แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ความรับผิดฐานแสดง+ออกเป็นหุ้นส่วนนั้นจะต้องรับผิดก็ฉะเพาะต่อผู้ที่หลงเข้าใจว่าผู้นั้นเป็นหุ้นส่วน ประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม.154, 86, 119 +ของคำพิพากษาในคดีอื่นที่ไม่มัดจำเลยในคดีนี้ การที่จะเรียกผู้ใดเข้ามาสอบถามเพื่อดำเนินการพิจารณาต่อไปตามประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม.86, 119 นั้น อยู่ในดุลยพินิจของศาล ฎีกาอุทธรณ์ อาญาทางพระราชไมตรี พ.ร.บ.ล้มละลาย ม.79 ล้มละลายที่คนบังคับฝรั่งเศสเป็นโจทก์นั้นโจทก์+ได้ฉะเพาะปัญหากฎหมาย
ย่อยาว
คดีนี้เดิมปรากฎตามบัญชีของลูกหนี้จำเลยผู้ล้มละลายว่า ต.เจ้าของยี่ห้อยนต์พาณิชย์เป็นลูกหนี้ผู้ล้มละลายอยู่ 37 38 บาท 91 สตางค์ ต่อมาโจทก์ได้แจ้งว่าห้างมิชลินได้ฟ้อง แลศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยี่ห้อชุ่นฮะไถ่ แล ป.รับผิดชอบร่วมกับ ต.ชำระหนี้ให้ห้างมิชลิน จึงขอให้เอาชื่อ ป.แลยี่ห้อชุ่นฮะไถ่ลงในบัญชีลูกหนี้ของผู้ล้มละลาย
เจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ไต่สวนแล้วฟังว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้โจทก์ชนะคดีปรากฎแต่เพียงว่า ห้างมิชลินเชื่อว่าห้างยนตร์พาณิชย์เป็นห้างเดียวกับยี่ห้อชุ่นฮะไถ่ โดย ป.ปล่อยให้ ต.ใช้ยี่ห้อภาษีจีนว่า “ชุ่นฮะไถ่ดีเชียเอียหัง” ในการค้าขาย ป.จึงต้องรับผิดในการที่ทำให้เขาหลงเชื่อ หาใช่ศาลอุทธรณ์ชี้ขาดว่ายี่ห้อชุ่นฮะไถ่ ป.แลต. เป็นหุ้นส่วนกันไม่ แลฟังไม่ได้ว่า ป.มีหุ้นส่วนร่วมอยู่ด้วย แลการที่ผู้ล้มละลายเชื่อว่าเพราะ ป.เป็นหุ้นส่วนอยู่ด้วย เห็นว่าจะขอบังคับให้ ป.รับผิดร่วมกับ ต.ไม่ได้ จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายชื่อยี่ห้อชุ่นฮะไถ่กับ ป.ออกเสียจากบัญชีลูกหนี้
ศาลฎีกาตัดสินยืนตามศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่า ในคดีเรื่องก่อน ป.ได้แสดงออกทำให้บริษัทหลงเชื่อจึงได้เข้าทำสัญญากับ ต. แต่คดีนี้ ป.ไม่ได้แสดงให้เจ้าหนี้ของผู้ล้มละลายหลงเชื่อว่า ป.ได้มีหุ้นส่วนกับ ต. ป. จึงไม่ต้องรับผิดชอบร่วมกับ ต. แลคดีเรื่องก่อนไม่ผูกพันในคดีนี้ เพราะเป็นคดีต่างเรื่องต่างจำเลยกัน ไม่ใช่กรณีเดียวกันแลประเด็นไม่เหมือนกัน ส่วนข้อที่จะให้เรียก ป. แล ต.มาดำเนินการพิจารณาต่อไปตามประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม.86 แล 119 นั้น เป็นดุลยพินิจ โจทก์ฎีกาไม่ได้