คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2541

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ที่ดินพิพาทเดิมบิดาและ ป.มารดาของ ส.ได้จับจองไว้ ต่อมาส.นำที่ดินดังกล่าวไปออกโฉนดแทนในนามของ ส. ที่ดินตามโฉนดดังกล่าวจึงยังเป็นของบิดามารดาของ ส. ต่อมา ส.จดทะเบียนแบ่งที่ดินดังกล่าวให้แก่ ป.และพี่น้อง กับแบ่งขายให้แก่ผู้คัดค้านและ ว.ด้วย เนื่องจาก ส.ต้องการแบ่งที่ดินให้ป.เป็นจำนวน 5 ไร่ แต่ปรากฏว่าที่ดินที่จดทะเบียนแบ่งให้ ป.นั้น มีเนื้อที่ 4 ไร่เศษ ส.จึงยกที่ดินส่วนที่พิพาทเนื้อที่ประมาณ 3 งาน ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินแปลงที่ยกให้อีกประมาณ 3 งาน โดยมิได้มีการโอนทางทะเบียน ซึ่ง ป.ก็ได้ปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินส่วนที่ ส.ยกเพิ่มให้นี้ การที่ ส.ขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้าน โดยผู้คัดค้านทราบอยู่แล้วว่ามีบ้านปลูกอยู่และมี ป.มารดาของ ส.อาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้น กับทราบดีว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ป.ซึ่งยังคงครอบครองอยู่ จึงเป็นการรับโอนมาโดยไม่สุจริต ผู้คัดค้านจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคสอง

Share