คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1252/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

คำว่า’คราวใดคราวหนึ่ง’และ’คราวถัดไปข้างหน้า’ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา582หมายถึง’คราว’กำหนดจ่ายสินจ้าง’แต่ละคราว’โดยข้อเท็จจริงที่แยกกันจะรวมสองคราวมาเป็นคราวเดียวโดยถือจำนวนค่าจ้างที่ตกลงกันเป็นรายเดือนมาเป็นเกณฑ์ไม่ได้ จำเลยตกลงจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ทุกวันที่15และทุกวันสิ้นเดือนเมื่อจำเลยบอกกล่าวเลิกสัญญาจ้างโจทก์เมื่อวันที่17มกราคม2527โดยจ่ายสินจ้างแก่โจทก์ครบจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึงคราววันที่15กุมภาพันธ์2527แล้วปล่อยโจทก์ออกจากงานไปทันทีจึงเป็นการชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา582แล้ว.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ว่าจ้าง โจทก์ เป็น ลูกจ้าง ประจำ ใน ตำแหน่งผู้จัดการ ฝ่ายขาย พิเศษ ได้ รับ ค่าจ้าง เดือนละ 30,000 บาท ต่อมาเมื่อ วันที่ 17 มกราคม 2527 จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ โดย อ้าง เหตุ ว่าจำเป็น ต้อง ยกเลิก ฝ่าย ขาย พิเศษ การ ที่ จำเลย เลิกจ้าง โจทก์จะ มี ผล เป็น การ เลิก สัญญา จ้าง ตาม กฎหมาย ใน วันที่ 29 กุมภาพันธ์2527 จำเลย จึง ต้อง จ่าย เงินเดือน สำหรับ เดือน มกราคม และ เดือนกุมภาพันธ์ 2527 เป็น เงิน 60,000 บาท สินจ้าง แทน การ บอกกล่าวล่วงหน้า 30,000 บาท ค่าชดเชย 90,000 บาท รวม 180,000 บาท แต่ จำเลยจ่าย ให้ โจทก์ เพียง 135,000 บาท ยัง ขาด เงิน อีก 45,000 บาท โจทก์มี สิทธิ ได้ รับ เงิน โบนัส สำหรับ ปี พ.ศ. 2526 เท่ากับ ค่าจ้าง2 เดือน เป็น เงิน 60,000 บาท ซึ่ง จำเลย ยัง มิได้ จ่าย แก่ โจทก์ขอ ให้ ศาล บังคับ จำเลย รับ โจทก์ กลับ เข้า ทำงาน ใน ตำแหน่ง เดิมหาก จำเลย ไม่ สามารถ รับ โจทก์ กลับ เข้า ทำงาน ได้ ขอ ให้ ศาล บังคับจำเลย ชดใช้ ค่าเสียหาย ที่ เกิด แต่ การ เลิกจ้าง ที่ ไม่ เป็นธรรม3,600,000 บาท ค่าเสียหาย อัน เกิดแต่ ละเมิด 1,000,000 บาท ให้ จำเลยจ่าย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า ค่าชดเชย เงินเดือน และ เงินโบนัส ที่ ยัง ไม่ จ่าย
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ ฟ้อง โจทก์
ศาลแรงงานกลาง ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า จำเลย จ่าย ค่าจ้าง ให้ แก่ โจทก์ทุก วันที่ 15 และ ทุกวัน สิ้นเดือน จึง ถือ ว่า จำเลย จ่าย สินจ้างแทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า ค่าจ้าง ค่าชดเชย ให้ โจทก์ ครบถ้วน แล้วพิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ใน ปัญหา เรื่อง การ จ่าย สินจ้างแทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า ว่า ‘โจทก์ อุทธรณ์ เป็น ข้อ ที่ สาม ว่าโจทก์ จำเลย ตกลง จ่าย ค่าจ้าง กัน เป็น เดือน แม้ จะ แบ่งจ่าย ทุก15 วัน ก็ เป็น ข้อตกลง ใน การ สำรอง จ่ายเงินเดือน ไป ก่อน เท่านั้นหา ได้ เป็น ผล ให้ กลาย เป็น การ จ่าย ค่าจ้าง หรือ เป็น การ ตกลงจ่าย ค่าจ้าง คราวละ 15 วัน ไม่ เมื่อ จำเลย บอกกล่าว เลิกจ้าง โจทก์วันที่ 17 มกราคม 2527 การ บอกเลิก สัญญา จึง จะ มี ผล เป็น การ เลิกสัญญาจ้าง ใน วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2527 จำเลย จึง ต้อง จ่าย ค่าจ้างให้ โจทก์ ถึง วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2527 เป็น จำนวน 60,000 บาทตาม คำฟ้อง ตาม ที่ โจทก์ อุทธรณ์ ขึ้น มา นี้ ศาลฎีกา เห็นว่า โจทก์คง มุ่งหมาย ที่ จะ อุทธรณ์ ว่า เมื่อ กำหนด จำนวน ค่าจ้าง กัน เป็นเดือน กำหนด การ จ่าย ค่าจ้าง ก็ ต้อง เป็น เดือน ด้วย หรือ จะ กล่าวอีกนัย หนึ่ง ว่า กำหนด จ่าย สินจ้าง คราวใด คราวหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 นั้น หมายถึง การ จ่าย ค่าจ้าง30,000 บาท จะ ต้อง ถือ เป็น คราวเดียว เท่านั้น คือ คราว ทุกวันสิ้นเดือน จะ หมายถึง ทุก วันที่ 15 หรือ ทุกวัน สิ้นเดือน โดย จะ ถือเป็น สอง คราว ไม่ ได้ พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า ปัญหา ดังกล่าว นี้ศาลฎีกา เคย วินิจฉัย เป็น แบบอย่าง ไว้ แล้ว อัน มี นัย ว่า’คราวใด คราวหนึ่ง’ และ ‘คราว ถัดไป ข้างหน้า’ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 นั้น มี ความหมาย ถึง ‘คราว’กำหนด จ่าย สินจ้าง ‘แต่ ละ คราว’ โดย ข้อเท็จจริง ที่ แยกกัน จะ รวมสอง คราว มา เป็น คราวเดียว โดย ถือ จำนวน ค่าจ้าง ที่ ตกลง เป็นรายเดือน เป็น เกณฑ์ ไม่ ได้ ดัง คำพิพากษา ศาลฎีกา ที่ 3058-3059/2527ฯ ดังนั้น เมื่อ จำเลย บอกกล่าว เลิก สัญญา วันที่ 17 มกราคม 2527ก่อน จะ ถึง กำหนด จ่าย สินจ้าง คราว วัน สิ้นเดือน มกราคม 2527 ผลแห่ง การ บอกกล่าว จะ ให้ เลิก สัญญา เมื่อ ถึง กำหนด จ่าย สินจ้างคราว ถัดไป ข้างหน้า จึง เป็น คราว วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2527 ซึ่งคดีนี้ จำเลย ได้ จ่าย สินจ้าง แก่ โจทก์ ครบ จำนวน ที่ จะ ต้อง จ่ายสำหรับ คราว วัน สิ้นเดือน มกราคม 2527 จน ถึง คราว วันที่ 15กุมภาพันธ์ 2527 อัน เป็น เวลา เลิกสัญญา ไป เลย ทีเดียว แล้ว ปล่อยโจทก์ ออก จาก งาน เสีย ใน ทันที จึง เป็น การ ชอบ ด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 แล้ว โจทก์ หา มี สิทธิเรียกร้อง ค่าจ้าง สำหรับ เดือน มกราคม และ เดือน กุมภาพันธ์ 2527ไม่ ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ความ ข้อ นี้ ชอบ แล้ว อุทธรณ์ โจทก์ข้อนี้ ฟัง ไม่ ขึ้น
พิพากษายืน’

Share