คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1330/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ในการไต่สวนขอพิจารณาใหม่ของจำเลยโจทก์ไม่คัดค้านการขอพิจารณาใหม่ศาลจึงมีคำสั่งงดการไต่สวนและมีคำสั่งว่าจำเลยไม่จงใจขาดนัดพิจารณาอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การถือว่าศาลมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่แล้วคำพิพากษาและวิธีการบังคับคดีที่ดำเนินไปแล้วถือเป็นอันเพิกถอนไปในตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา209วรรคแรก

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย หย่าขาด จาก โจทก์ หาก จำเลยไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา และ ให้ โจทก์เป็น ผู้ใช้ อำนาจปกครอง บุตร ผู้เยาว์ ทั้ง สาม ห้าม จำเลย มิให้ มาเกี่ยวข้อง
จำเลย ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้น พิจารณา คดี โจทก์ ฝ่ายเดียว แล้ว พิพากษา ให้ โจทก์และ จำเลย หย่าขาด จาก การ เป็น สามี ภริยา และ ให้ บุตร ผู้เยาว์ ทั้ง สาม คนอยู่ ใน ความ ปกครอง ของ โจทก์ แต่ ผู้เดียว
ต่อมา จำเลย ยื่น คำร้องขอ ให้ พิจารณา คดี ใหม่ ระหว่าง การ ไต่สวนคำร้อง โจทก์ และ จำเลย ตกลง กัน โดย จำเลย จะ ต่อสู้ คดี ใน ประเด็น เดียวโจทก์ ไม่ คัดค้าน ศาลชั้นต้น จึง มี คำสั่ง ว่า จำเลย ไม่ จงใจ ขาดนัดพิจารณา อนุญาต ให้ จำเลย ยื่นคำให้การ
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ไม่เคย ละทิ้งร้าง โจทก์ ให้ อยู่ ตาม ลำพังกับ บุตร เป็น เวลา กว่า 3 ปี จำเลย เดินทาง ไป เมือง ฮ่องกง เพื่อ ศึกษา ต่อ จำเลย กลับมา หา โจทก์ และ บุตร ทุก ปี จำเลย ไม่ได้ ประพฤติ ตนไม่ เหมาะสม ที่ จะ เป็น ผู้ปกครอง บุตร ทั้ง สาม ขอให้ ยกฟ้อง
ระหว่าง การ พิจารณา ใหม่ ของ ศาลชั้นต้น โจทก์ ยื่น คำแถลง ว่าโจทก์ ไม่ประสงค์ จะ อยู่กิน ฉัน สามี ภริยา กับ จำเลย และ ได้ นำคำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้น ไป บันทึก ลง ใน ทะเบียน การ สมรส แล้ว ทั้ง โจทก์ได้ จดทะเบียนสมรส ใหม่ แล้ว ขอให้ จำหน่ายคดี
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว เห็นว่า สถานะ บุคคล ของ โจทก์ และ จำเลยได้ เปลี่ยนแปลง ไป ตาม หลักฐาน การ จดทะเบียน หย่า และ การ จดทะเบียนสมรสอันเป็น ผล เนื่องมาจาก คำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้น คดี พอ วินิจฉัย ได้จึง ให้ งด การ พิจารณา และ พิพากษายก ฟ้อง
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ ศาลชั้นต้น ดำเนินกระบวนพิจารณา ต่อไป และ มี คำพิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “จำเลย ยื่น คำร้องขอ ให้ พิจารณา ใหม่โดยชอบ ด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 ศาลชั้นต้นมี คำสั่ง รับคำ ร้องขอ งจำเลย และ นัด ไต่สวน คำร้อง ใน ระหว่าง การ ไต่สวนโจทก์ และ จำเลย ตกลง กัน ใน ประเด็น ที่ จำเลย จะ ขอ สู้ คดี และ โจทก์ ไม่คัดค้าน การ ขอพิจารณา ใหม่ ศาลชั้นต้น จึง ให้ งด การ ไต่สวน และ มีคำสั่ง ว่า จำเลย ไม่ จงใจ ขาดนัดพิจารณา อนุญาต ให้ จำเลย ยื่นคำให้การตาม ข้อตกลง ดังกล่าว ถือได้ว่า ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง อนุญาต ให้พิจารณา คดี นี้ ใหม่ แล้ว ดังนั้น คำพิพากษา โดย คู่ความ ขาดนัด ของศาลชั้นต้น และ วิธีการ บังคับคดี ที่ ดำเนิน ไป แล้ว นั้น ถือว่า เป็นอัน เพิกถอน ไป ใน ตัว ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 209 วรรคแรก เมื่อ คำพิพากษา โดย คู่ความ ขาดนัด ถูก เพิกถอน แล้วการ ที่ โจทก์ ไป ให้ นายทะเบียน บันทึก การ หย่า ตาม คำพิพากษา ดังกล่าวใน ทะเบียนสมรส จึง ถูก เพิกถอน ไป ด้วย สถานะ ของ บุคคล ระหว่าง โจทก์และ จำเลย ยัง คง ไม่ เปลี่ยนแปลง ไป จาก การ เป็น สามี ภริยา กัน การดำเนิน กระบวนพิจารณา จึง มี ความจำเป็น ที่ จะ ต้อง กระทำ ต่อไป ที่ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ งด การ ดำเนิน กระบวนพิจารณา และ พิพากษายก ฟ้องโจทก์ นั้น ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ พิพากษายก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ ศาลชั้นต้น ดำเนิน กระบวนพิจารณา ต่อไปและ มี คำพิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี นั้น ชอบแล้ว ฎีกา โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share