คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

จำเลยเป็นพนักงานของธนาคารโจทก์ร่วมไม่มีหน้าที่การเงินจำเลยนำเช็คปลอมจำนวน3ฉบับไปยื่นต่อส.และอ.ซึ่งเป็นพนักงานการเงินของโจทก์ร่วมต่างวันกันโดยแต่ละครั้งจำเลยนำใบฝากโอนเงินเข้าธนาคารต่างสาขาในบัญชีของบ.ซึ่งจำเลยแต่ผู้เดียวมีอำนาจถอนเงินจากบัญชีดังกล่าวแม้ไม่มีพยานหลักฐานบ่งชี้ว่าจำเลยเป็นผู้ปลอมหรือมีส่วนในการปลอมเช็ค3ฉบับดังกล่าว.แต่ตามพฤติการณ์แสดงได้ว่าจำเลยรู้ว่าเช็คนั้นเป็นเอกสารปลอมดังนั้นการที่จำเลยนำเช็คปลอมไปแสดงต่อพนักงานการเงินของโจทก์ร่วมโดยปกปิดความจริงจนเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อยอมสั่งจ่ายเงินตามเช็คปลอมจึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและฉ้อโกง. พนักงานอัยการโจทก์ขอให้ศาลสั่งให้จำเลยคืนหรือใช้เงินที่จำเลยฉ้อโกงไปคืนแก่ผู้เสียหายมาท้ายฟ้องและโจทก์ร่วมได้เสียค่าธรรมเนียมมาถูกต้องแล้วจำเลยจึงต้องคืนหรือใช้เงินตามฟ้องให้โจทก์ร่วม.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอ ให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265, 266,268, 341, 91 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลง วันที่ 21 พฤศิจกายน2514 ข้อ 2 ริบ ตั๋วเงิน ปลอม ของกลาง กับ ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ เงินจำนวน 202,700 บาท ที่ จำเลย ฉ้อโกง ไป คืน แก่ ผู้เสียหาย
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ระหว่าง พิจารณา คดี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด ผู้เสียหาย ร้องขอเข้า เป็น โจทก์ร่วม ศาลชั้นต้น อนุญาต
ศาลชั้นต้น พิพากษา ยกฟ้อง แต่ ให้ ริบ ตั๋วเงิน ปลอม ของกลาง ทั้ง3 ฉบับ
โจทก์ร่วม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา แก้ ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 268, 266, 341 ให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 อันเป็น บทหนัก จำคุก จำเลย 4 ปี นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาของ ศาลชั้นต้น
โจทก์ร่วม และ จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ‘คง มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ใน ชั้น นี้ ว่าจำเลย กระทำ ผิด ฐาน ใช้ เอกสาร ปลอม และ ฉ้อโกง หรือไม่
ข้อ ที่ จำเลย ฎีกา ว่า ความผิด ฐาน ใช้ เอกสาร ปลอม ผู้ใช้ ต้อง รู้ว่า เอกสาร ที่ ใช้ เป็น เอกสาร ปลอม จำเลย รับ เช็ค ทั้ง สามฉบับ ไว้ ตาม หน้าที่ โดย ไม่ รู้ ว่า เป็น เอกสาร ปลอม นั้น ศาลฎีกาเห็น ว่า นาย สุเทพ ผู้จัดการ ธนาคาร โจทก์ร่วม สาขา บางกะปิ เบิกความว่า ก่อน เกิดเหตุ ราว 1 เดือน พยาน ได้ สั่ง ให้ จำเลย ไป ช่วยงานด้าน สินเชื่อ ไม่ ต้อง ไป ทำ หน้าที่ พนักงาน การเงิน นาง สุคนธ์สมุห์บัญชี ว่า จำเลย มี หน้าที่ พิมพ์ หนังสือ อยู่ หน้าห้อง ผู้จัดการชั้นบน นางสาว อัจฉรา ผู้ช่วย สมุห์บัญชี ก็ ว่า ปกติ จำเลย นั่ง ประจำอยู่ ชั้นบน หน้าห้อง ผู้จัดการ จำเลย เอง ก็ ให้การ ไว้ ใน ชั้น สอบสวนว่า ได้ ลง มา ช่วย ทำ หน้าที่ พนักงาน การเงิน เฉพาะ วันที่ 15 และวัน สิ้นเดือน ของ ทุกเดือน และ ต้อง ได้ รับ คำสั่ง จาก แคชเชียร์ หรือผู้จัดการ จึง จะ ลง มา ช่วย งาน ได้ แต่ เช็ค ทั้ง สาม ฉบับ ที่ จำเลยเป็น ผู้นำ ไป เสนอ นาง สุคนธ์ และ นางสาว อัจฉรา มิได้ ยื่น ใน วันที่15 หรือ วัน สิ้นเดือน ข้ออ้าง ของ จำเลย ที่ ว่า รับ เช็ค ไว้ ตามหน้าที่ จึง ไม่ เป็น ความจริง ยิ่งกว่า นั้น เช็ค ทั้ง สาม ฉบับ มิใช่เป็น เช็ค ปลอม เพียง ฉบับใด ฉบับ หนึ่ง แต่ เป็น เช็ค ปลอม ทั้ง สามฉบับ ทั้ง จำเลย นำ ไป ยื่น ต่อ นาง สุคนธ์ นางสาว อัจฉรา ต่าง วัน ก็มิใช่ ใน วัน เดียว จึง ไม่ เชื่อ ว่า จะ เป็น เหตุ บังเอิญ ดัง จำเลยกล่าว ใน ฎีกา นอกจาก นี้ แต่ละ ครั้ง ที่ จำเลย นำ เช็ค ไป ยื่นจำเลย ก็ นำ ใบ ฝาก โอน เงิน เข้า ธนาคาร ต่าง สาขา ไป ยื่น ด้วย ในวัน เดียวกัน จำนวน เงิน ใน ใบ ฝากเงิน ตรงกับ จำนวน เงิน ตาม เช็คและ โอน เงิน ไป เข้า บัญชี ของ นาย บัณฑิต ที่ ธนาคาร โจทก์ร่วม สาขาบางเขน ข้อ ที่ จำเลย ว่า ถ้า จำเลย มี เจตนา ทุจริต จำเลย รับ เงินสดไป ทันที จะ ปลอดภัย กว่า ศาลฎีกา เห็นว่า หาก จำเลย รับ เงินสด ไป จะส่อ พิรุธ เพราะ จำเลย อ้างว่า มี ผู้อื่น นำ เช็ค มา ยื่น มิใช่ จำเลยถ้า จะ รับ เงินสด ก็ ต้อง มี ผู้ มา รับ เงิน ไป หาก จำเลย เอา เงินสดไป เอง ก็ จะ เป็น ที่ ผิด สังเกต ของ ผู้ร่วมงาน การ โอน เงิน เข้าบัญชี ชื่อ ผู้อื่น หาก มี การ สอบถาม ชื่อ เจ้าของ บัญชี ก็ จะ ได้ รับแจ้ง ว่า นาย บัณฑิต เป็น เจ้าของ บัญชี ทั้งๆ ที่ ความจริง จำเลย แต่ผู้เดียว เป็น ผู้ มี อำนาจ ถอนเงิน จาก บัญชี ของ นาย บัณฑิต จำเลยอ้าง ว่า นาย จิตติพันธ์ อมรพันธ์ เป็น ผู้นำ เช็ค มา เบิกเงิน และฝาก เงิน เข้า บัญชี ที่ จำเลย สั่งจ่าย ได้ คือ ธนาคาร โจทก์ร่วมสาขา บางเขน แต่ จำเลย มิได้ นำ ตัว บุคคล ดังกล่าว มา เบิกความ เป็นพยาน ซึ่ง จะ มี ตัว อยู่ จริง หรือไม่ ก็ ไม่ ปรากฏ แน่ชัด จำเลยอ้างว่า นาย จิตติพันธ์ อมรพันธ์ ชอบพอ จำเลย จึง ฝาก เงิน เข้า บัญชีไว้ แล้ว มา ขอ รับ ภายหลัง ไม่ มี เหตุผล ควร เชื่อ เงิน ตาม เช็คที่ จำเลย ว่า นาย จิตติพันธ์ อมรพันธ์ ฝาก เข้า บัญชี ของ จำเลย เป็นจำนวน เกือบ สองแสน บาท โดย ที่ ผู้ ฝาก ไม่ สามารถ เบิก ได้ หาก จำเลยถึง แก่ ความตาย ผู้ฝาก ก็ ย่อม สูญเงิน เปล่า ที่ จำเลย อ้าง ว่า จำเลยเป็น ผู้ เล่าเรื่อง การ รับ เช็ค ไว้ ให้ โจทก์ร่วม ทราบ เป็น การแสดง ความ บริสุทธิ์ใจ นั้น ไม่ มี พยาน โจทก์ คนใด เบิกความ รับรองเรื่อง นี้ นาย สุเทพ ผู้จัดการ เบิกความ ว่า เมื่อ พบ ว่า เช็ค เอกสารหมาย จ.5 ปลอม จึง รายงาน ไป ทาง สำนักงานใหญ่ ของ ธนาคาร โจทก์ร่วมทาง สำนักงานใหญ่ ส่ง คน มา ตรวจสอบ จึง พบ เช็ค เอกสาร หมาย จ.8จ.9 แม้ จะ ไม่ มี พยาน หลักฐาน อันใด บ่งชี้ ว่า จำเลย เป็น ผู้ปลอมเช็ค ทั้ง สาม ฉบับ หรือ มี ส่วนร่วม ใน การ ปลอม เช็ค ดังกล่าว แต่พฤติการณ์ ของ จำเลย ก็ บ่งชี้ ว่า จำเลย รู้ว่า เช็ค ตาม ฟ้อง ทั้งสาม ฉบับ เป็น เอกสาร ปลอม การ ที่ จำเลย นำ เช็ค ตาม ฟ้อง ทั้ง สามฉบับ ไป แสดง ต่อ พนักงาน ธนาคาร โจทก์ร่วม สาขา บางกะปิ โดย ปกปิดความจริง จน เป็น เหตุ ให้ โจทก์ร่วม หลงเชื่อ สั่งจ่ายเงิน ตาม เช็คทั้ง สาม ฉบับ เข้า บัญชี เงินฝาก ซึ่ง จำเลย เป็น ผู้ มี อำนาจ ถอนเงินได้ แต่ ผู้เดียว การ กระทำ ของ จำเลย จึง เป็น ความผิด ฐาน ใช้เอกสาร ปลอม และ ฉ้อโกง ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ลงโทษ จำเลย นั้นศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา ของ จำเลย ฟัง ไม่ ขึ้น
ส่วน ข้อ ที่ โจทก์ ร่วม ฎีกา ขอ ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ เงิน แก่โจทก์ร่วม นั้น เห็นว่า โจทก์ ขอ ให้ ศาล สั่ง ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้เงิน จำนวน 202,700 บาท ที่ จำเลย ฉ้อโกง ไป คืน แก่ ผู้เสียหาย มาท้ายฟ้อง และ โจทก์ร่วม ได้ เสีย ค่าธรรมเนียม มา ถูกต้อง แล้ว เมื่อคดี ฟัง ได้ ว่า จำเลย กระทำ ผิด จำเลย จึง ต้อง คืน หรือ ใช้ เงินตาม ฟ้อง ให้ โจทก์ร่วม ฎีกา ของ โจทก์ร่วม ฟัง ขึ้น
พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ เงิน จำนวน 202,700 บาทแก่ โจทก์ร่วม ด้วย นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ของศาลอุทธรณ์

Share