง ที่ดินพิพาททั้ง สอง แปลง จาก ธนาคาร กรุงไทย จำกัด เป็น เงิน 620,000 บาท แล้ว จำเลย ที่ 2 ได้ จดทะเบียน ซื้อ ขาย โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท ทั้ง สอง แปลงให้ แก่ ผู้คัดค้าน เมื่อ วันที่ 5 มกราคม 2532 ต่อมา วันที่ 6 มีนาคม2532 ผู้คัดค้าน ได้ ขาย ที่ดินพิพาท ทั้ง สอง แปลง ให้ แก่ นาย ณรงค์ศักดิ์ ชวรางกูร เป็น เงิน 1,900,000 บาท ครั้น วันที่ 29 กันยายน 2532โจทก์ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สอง ให้ เป็น บุคคล ล้มละลาย เป็น คดี นี้ ปัญหา ที่ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ ผู้คัดค้าน ประการ แรก มี ว่า ผู้คัดค้าน ได้รับโอน ที่ดินพิพาท ทั้ง สอง แปลง ไว้ โดยสุจริต หรือไม่ เห็นว่า การโอน ทรัพย์สิน ซึ่ง ลูกหนี้ ได้ กระทำ ใน ระหว่าง ระยะเวลา สาม ปี ก่อน มีการ ขอให้ ล้มละลาย ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114นั้น เป็น หน้าที่ ของ ผู้รับโอน จะ ต้อง นำสืบ แสดง ให้ เป็น ที่ พอใจ ศาลว่าการ โอน นั้น ได้ กระทำ โดยสุจริต และ มีค่า ตอบแทน สรุป แล้ว พยานหลักฐานของ ผู้คัดค้าน ยัง ไม่พอ ฟัง ว่า ผู้คัดค้าน รับโอน ที่ดินพิพาท ทั้ง สองแปลง มา โดยสุจริต เมื่อ การ รับโอน ดังกล่าว จำเลย ที่ 2 ได้ กระทำใน ระหว่าง ระยะเวลา สาม ปี ก่อน มี การ ขอให้ จำเลย ที่ 2 ล้มละลาย เช่นนี้ศาล จึง มีอำนาจ สั่ง ให้ เพิกถอน การ โอน ได้ ตาม คำร้อง ผู้คัดค้าน ต้องส่งมอบ ที่ดินพิพาท ทั้ง สอง แปลง ให้ แก่ กอง ทรัพย์สิน ของ จำเลย ที่ 2หรือ มิฉะนั้น ก็ ต้อง ชดใช้ ราคา แทน พร้อม ดอกเบี้ย ฎีกา ข้อ นี้ ของผู้คัดค้าน ฟังไม่ขึ้น
ปัญหา ประการ ที่ สอง ตาม ฎีกา ของ ผู้คัดค้าน มี ว่า ที่ ศาลชั้นต้นพิพากษา ให้ ผู้คัดค้าน ใช้ ค่า ทนายความ แทน ผู้ร้อง จำนวน 2,000 บาทนั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ ผู้ร้อง เป็น เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์เข้า ว่าความ เอง ไม่ได้ มี การ แต่งทนาย ความ นั้น เห็นว่า ปัญหา นี้ผู้คัดค้าน ได้ อุทธรณ์ ไว้ แล้ว แต่ ศาลอุทธรณ์ มิได้ ยกขึ้น วินิจฉัย ให้ศาลฎีกา เห็นสมควร วินิจฉัย ปัญหา นี้ ไป เลย โดย ไม่ต้อง ย้อนสำนวน ไปให้ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ใน ปัญหา นี้ ก่อน ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 161 ความรับผิด ชั้น ที่สุด สำหรับ ค่าฤชาธรรมเนียมของ คู่ความ ใน คดี ย่อม ตก แก่ คู่ความ ฝ่าย ที่ แพ้ คดี นั้น ต้อง เป็นค่าฤชาธรรมเนียม ที่ คู่ความ ฝ่าย ชนะคดี ได้เสีย ไป จริง ๆ ใน การ ดำเนินคดีซึ่ง ค่าฤชาธรรมเนียม นั้น มี หลาย อย่าง รวมทั้ง ค่า ทนายความ ด้วย การ ที่ผู้ร้อง ซึ่ง เป็น เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ของ จำเลย ที่ 2 เข้า ว่าความด้วย ตนเอง โดย มิได้ แต่งทนาย ความ ให้ ว่าความ และ ดำเนิน กระบวนพิจารณาแทน ผู้ร้อง ก็ ไม่ต้อง เสีย ค่าจ้าง ทนายความ แต่อย่างใด จึง ไม่มี เหตุที่ จะ ให้ ผู้คัดค้าน ต้อง ชดใช้ ค่า ทนายความ แทน ผู้ร้อง ที่ ศาลชั้นต้นกำหนด ให้ ผู้คัดค้าน ชดใช้ ค่า ทนายความ 2,000 บาท แทน ผู้ร้อง ด้วยจึง ไม่ถูกต้อง ฎีกา ข้อ นี้ ของ ผู้คัดค้าน ฟังขึ้น
ปัญหา ต่อไป ตาม ฎีกา ของ ผู้ร้อง มี ว่า เมื่อ ศาล พิพากษา ให้ เพิกถอนการ โอน ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 แล้ว เงินค่าขาย ที่ดินพิพาท ทั้ง สอง แปลง จำนวน 1,900,000 บาท ผู้คัดค้านจะ ต้อง ส่ง คืน กอง ทรัพย์สิน ของ จำเลย ที่ 2 ทั้งหมด หรือไม่ เพียงใดเห็นว่า เมื่อ ศาล พิพากษา ให้ เพิกถอน การ โอน ดังกล่าว แล้ว มีผล ให้จำเลย ที่ 2 และ ผู้คัดค้าน กลับคืน สู่ ฐานะ เดิม ผู้คัดค้าน ต้อง โอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท ทั้ง สอง แปลง ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 แต่ เนื่องจากผู้คัดค้าน ไม่อาจ คืน ที่ดินพิพาท ทั้ง สอง แปลง ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 ได้เพราะ ผู้คัดค้าน ได้ ขาย ให้ บุคคลภายนอก ไป แล้ว ใน ราคา 1,900,000 บาทผู้คัดค้าน ก็ ต้อง คืนเงิน จำนวน 1,900,000 บาท ให้ แก่ จำเลย ที่ 2โดย เต็ม จำนวน เพราะ เป็น กรณี ที่ ผู้คัดค้าน รับโอน ที่ดินพิพาททั้ง สอง แปลง ไว้ โดย ไม่สุจริต อัน ฝ่าฝืน ต่อมา ตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ที่ ศาลอุทธรณ์ นำ เงิน ที่ ผู้คัดค้านไถ่ถอน จำนอง ที่ดินพิพาท ทั้ง สอง แปลง มา หัก ออกจาก เงิน ที่ ผู้คัดค้านต้อง ชดใช้ ราคา แทน นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา ข้อ นี้ ของผู้ร้อง ฟังขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ไม่ กำหนด ค่า ทนายความ ใน ศาลชั้นต้น แก่ ผู้ร้องให้ ผู้คัดค้าน ใช้ ราคา แทนที่ ดิน พิพาท ทั้ง สอง แปลง เป็น เงิน 1,900,000บาท นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share