คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 217/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

จำเลยที่1ขับรถยนต์ด้วยความเร็วแต่อยู่ในช่องทางเดินรถของตนจำเลยที่2ขับรถยนต์กินทางเข้าไปในช่องทางเดินรถของจำเลยที่1จึงเกิดชนกันขึ้นเหตุที่เกิดการชนกันจึงเป็นความประมาทของจำเลยที่2แม้หลังเกิดเหตุจำเลยที่1จะหลบหนีไม่แสดงตัวแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งตามกฎหมายจะให้สันนิษฐานว่าเป็นผู้กระทำผิดก็เป็นข้อสันนิษฐานในเบื้องต้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่1ไม่ได้กระทำผิดจะนำข้อสันนิษฐานมารับฟังลงโทษจำเลยที่1หาได้ไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์ บรรทุก 10 ล้อ จำเลย ที่ 2ขับ รถยนต์ เก๋ง โดย ประมาท เป็น เหตุ ให้ รถยนต์ ทั้งสอง คัน ชน กันและ จำเลย ที่ 2 ได้ รับ อันตราย สาหัส เกิดเหตุ แล้ว จำเลย ที่1 ไม่ให้ ความ ช่วยเหลือ ไม่ แสดง ตัว และ ไม่ แจ้ง เหตุ ต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ ขอ ให้ ลงโทษ จำเลย ทั้งสอง
จำเลย ทั้งสอง ให้การ ปฏิเสธ แต่ จำเลย ที่ 1 รับ ว่า ไม่ แจ้ง เหตุต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ จริง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ที่ 1 มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90, 91, 300 ประกาศ ของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21พฤศจิกายน 2514 ข้อ 2 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา39 วรรคสอง, 43(4), 78, 151, 157, 160 วรรคสอง, 162 ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ลงโทษ จำคุก 1 ปี ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ให้ ลงโทษ ตาม มาตรา 43(4) ประกอบกับ มาตรา 157 ซึ่ง เป็น บทหนัก ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90ปรับ 1,000 บาท ความผิด ตาม มาตรา 78 ประกอบ ด้วย มาตรา 160 วรรคสองจำคุก 2 เดือน รวม จำคุก 1 ปี 2 เดือน ปรับ 1,000 บาท กับ ให้ พักใช้ ใบ อนุญาต ขับขี่ รถยนต์ ตาม มาตรา 162 มี กำหนด 1 ปี ส่วน จำเลยที่ 2 มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 39วรรคสอง, 43(4), 151, 157 ให้ ลงโทษ ตาม มาตรา 43(4), 157 ซึ่ง เป็นบทหนัก ตาม ประมวลกฎหมายอาญา (มาตรา 90) ปรับ 1,000 บาท
จำเลย ทั้งสอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย ที่ 1 มี ความผิด ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 39 วรรคสอง, 43(3) ให้ ลงโทษตาม มาตรา 43(4) ประกอบ กับ มาตรา 157 ซึ่ง เป็น บทหนัก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ปรับ 1,000 บาท ผิด ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78 ลงโทษ ตาม มาตรา 160ปรับ 2,000 บาท รวม ปรับ 3,000 บาท คำขอ และ ข้อหา อื่น นอกจาก นี้ให้ ยก
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ‘พิเคราะห์ แล้ว ข้อหา ใน ความผิด ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก ซึ่ง ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ พิพากษาลงโทษ จำเลย ทั้งสอง จำเลย ทั้งสอง มิได้ ฎีกา จึง เป็น อัน ยุติคง มี ปัญหา ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่า จำเลย ที่1 มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 หรือไม่’ ข้อเท็จจริงฟัง ได้ ว่า วัน เวลา เกิดเหตุ จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์ บรรทุก 10 ล้อบรรทุก ทราย ไป ตาม ถนน สาย ปทุมธานี-กรุงเทพมหานคร โฉมหน้า ไปทาง กรุงเทพมหานคร จำเลย ที่ 2 ขับ รถยนต์ เก๋ง ไป ตาม ถนน สายเดียวกันโฉมหน้า ไป ทาง จังหวัด ปทุมธานี สวนทาง กับ รถยนต์ บรรทุก ที่จำเลย ที่ 1 ขับ แล้ว เกิดเหตุ ชนกัน บริเวณ หน้าปั๊ม น้ำมัน เชลล์ตำบล บ้านฉวาง อำเภอเมือง ปทุมธานี จังหวัด ปทุมธานี ชนกัน แล้วรถยนต์ บรรทุก พลิก ตะแคง อยู่ ข้างถนน ด้านซ้ายมือ ส่วน รถยนต์ เก๋งหมุน กลับ หัวรถ ไป ทาง กรุงเทพมหานคร และ จอด อยู่ ใน ทาง เดินรถของ รถยนต์ บรรทุก จำเลย ที่ 2 ผู้ขับ รถยนต์ เก๋ง ได้รับ บาดเจ็บ สาหัส เหตุ ที่ รถ ชนกัน จำเลย ที่ 1 นำสืบ ว่า ก่อน เกิดเหตุ จำเลย ที่2 ขับ รถยนต์ เก๋ง ด้วย ความ เร็ว และ รถ แล่น ตก ไป ที่ ไหล่ถนนจึง แฉลบ ไป ทาง ขวา พุ่ง เข้าชน รถยนต์ บรรทุก ที่ จำเลย ที่ 1 ขับโดย หน้า รถยนต์เก๋ง ด้าน ซ้าย ชน ด้านหน้า รถยนต์ บรรทุก แล้ว รถยนต์เก๋ง หมุ่นกลับหัว รถ ไป ทาง กรุงเทพมหานคร และ จอด อยู่ ใน ทางเดินรถ ของ รถยนต์บรรทุก ซึ่ง ข้อนี้ โจทก์ ไม่ มี พยาน รู้เห็นขณะ เกิดเหตุ รถชน กัน มา สืบ แต่ ข้อเท็จจริง ได้ความ จาก คำเบิกความของ ร้อยตำรวจเอก บรรจง จะบัง พยานโจทก์ ว่า หลัง เกิดเหตุ พยาน ได้ไป ตรวจ สถานที่ เกิดเหตุ แล้ว ได้ ทำ แผนที่ เกิดเหตุ บันทึก การตรวจสอบ สถานที่ เกิดเหตุ และ ถ่าย ภาพ รถยนต์ ทั้งสอง คัน ไว้ ถนนที่ เกิดเหตุ กว้าง 5.50 เมตร จุด ที่ รถชน กัน อยู่ ห่าง จาก ขอบถนนด้าน ทิศ ตะวันออก ประมาณ 2.35 เมตร จุด ชน ดังกล่าว สันนิษฐาน ได้จาก เศษกระจก และ พวก น้ำมันเครื่อง ซึ่ง ตก อยู่ จำนวนมาก ตรง จุดที่ สันนิษฐาน นั้น จุด ที่ รถชน กัน นี้ ได้ แสดง ไว้ ใน แผนที่สังเขป แสดง สถานที่ เกิดเหตุ เอสาร หมาย จ.3 ซึ่ง จำเลย ทั้งสอง ได้ลงชื่อ รับรอง ไว้ ว่า พนักงานสอบสวน ได้ จัดทำ ขึ้น ถูกต้อง ตรงกับความ เป็นจริง ทุกประการ จึง ฟัง ได้ ว่า ข้อเท็จจริง เป็น เช่นนั้นถนน ที่เกิดเหตุ กว้าง 5.50 เมตร จุดกึ่งกลาง ถนน จึง อยู่ ห่างขอบถนน 2.75 เมตร จุด ที่ รถ ชนกัน อยู่ ห่าง ขอบถนน ด้าน ทิศตะวันออกประมาณ 2.35 เมตร จึง อยู่ ห่าง จุด กึ่งกลาง ถนน ประมาณ 40 เซนติเมตรและ อยู่ ใน ทาง เดินรถ ของ รถยนต์ บรรทุก จำเลย ที่ 1 ขับ เมื่อพิเคราะห์ สภาพ ความเสียหาย ของ รถยนต์ เก๋ง ที่ จำเลย ที่ 2 ขับซึ่ง เสียหาย มาก ที่ ด้านหน้า รถ ด้านซ้าย ส่วน รถยนต์ บรรทุก ที่จำเลย ที่ 1 ขับ เสียหาย ที่ ด้านหน้า รถ ด้านขวา ประกอบ กับ จุด ที่รถ ชนกัน ซึ่ง อยู่ใน ทาง เดินรถ ของ รถยนต์ บรรทุก ที่ จำเลย ที่1 ขับ แล้ว น่าเชื่อ ดัง จำเลย ที่ 1 นำสืบ ว่า รถยนต์เก๋ง ที่ จำเลยที่ 1 ขับ แฉลบ จาก ด้านซ้าย ไป ทาง ด้านขวา เข้า ไป ใน ทาง เดิน รถของ รถยนต์ บรรทุก ที่ จำเลย ที่ 1 ขับ จึง เกิด ชนกัน แล้ว รถยนต์เก๋งหมุน ไป ทาง ขวา หัวรถ หันกลับ ไป ใน ทาง ตรงกันข้าม และ จอดอยู่ใน ทาง เดินรถ ของ รถยนต์ บรรทุก หาก รถยนต์ บรรทุก ที่ จำเลย ที่ 1ขับ แซง รถยนต์ บรรทุก คันอื่น กินทาง เข้าไป ใน ทาง เดินรถ ของรถยนต์เก๋ง ที่ จำเลย ที่ 2 ขับ และ ชนกับ รถยนต์ เก๋ง ที่ จำเลย ที่2 ขับ ใน ทาง เดินรถ ของ รถยนต์ เก๋ง ดัง จำเลย ที่ 2 นำสืบ แล้วรถยนต์ เก๋ง จะ ต้อง เสียหาย มาก ทาง ด้านหน้า ขวา และ จะ ต้อง ตก ถนนไป ทาง ด้านซ้าย ไม่น่า จะ หัน หัวกลับ ไป ทาง ขวา และ ไป จอด ในทางเดิน รถยนต์ บรรทุก ซึ่ง อยู่ ทาง ด้านขวา ข้อเท็จจริง ฟัง ได้ ว่าจำเลย ที่ 2 ขับ รถยนต์ เก๋ง กินทาง เข้าไป ใน ทางเดิน รถ ของ รถยนต์บรรทุก ที่ จำเลย ที่ 1 ขับ จึง เกิดเหตุ ชนกัน เมื่อ ข้อเท็จจริงฟัง ได้ เช่นนี้ จึง เห็นว่า แม้ จำเลย ที่ 1 จะ ขับรถ ด้วย ความ เร็วแต่ ก็ อยู่ ใน ทาง เดินรถ ของ จำเลย ที่ 1 หาก จำเลย ที่ 2 ไม่ ขับ รถกินทาง เข้าไป ใน ทาง เดินรถ ของ จำเลย ที่ 1 ก็ จะ ไม่ เกิดเหตุ รถชนกัน ดังนั้น ที่ รถยนต์ ชนกัน เป็น เหตุ ให้ จำเลย ที่ 2 ได้ รับบาดเจ็บ สาหัส จึง เกิดจาก การ กระทำ โดย ประมาท ของ จำเลย ที่ 2 เองมิใช่ เกิดจาก การ กระทำ โดย ประมาท ของ จำเลย ที่ 1 ที่ โจทก์ ฎีาอ้างว่า เกิดเหตุ แล้ว จำเลย ที่ 1 หลบหนี ไม่ ให้ ความ ช่วยเหลือตาม สมควร แก่ จำเลย ที่ 2 ไม่ แสดงตัว และ แจ้งเหตุ ต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ ใกล้เคียง ทันที ซึ่ง กฎหมาย ให้ สันนิษฐาน ว่า จำเลย ที่1 กระทำ ผิด นั้น เห็นว่า เป็น เพียง ข้อสันนิษฐาน ใน เบื้องต้น เมื่อใน ทาง พิจารณา ข้อเท็จจริง ฟังได้ว่า จำเลย ที่ 1 ไม่ ได้ กระทำผิดก็ จะ นำ ข้อสันนิษฐาน มา รับ ฟัง ลงโทษ หา ได้ ไม่’
พิพากษายืน

Share