คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2491

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ในกฎหมายลักษณะผัวเมีย ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่า เมื่อชายไม่พอใจหญิงก็ทิ้งหญิงได้ โดยหญิงไม่ต้องยินยอม และขาดจาการเป็นสามีภรรยากันได้ การที่สามีไม่พอใจภรรยาแล้วเขียนหนังสือเก็บไว้ และไม่ไปมาหาสู่ภริยา ไม่ว่าจะเขียนหนังสือนั้น และเลิกติดต่อกับภริยาเมื่อใดก็ตาม ไม่ทำให้ขาดจากการเป็นสามีภริยากันได้
ในคดีแพ่ง ถ้าจำเลยประสงค์จะต่อสู้ในข้อใด จำเลยจะต้องกล่าวในคำให้การโดยชัดแจ้งพร้อมทั้งเหตุตาม ป.ม.วิ.แพ่ง ม. 177 วรรค 2
เมื่อศาลฟังว่าภริยามีสินเดิม ศาลก็พิพากษาให้ส่วนแบ่งในสินสมรสได้ ไม่มี ก.ม.จำกัดว่าแม้จะมีสินเดิม ก็ต้องอยู่ร่วมบ้านด้วย จึงจะได้ส่วนแบ่งในสินสมรส
การแบ่งทรัพย์ระหว่างสามีภริยา จะต้องหักสินสมรสใช้สินเดิมก็ต่อเมื่อปรากฏว่าสินเดิมสูญไปแล้ว
แม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องว่า สินเดิมของจำเลยไม่ปรากฏ แต่โจทก์ก็ตั้งรูปฟ้องมาในทางหาว่าจำเลยมีส่วนแบ่งในสินสมรสด้วย ฉะนั้นในการที่ศาลจะคำนวนส่วนแบ่งใน+อันโจทก์ซึ่งเป็นภรรยา+ได้รับ ศาลก็จำต้องคำนวณโดยถือว่าจำเลยมีส่วนแบ่งในสินสมรสด้วย

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์กับนายบุญมา(หรือพิชัย วัธนสักขี) เป็นสามีภริยา โดยโจทก์มีสินเดิม ๆ นายบุญมาไม่ปรากฏ นางอ่อง นางกุหลาย จำเลยเป็นอนุภริยาของนายพิชัย นางอ่องจำเลยมีสินเดิม แต่สินเดิมนางกุหลาบไม่ปรากฏ นายพิชัยถึงแก่ความตายแล้ว มีโจทก์จำเลยเป็นทายาท จำเลยเป็นฝ่ายยึดถือพินัยกรรมและทรัพย์ไว้ไม่ยอมแบ่งปันให้โจทก์ จึงขอให้จำเลยส่งทรัพย์เหล่านี้มาแบ่งปันให้แก่โจทก์ในฐานะภริยาหลวง จำเลยที่ ๑ ต่อสู้ว่าโจทก์ได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากับนายพิชัยตั้งแต่ก่อนนายพิชัยตาย มา ๑๐ ปี แล้ว โจทก์ลักลอบได้กับนายพิชัย ไม่ได้อยู่ร่วมเรือนและไม่ได้ถูกยกย่องเชิดชูว่าเป็นภริยา นายพิชัยยกย่องนางอ่องจำเลยว่าเป็นภริยาหลวง จำเลยที่ ๒ ให้การว่า โจทก์ไม่ใช่ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายพิชัย หากว่าจะถือว่าเป็นก็ได้ เลิกร้างหย่าขาดกันไปนานกว่า ๑๐ ปีแล้ว สินเดิมของโจทก์ไม่มี
ศาลชั้นต้นฟังว่า ขณะนายพิชัยตาย นายพิชัยกับโจทก์ยังเป็นสามีภริยากันอยู่ พิพากษาให้แบ่งทรัพย์แก่โจทก์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
นางอ่อง จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
(๑) ตาม ก.ม.ลักษณะผัวเมีย ชายหญิงที่เป็นสามีภริยาจะขาดจากการเป็นสามีภริยากันได้ ก็แต่โดยการตายจากกัน การหย่าขาดตามพิธีที่ ก.ม.กำหนดไว้ หรือมีพฤตติการณ์ต้องตามที่กฎหมายบัญญัติกำหนดไว้ แต่สำหรับกรณีหลังนี้ ต้องเป็นกรณีต้องตามที่บัญญัติไว้นั้น จึงจะขาดจากเป็นสามีภริยากัน หามีกฎหมายใดบัญญัติว่า เมื่อชายไม่พอใจหญิงก็ทิ้งหญิงได้ โดยหญิงไม่ต้องยินยอม และขาดจากการเป็นสามีภริยากันได้เสมอ ดังจำเลยอ้างไม่ การกระทำของนายพิชัย ที่เขียนหนังสือเก็บไว้ และไม่ไปมาหาสู่โจทก์ ไม่ว่าจะเขียนหนังสือนั้น และเลิกติดต่อกับโจทก์เมื่อใดก็ตาม ไม่ทำให้ขาดจาการเป็นสามีภริยากับโจทก์
(๒) นางอ่องจำเลยฎีกาว่า พฤตติการณ์ที่โจทก์กับนายพิชัยต่างคน+ลักษณะเมียร้าง ซึ่งตามกฎหมายโจทก์ไม่มีสิทธิจะได้สมรสในทรัพย์ที่นายพิชัย+ระหว่างนั้น ศาลฎีกาได้ตรวจคำให้การต่อสู้คดีของจำเลยแล้ว จำเลยไม่ได้ยก+เป็นภริยาร้างขึ้นต่อสู้เลย ซึ่งถ้าจำเลยประสงค์จะต่อสู้ในข้อนี้ จำเลยชอบที่จะ+แจ้ง พร้อมทั้งเหตุ ดังที่ ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา ๑๗๗ วรรค ๒ กำหนดไว้
(๓) ในเรื่องสินเดิมของโจทก์ ศาลแพ่งฟังว่า เมื่อโจทก์ได้กับนาย+มีกรรมสิทธิในที่ดินและเรือนที่อยู่ นายพิชัยได้ไปอยู่กับโจทก์ที่เรือนนี้ ทั้งได้เคย+ครัวที่บ้านนี้ด้วย ย่อมถือว่าโจทก์มีสินเดิม เมื่อศาลฟังว่าโจทก์มีสินเดิม การ+ษาให้ส่วนแบ่งในสมรส จึงเป็นการถูกต้อง ไม่มีกฎหมายจำกัดว่า แม้จะมีสินเดิม+บ้านด้วย จึงจะได้ส่วนแบ่งในสินสมรส
(๔) ฟ้องโจทก์กล่าวว่า นางอ่องมีสินเดิม ๓๕๐ บาทจริง แต่ที่โจทก์ฟ้อง+แบ่งสินสมรส หาได้พาดพิงไปถึงสินเดิมของจำเลยไม่ การแบ่งทรัพย์ระหว่าง+จะต้องหักสินสมรสใช้สินเดิมต่อเมื่อปรากฏว่าสินเดิมสูญไปแล้ว คดีเรื่องนี้หา+นั้นไม่
(๕) แม้ในคำฟ้องกล่าวว่า สินเดิมของนางกุหลาบจำเลย ไม่+โจทก์ก็ตั้งรูปฟ้องมาในทางว่า นางกุหลาบมีส่วนแบ่งในสินสมรสด้วย ฉะนั้นการที่ศาล+แบ่งอันโจทก์จะได้รับ ศาลก็จำต้องคำนวนโดย+กุหลาบจำเลยมีส่วนแบ่งในสินสมรสด้วย แต่ที่ศาลแพ่งพิพากษา ศาลแพ่งเป็นแต่+ส่วนของนางกุหลาบไว้ เพื่อจะให้รู้ส่วนของโจทก์ และพิพากษาให้โจทก์ได้
พิพากษายืน

Share