คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1174/2477

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

พินัยกรรม์ +390 นั้นใช้บังคับผู้ได้รับมฤดกของผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ได้+หุ้นส่วนคน 1 ตายห้าง+ส่วนก็เป็นอันเลิก ส่วนข้อสัญญาว่าให้ผู้รับมฤดกเป็นหุ้นส่วนต่อไปนั้น เมื่อไม่มีพินัยกรรม์ผูกมัดผู้รับมฤดกตามสัญญานั้นแล้ว ผู้รับมฤดกไม่+เป็นต้องเข้าสวมสิทธิของผู้ตาย การขอเลิกหุ้นส่วนในกรณีผู้ถือหุ้นคนใดคนหนึ่งตายแม้จำเป็นต้องบอกล่วงน่าตามมาตรา 1056 การฟ้องขอเลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชีนั้นฟ้องผู้จัดการหุ้นส่วนคนเดียวก็ได้ ไม่ต้องให้หุ้นส่วนทุกคนเข้าเป็นคู่ความ

ย่อยาว

ได้ความว่าโจทก์ที่ 1-2 กับบิดาโจทก์ที่ 3 และสามีโจทก์ที่ 4 เข้าหุ้นส่วนกับจำเลยทำการค้าขายตั้งโรงสีไฟ แต่ไม่ได้จดทะเบียน ในสัญญาเข้าหุ้นส่วนมีว่าถ้าหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดตาย ผู้รับมฤดกเป็นผู้ถือหุ้นต่อไป ต่อมาบิดาโจทก์ที่ 3 และสามีโจทก์ที่ 4 ตาย โจทก์ที่ 3 ไม่ยอมเป็นหุ้นส่วนต่อไป โจทก์จึงฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการหุ้นส่วน ขอให้ศาลสั่งเลิกหุ้นส่วนและตั้งผู้ชำระบัญชี
ศาลอุทธรณ์ตัดสิน(ครั้งที่ 2)ยืนตามศาลเดิมซึ่งให้เลิกหุ้นส่วนและให้โจทก์จำเลยตกลงกันเลือกผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีแล้วมาเสนอต่อศาล และเห็นว่าที่ผู้พิพากษาศาลเดิมที่พิจารณาพิพากษาในชั้นหลังนี้เป็นคนละคณะกับชั้นแรกนั้นไม่เป็นสาระสำคัญ
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การที่จำเลยคัดค้านว่าโจทก์ 4 คนนี้ไม่มีส่วนได้เสีย ไม่มีอำนาจเข้าชื่อเป็นโจทก์นั้นไม่ชอบ เพราะโจทก์บางคนเป็นผู้ถือหุ้น บางคนเป็นผู้รับมฤดกหุ้นจะเรียกว่าไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียนั้นไม่ได้ และจะเอา ม.390 แห่งป.พ.พ.ม.มาใช้บังคับคดีนี้ไม่ได้ เพราะโจทก์บางคนไม่ได้เป็นคู่สัญญากับใคร เมื่อโจทก์ที่ 3 ได้รับหุ้นเป็นมฤดกและไม่ประสงค์เป็นหุ้นส่วนต่อไป โจทก์ที่ 3 จึงมีสิทธิขอให้เลิกหุ้นส่วนได้ และเมื่อปรากฎว่าจำเลยเป็นผู้จัดการโจทก์ย่อมฟ้องจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง ร.ศ.127 ม.23 และการฟ้องนี้ก็เป็นการระวางกันเอง ไม่ใช่พวกถือหุ้นฟ้องคนที่ 3 อนึ่งการที่จำเลยอ้างสัญญาเข้าหุ้นส่วนข้อ 8 มาสนับสนุนดีว่า เมื่อหุ้นส่วนคนใดตาย ผู้รับมฤดกได้รับแชร์ต่อไปนั้นเห็นว่าสัญญาข้อนี้ไม่ผูกพันผู้รับมฤดก ทั้งไม่มีผู้ใดอ้างว่าพินัยกรรมผูกมัดผู้รับมฤดกและคดีเรื่องนี้เป็นกรณีที่ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งตายการขอเลิกจึงไม่ต้องบอกล่วงหน้า ดุจห้างหุ้นส่วนที่ตั้งขึ้นโดยไม่มีกำหนดกาลตามมาตรา 1056 ทั้งการขอเลิกนี้เป็นการขอเลิกตามมาตรา 1055 ซึ่งเป็นบทบังคับว่าห้างหุ้นส่วนต้องเลิกจากกันและโจทก์ที่ 3 ก็เป็นคนภายนอก ไม่ใช่ผู้ถือหุ้นจะเอาข้อสัญญาที่ว่าเมื่อผู้ถือหุ้นทุกคนพร้อมกันเลิกหรือต้องมีผู้ถือหุ้น 2 ใน 3 จึงจะขอเลิกได้มาบังคับไม่ได้จึงพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์

Share