คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1375/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

คดีมีประเด็นว่าการให้เช่าเหล็กเข็มพืดอยู่ในวัตถุประสงค์ของโจทก์หรือไม่การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าแม้โจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์ดังกล่าวแต่เมื่อจำเลยให้การและนำสืบรับว่าได้มีการทำสัญญาเช่าเหล็กเข็มพืดกันจริงแล้วจำเลยจะโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะอยู่นอกวัตถุประสงค์ของโจทก์หาได้ไม่จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแล้ว จำเลยให้การเพียงว่าโจทก์สละสิทธิเรียกเบี้ยปรับตามสัญญามิได้ให้การถึงเหตุแห่งการนั้นว่าเพราะโจทก์ยอมรับเหล็กเข็มพืดจากจำเลยโดยมิได้บอกสงวนสิทธิในการเรียกเบี้ยปรับไว้เป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองแม้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับหรือไม่และโจทก์สละสิทธิเรียกเบี้ยปรับตามสัญญาแล้วหรือไม่ก็ถือไม่ได้ว่าปัญหาดังกล่าวเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหานี้จึงชอบแล้วและฎีกาของจำเลยข้อนี้ก็เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคแรก แม้การที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายจะมิได้คำนวณตามจำนวนวันที่จำเลยส่งมอบเหล็กเข็มพืดคืนโจทก์แต่ก็ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยส่งมอบคืนเมื่อวันที่15ธันวาคม2531มิใช่วันที่12กันยายน2531ซึ่งจำเลยอุทธรณ์ว่าเป็นวันที่12กันยายน2531หากเป็นความจริงย่อมมีผลต่อการกำหนดค่าเสียหายถือได้ว่าจำเลยอุทธรณ์การกำหนดค่าเสียหายอยู่ในตัวที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยเรื่องวันส่งมอบตามอุทธรณ์จึงไม่ชอบเป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งและศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ได้ไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามมาตรา243(1)ประกอบมาตรา247 เมื่อสัญญาเช่าได้กำหนดเบี้ยปรับไว้โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับในฐานเป็นจำนวนน้อยที่สุดแห่งค่าเสียหายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา380วรรคสองโดยหาจำต้องนำสืบว่าโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างใดหรือไม่เพียงใด

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 1,836,966 บาทพร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 1,797,643บาท นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่า โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง เรียกค่าเสียหาย ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 1,174,907.95 บาทพร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 15มิถุนายน 2532 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ แต่ ดอกเบี้ยคิด ถึง วันฟ้อง (15 กันยายน 2532) ไม่เกิน 39,323 บาท
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ที่ มิได้โต้เถียง กัน ใน ชั้น นี้ ฟัง ยุติ ได้ว่า จำเลย เช่า เหล็ก เข็ม พืดจาก โจทก์5 ครั้ง รวม จำนวน 390 แผ่น โดย การ เช่า แต่ละ ครั้ง ได้ ทำ สัญญาเช่าปรากฏ ตาม สัญญาเช่า เอกสาร หมาย จ. 4 ถึง จ. 8 ครั้น สัญญาเช่า แต่ละ ฉบับครบ กำหนด โจทก์ กับ จำเลย ได้ ตกลง ต่อ สัญญาเช่า ต่อมา เมื่อ ครบ กำหนดตาม ที่ ต่อ สัญญา แล้ว จำเลย ได้ ส่งมอบ เหล็ก เข็ม พืดที่ เช่า คืน ให้แก่ โจทก์
ปัญหา ข้อ แรก ซึ่ง จำเลย ฎีกา ว่า เมื่อ ตาม หนังสือ รับรอง เอกสารหมาย จ. 2 และ คำเบิกความ ของ นาย โชติชัย เชาว์นิธิ พยานโจทก์ ปรากฏ ว่า โจทก์ ไม่มี วัตถุประสงค์ ใน การ ให้ เช่า สังหาริมทรัพย์ หรือ เหล็กเข็ม พืด ฉะนั้น การ ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า แม้ โจทก์ จะ ไม่มีวัตถุประสงค์ ให้ เช่า เหล็ก เข็ม พืด จำเลย ก็ จะ โต้แย้ง ว่า โจทก์ ไม่มีอำนาจฟ้อง ไม่ได้ นั้น เป็น การ วินิจฉัย นอกประเด็น และ เมื่อ โจทก์ไม่มี วัตถุประสงค์ ให้ เช่า เหล็ก เข็ม พืด โจทก์ ย่อม ไม่อาจ นำ เหล็กเข็ม พืดไป ให้ ผู้อื่น เช่า ได้ โจทก์ จึง ไม่ได้ รับ ความเสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้อง เรียก ค่าเสียหาย เป็น เบี้ยปรับ และ ดอกเบี้ย ได้ เห็นว่าคดี มี ประเด็น ว่าการ ให้ เช่า เหล็ก เข็ม พืดตาม ฟ้อง อยู่ ใน วัตถุประสงค์ของ โจทก์ หรือไม่ ดังนี้ การ ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า แม้ โจทก์จะ ไม่มี วัตถุประสงค์ ใน การ ให้ เช่า สังหาริมทรัพย์ หรือ เหล็ก เข็ม พืดแต่เมื่อ จำเลย ให้การ และ นำสืบ ยอมรับ ว่า โจทก์ กับ จำเลย ได้ ทำ สัญญาเช่า เหล็ก เข็ม พืดกัน จริง แล้ว จำเลย จะ โต้แย้ง ว่า โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้องเพราะ อยู่ นอก วัตถุประสงค์ ของ โจทก์ ที่ จดทะเบียน ไว้ หาได้ไม่ จึงเป็น การ วินิจฉัย ใน ประเด็น หา ได้ นอกประเด็น ไม่
ปัญหา ต่อไป ซึ่ง จำเลย ฎีกา ว่า โจทก์ ยอมรับ มอบ เหล็ก เข็ม พืดจาก จำเลย โดย มิได้ บอก สงวนสิทธิ ไว้ จึง ไม่มี สิทธิ เรียก เบี้ยปรับตาม สัญญา จำเลย ได้ ให้การ ต่อสู้ ใน ข้อ นี้ และ ศาลชั้นต้น ได้ กำหนดประเด็น ว่า โจทก์ มีสิทธิ เรียก เบี้ยปรับ หรือไม่ และ โจทก์ สละ สิทธิเรียก เบี้ยปรับ ตาม สัญญา แล้ว หรือไม่ การ ที่ ศาลอุทธรณ์ ไม่รับ วินิจฉัยใน ข้อ นี้ โดย เห็นว่า เป็น ข้อ ที่ จำเลย มิได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว โดยชอบใน ศาลชั้นต้น เป็น การ ไม่ชอบ เห็นว่า จำเลย ให้การ เพียง ว่า โจทก์สละ สิทธิ เรียก เบี้ยปรับ ตาม สัญญา มิได้ ให้การ โดยชัดแจ้ง ถึง เหตุแห่ง การ นั้น ว่า เพราะ โจทก์ ยอมรับ เหล็ก เข็ม พืดจาก จำเลย โดย มิได้บอก สงวนสิทธิ ใน การ เรียก เบี้ยปรับ ไว้ คำให้การ ของ จำเลย ใน ส่วน นี้จึง เป็น คำให้การ ที่ ไม่ชอบ ด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง ดังนี้ แม้ ศาลชั้นต้น จะ กำหนด ประเด็น ว่า โจทก์มีสิทธิ เรียก เบี้ยปรับ หรือไม่ และ โจทก์ สละ สิทธิ เรียก เบี้ยปรับตาม สัญญา แล้ว หรือไม่ ก็ ถือไม่ได้ว่า ข้อ ที่ ว่า โจทก์ ยอมรับ เหล็กเข็ม พืดจาก จำเลย โดย มิได้ บอก สงวนสิทธิ ใน การ เรียก เบี้ยปรับ ไป เป็นข้อ ที่ จำเลย ได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว โดยชอบ ใน ศาลชั้นต้น การ ที่ศาลอุทธรณ์ ไม่รับ วินิจฉัย ใน ข้อ นี้ จึง ชอบแล้ว และ เมื่อ เป็น ข้อที่ จำเลย มิได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว โดยชอบ ใน ศาลชั้นต้น ฎีกา ของ จำเลยใน ข้อ ดังกล่าว ก็ เป็น ฎีกา ที่ ไม่ชอบ ด้วย ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกา ไม่ วินิจฉัย ให้
ปัญหา ข้อ ต่อไป ซึ่ง จำเลย ฎีกา ว่า จำเลย ได้ ส่งมอบ เหล็ก เข็ม พืดตาม ใบ ส่ง ของ เอกสาร หมาย ล. 49 คืน ให้ แก่ โจทก์ เมื่อ วันที่ 12 กันยายน2531 มิใช่ วันที่ 15 ธันวาคม 2531 ซึ่ง จำเลย ได้ ส่งมอบ วัน ใด ย่อมมีผล ใน การ วินิจฉัย เบี้ยปรับ ของ โจทก์ ว่า มี เพียงใด การ ที่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เรื่อง วัน ส่งมอบ จะ มีผล เฉพาะ ใน กรณี คำนวณ เบี้ยปรับ ตามจำนวน วัน แต่เมื่อ ศาลชั้นต้น กำหนด ค่าเสียหาย ให้ โดย ไม่ได้ คำนวณตาม จำนวน วันที่ ส่งมอบ ล่าช้า และ จำเลย มิได้ อุทธรณ์ โต้แย้ง ว่าค่าเสียหาย ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด สูง เกิน ไป หรือไม่ ถูกต้อง จำนวนค่าเสียหาย ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด จึง เป็น อัน ยุติ ไม่จำต้อง วินิจฉัยเรื่อง วัน ส่งมอบ ตาม อุทธรณ์ ของ จำเลย เป็น การ ไม่ชอบ เห็นว่าศาลชั้นต้น กำหนด ค่าเสียหาย โดย ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า จำเลย ส่งมอบเหล็ก เข็ม พืดตาม ใบ ส่ง ของ เอกสาร หมาย ล. 49 คืน ให้ แก่ โจทก์ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2531 มิใช่ วันที่ 12 กันยายน 2531 แม้ การ กำหนดค่าเสียหาย ของ ศาลชั้นต้น จะ มิได้ คำนวณ ตาม จำนวน วันที่ ส่งมอบ ล่าช้าแต่ หาก ข้อเท็จจริง ฟังได้ ตาม อุทธรณ์ ของ จำเลย ว่า จำเลย ส่งมอบ เหล็กเข็ม พืดคืน ให้ แก่ โจทก์ เมื่อ วันที่ 12 กันยายน 2531 มิใช่ วันที่15 ธันวาคม 2531 ก็ ย่อม มีผล ต่อ การ กำหนด ค่าเสียหาย ใน ส่วน นี้ และอุทธรณ์ ของ จำเลย ดังกล่าว ถือได้ว่า เป็น การ อุทธรณ์ ค่าเสียหาย ที่ศาลชั้นต้น กำหนด ใน ส่วน นี้ อยู่ ใน ตัว ดังนี้ การ ที่ ศาลอุทธรณ์ไม่ วินิจฉัย เรื่อง วัน ส่งมอบ ตาม อุทธรณ์ ของ จำเลย จึง เป็น การ ไม่ชอบฎีกา ส่วน นี้ ของ จำเลย ฟังขึ้น กรณี เป็น เรื่อง ที่ ศาลอุทธรณ์ ไม่ปฏิบัติตาม บทบัญญัติ แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วย คำพิพากษาและ คำสั่ง แต่ ศาลฎีกา เห็นสมควร วินิจฉัย ใน ปัญหา ข้อ นี้ ไป โดย ไม่จำต้องย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 243(1) ประกอบ ด้วย มาตรา 247 ใน ปัญหา ดังกล่าวพยานหลักฐาน ของ โจทก์ มี น้ำหนัก ดีกว่า พยานหลักฐาน ของ จำเลย ฟังได้ ว่าจำเลย ได้ ส่งมอบ เหล็ก เข็ม พืดตาม ใบ ส่ง ของ เอกสาร หมาย ล. 49 คืน ให้ แก่โจทก์ เมื่อ วันที่ 15 ธันวาคม 2531 เมื่อ เป็น ดังนี้ ย่อม ไม่มี ผลให้ เปลี่ยนแปลง จำนวน ค่าเสียหาย ฎีกา ส่วน นี้ ของ จำเลย ฟังไม่ขึ้น
ปัญหา ข้อ สุดท้าย ซึ่ง จำเลย ฎีกา ว่า โจทก์ ไม่ได้ นำสืบ ให้ เห็นว่าโจทก์ ได้รับ ความเสียหาย อย่างใด หรือไม่ เพียงใด จึง ไม่มี สิทธิเรียก เบี้ยปรับ และ ค่าเสียหาย เห็นว่า เมื่อ ตาม สัญญาเช่า เอกสารหมาย จ. 4 ถึง จ. 8 ได้ กำหนด เบี้ยปรับ ไว้ โจทก์ ย่อม มีสิทธิ จะ เรียกเอา เบี้ยปรับ ใน ฐาน เป็น จำนวน น้อย ที่สุด แห่ง ค่าเสียหาย ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง จึง หา จำต้อง นำสืบว่า โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย อย่างใด หรือไม่ เพียงใด ฎีกา ข้อ นี้ ของจำเลย ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน ”
พิพากษายืน

Share