คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1188/2480

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ลูกหนี้ทำหนังสือขึ้นฉะบับหนึ่งมีใจความว่าขอยกทรัพย์สินทั้งสิ้นที่มีอยู่หรือจะมีขึ้นในภายน่าให้เจ้าหนี้ โดยขอให้เจ้าหนี้ยกหนี้ให้แก่ตนดังนี้ หังสือฉะบับนี้ไม่ใช่พินัยกรรมเป็นหนังสือยกทรัพย์ให้เพื่อปลดหนี้
ประมววิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 179 การเรียกชื่อเอกสารที่ส่งศาลผิดไป เช่นเรียกว่าหนังสือพินัยกรรมเป็นว่าหนังสือยกทรัพย์ให้หรือเรียกหนังสือยกทรัพย์ให้เป็นพินัยกรรมนั้น ขอแก้คำเรียกเช่นนั้นได้เสมอ

ย่อยาว

เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยเรียกเงินซึ่งสามีจำเลยกู้ไปจากโจทก์ ศาลพิพากษาให้จำเลยใช้เงินแล้ว โจทก์จึงนำขึดที่ดินบ้านเรือนตำบลปทุมวัน ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขัดทรัพย์
ทาพิจารณาได้ความว่าเดิมสามีจำเลยกู้เงินไปจากพระคลังข้างที่ ๔๐,๐๐๐ บาท ในปีเดียวกันนั้นเองสามีจำเลยได้ทำหนังสือลงวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๕๘ มีความว่ายกที่ดิน ๓ โฉนดที่นา ๒ โฉนดกับทรัพย์สิ่งของที่มีอยู่หรือที่จะหาได้ต่อไปถวายรัชกาลที่ ๖ และขอยกเลิกเงินกู้ ๔๐๐๐๐ บาท รัชกาล ที่ ๖ มีพระบรมราชโองการให้เป็นไปตามความประสงค์ของสามีจำเลยแล้ว ในปี พ.ศ. ๒๔๖๑ สามีจำเลยได้รับพระราชทานที่รายพิพาท แต่ยังมิได้ทำการโอนโฉนดและได้ทรงพระกรุณา ฯ ให้พระคลังข้างที่จัดการปลูกสร้างบ้านเรือนให้สามีจำเลยแทนเงิน ๘๐๐๐๐ บาท ที่ขอพระราชทาน รัชกาลที่ ๖ สวรรคตในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ และในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ สามีจำเลยได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้จำเลย ครั้น ปี พ.ศ. ๒๔๗๐ สามีจำเลยขอโอนโฉนดที่รายพิพาทต่อหอทะเบียนที่ดิน ๆ สอบถามพระคลังข้างที่ รัชกาลที่ ๗ มีลายพระราชหัตถ์ว่าสามีจำเลยได้ทำหนังสือมอบทรัพย์ให้รัชกาลที่ ๖ ทั้งสิ้นแล้ว ที่ดินรายนี้เป็นทรัพย์หาได้ใหม่ซึ่งนับว่ามอบให้พระคลังข้างที่แล้ว จึงไม่อนุญาตเป็นเพียงให้อาศัยอยู่ตลอดชีวิต ใน พ.ศ. ๒๔๗๑ สามีจำเลยทำฎีกาขอพระราชทานเงิน ๘๐๐๐๐ บาท ค่าปลูกสร้างบ้านเรือนในที่รายพิพาทแต่รัชกาลที่ ๗ มีพระบรมราชวินิจฉัยว่าที่ขอนั้นผิดจากความตกลงที่ทำไว้กับรัชกาลที่ ๖ ให้ยกฎีกาเสีย สามีจำเลยถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ต่อมาที่ปรึกษากฎหมายของพระคลังข้างที่มีจดหมายแจ้งให้จำเลยส่งมองทรัพย์รายนี้อ้างว่าสามีจำเลยได้ถวายที่รายนี้ให้รัชกาลที่ ๖ แล้วจำเลยตอบว่ารอให้เผาสามีจำเลยเสียก่อน แต่แล้วในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ เจ้าพนักงานของพระคลังข้างที่ ๓ นายได้ไปตรวจรับมอบทรัพย์รายพิพาทจากจำเลย ต่อมจากนั้นโจทก์จึงนำยึดที่ดินบ้านเรือนรายนี้ผู้ร้องจึงคัดค้าน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ถอนการยึดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรายพิพาทแต่ให้ผู้ร้องใช้ค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นเพราะสามีจำเลยปลูกสร้างให้จำเลยซึ่งโจทก์ก็มีสิทธิเอาชำระหนี้ได้
ศาลอุทธรณ์แก้ให้ยกคำบังคับที่ให้ผู้ร้องใช้ค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นนั้นเสีย นอกนั้นพิพากษายืน
โจทก์จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาตัดสินว่า การที่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องกล่าวว่าเอกสารลงวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๕๘ เป็นหนังสือพินัยกรรม์และต่อมาได้แถลงว่า ความจริงไม่ใช่พินัยกรรมอันถูกต้องด้วยกฎหมาย ผู้ร้องถือว่าเป็นหนังสือมอบทรัพย์ โจทก์ ค้านว่าการขอแก้ของผู้ร้องเป็นการผิดวิธีพิจารณานั้น เห็นว่าตัวหนังสือที่ว่าเป็นพินัยกรรม์หรือเป็นหนังสือมอบทรัพย์นั้นมีอยู่แล้ว ไม่มีปัญหาอย่างไรและเห็นต่อไปว่า เอกสารฉะบับนี้ไม่ใช่หนังสือพินัยกรรม์เป็นหนังสือมอบทรัพย์เพื่อปลดหนี้เท่านั้น อนึ่งเมื่อได้วินิจฉัยเอกสารทั้งหมดประกอบกันแล้ว เห็นว่าสามีจำเลยได้ยอมมองทรัพย์รายพิพาทถวายพระเจ้าอยู่หัวแล้ว พระบรมราชวินิจฉัยของรัชกาลที่ ๗ ลองฉบับนั้น เป็นพระบรมราชวินิจฉัยโดยเด็ดขาด ตัดสิทธิจำเลยที่จะเรียกค่าเพิ่มที่ดินนั้นด้วย จดหมายของจำเลยเองที่มีตอบที่ปรึกษากฎหมายของพระคลังข้างที่ก็ดี ฎีกาของสามีจำเลยที่ยื่นถวายรัชกาลที่ ๗ ก็ดี แสดงชัดเจนว่าจำเลยและสามีทราบแล้วว่าทรัพย์สินทั้งสิ้นของสามีตกแก่พระคลังข้างที่แล้วส่วนฎีกาของโจทก์ที่ศาลล่างใช้ดุลยพินิจถูกต้องแล้ว โดยพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์

Share