คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2506

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

การแบ่งส่วนเจ้าของรวมต้องเป็นไปตามส่วนที่ตนเป็นเจ้าของ ซึ่งแล้วแต่ข้อเท็จจริงว่าตนมีสิทธิเพียงใด การที่ยกเอาข้อสันนิษฐานตามมาตรา 1157 มาแบ่งเท่ากันในเมื่อปรากฎสิทธิของเจ้าของรวมอยู่ชัดแจ้งแล้วนั้นจึงไม่ถูกต้อง
บุคคล 5 คน มีชื่อในโฉนดร่วมกันโดยไม่ระบุว่าผู้ใดมีสิทธิเท่าใด หากข้อเท็จจริงที่นำสืบปรากฎชัดว่า ได้มีชื่อในโฉนดร่วมกันนั้นเพราะได้รับโอนมรดกและสิทธิในการรับมรดกของแต่ละคนก็ปรากฎชัดตามทางนำสืบด้วแล้ว ดังนี้ จะยกข้อสันนิษฐานมาให้แบ่ง 5 ส่วนได้คนละเท่ากัน ตามมาตรา 13+7 ไม่ได้

ย่อยาว

คดีนี้โจทก์ฟ้องมีใจความสำคัญดังนี้ ที่ดินมีโฉนด ๒ แปลง เนื้อที่ ๒๗ ไร่ ๑ งาน ๑๖ วา เดิมเป็นของนายหับนางเปลี่ยนนายหับนางเปลี่ยนวายชนม์ นายผลนางทิมนางคล้อยนางเหงี่ยม และนางหงวน โจทก์ที่ ๑ เป็นผู้รับมรดก นายผลวายชนม์ จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๔ เป็นผู้รับมรดก นางทิมขายส่วนของตนให้จำเลยที่ ๕ นางคล้อยวายชนม์ ส่วนของนายคล้อยตกได้แก่โจทก์ที่ ๑ และโจทก์ที่ ๒ นางเหลี่ยมวายชนม์ที่ตกได้แก่โจทก์ที่ ๒ต่อมาได้มีการแก่ทะเบียนในโฉนดเป็นชื่อโจทก์จำเลยทุกคน แต่ยังไม่ได้แบ่งกันเป็นส่วนสัดตามส่วนที่ได้รับมรดกมา ซึ่งโจทก์ทั้งสองคนจะได้คนละ ๒๐ ไร่ ๖๔ วาเศษ โจทก์ขอให้จำเลยแบ่งจำเลยไม่ยอมแบ่งตามที่โจทก์จะได้จะแบ่งเท่า ๆ กันหมด จึงไม่ตกลงกัน ขอให้ศาลแบ่งให้โจทก์คนละ ๒๓ ไร่ ๖๔ วา ถ้าแบ่งไม่ได้ให้ขาย นำเงินมาแบ่งกันตามส่วน
จำเลยทั้ง ๕ ให้การว่า เจ้ามรดกที่ให้นายผล นางทิม ทางทิศใต้ ยกให้นางเหงี่ยม นางคล้อย และนางหงวนทางทิศเหนือ เนื้อที่ ๑๕ ไร่เศษเท่านั้น ต่างครอบครองส่วนของตนมา เมื่อนางเหงี่ยมนางคล้อยวายชนม์ โจทก์ได้รับส่วนนางเหงี่ยมนางคล้อยและปกครองที่ดินเท่าเดิม โจทก์จึงควรได้เท่าที่ครอบครองอยู่ เนื้อที่ประมาณ ๑๕ ไร่เศษ
ศาลชั้นต้นเห็นว่า เมื่อนายหับนางเปลี่ยนวายชนม์ นายผลนางทิมนางคล้อย นางเหงี่ยม และนางหงวนมีชื่อในโฉนดร่วมกันไม่ทราบว่าของใครได้ส่วนเท่าใด จึงเข้าข้อสันนิษฐานประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๓๕๗ จึงมีส่วนเท่ากันในที่พิพาท เมื่อโจทก์จำเลยเป็นทายาท รับมรดกต่อมา โจทก์ทั้งสองจึงได้ ๓ ใน ๕ ส่วนของที่ทั้งสองแปลง พิพากษาให้แบ่งที่ ๒แปลงไปตามนั้น
จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แต่ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์นายหนึ่งมีความเห็นแย้งว่า ข้อเท็จจริงได้ความชัดว่า นายหับนางเปลี่ยนมีทายาท ๓ คน คือนายผล นายทิม และนางกรีม นางกรีมตายมีบุตร ๓ คน คือนางเหงี่ยม นางหงวน และนางคล้อย ทั้ง ๓ คนนี้ เป็นผู้รับมรดกแทนที่นางกรีม สิทธิในการรับมรดกปรากฎชัดแล้วเป็นการลบล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ได้เพียงพอแล้ว มรดกในชั้นนี้ต้องแบ่งเป็น ๓ ส่วน ได้แก่นายผลนางพิม ทายาท ชั้นบุตรคนละ ๑ ส่วน ได้แก่นางเหงี่ยม นางคล้อย และนางหงวน ผู้รับมรดกแทนที่นางกรีม อีก ๑ ส่วน ต่อจากนั้น จึงแบ่งไปตามส่วนที่ปรากฎตามโฉนดโดยลำดับ
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า ที่ดินมรดกนี้ยังไม่มีการแบ่ง คงครอบครองร่วมกันมา การแบ่งส่วนเจ้าของรวมต้องแย่งไปตามส่วนที่ตนเป็นเจ้าของ ซึ่งแล้วแต่ข้อเท็จจริง ที่ศาลอุทธรณ์ยกข้อสันนิษฐานตามมาตรา ๑๓๕๗ มาแบ่งเท่ากันในเมื่อปรากฎสิทธิรับมรดกตามกฎหมายอยู่ชัดแจ้ง แล้ว หาถูกต้องไม่ ศาลฎีกาเห็นยอมตามความเห็นแย้ง
พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ (ไปตามความเห็นแย้ง)

Share