คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1107/2499

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ยืนตาม ก.ม.นั้นต้องเกิดขึ้นโดยสัญญา
โดยหน้าที่ราชการจำเลยที่ 1 ได้ยืมเงินทดลองไปจากกองคลังกรมไปรษณีย์เพื่อจ่ายในราชการอธิบดีรับรองข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ควรมอบให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหัวหน้าหมวดบัญชีเป็นผู้มีหน้าที่รักษาเงิน
ดังนี้ใบยืมที่จำเลยที่ 1 เซ็นไว้จึงเป็นแต่เพียงหลักฐานในวงราชการ การที่จำเลยที่ 1 ต้องเซ็นใบยิมก็เพื่อปฏิบัติหน้าที่อันเป็นเรื่องของระเบียบปฏิบัติราชการ เพียงเท่านี้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดในฐานผู้ยืมหรือตัวการ

ย่อยาว

เดิมโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดใช้เงิน ๔ ประเภท ศาลแพ่ง พิพากษาให้จำเลยที่ ๑ รับผิดเฉพาะเงินประเภทที่ ๑ และให้จำเลยที่ ๒ ใช้เงินประเภท ๒,๓,๔ แก่โจทก์ โจทก์และจำเลยที่ ๒ มิได้อุทธรณ์ คงพิพาทกันต่อมาจนถึงชั้นฎีกาเฉพาะจำเลยที่ ๑
โจทก์ฟ้องว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ ๑ รับราชการเป็นนายช่างกำกับการกองพัสดุกรมไปรษณีย์ มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน จำเลยที่ ๒ ทำหน้าที่บัญชีและได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ ๑ ให้เบิกจ่ายและเก็บรักษาเงิน
ระหว่างวันที่ ๑๒ เม.ย.๘๘ ถึงวันที่ ๒๓ พ.ย.๙๑ จำเลยเบิกเงินคลังประเภท ๑ มีอยู่ ๗ รายการ บางรายการจำเลยได้ส่งใบสำคัญการจ่ายเงินกองบัญชีเพื่อหักล้างบ้างแล้วแต่ไม่ครบ รวมทั้งสิ้นคงขาดอยู่ ๑๐๔๗๗ บ. ซึ่งจำเลยต้องร่วมกันชดใช้คืนแก่โจทก์ในฐานผู้ยืมจึงขอให้ศาลบังคับ
จำเลยที่ ๑ ต่อสู้ว่า เป็นนายช่างผู้กำกับการกองพัสดุ และโรงงาน ไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดกับเจ้าหน้าที่รอง ๆ ใต้บังคับบัญชาที่ไปก่อการทุจริต หรือบกพร่องในหน้าที่
จำเลยที่ ๒ ต่อสู้ว่าไม่ต้องรับผิดในการเบิกจ่ายและรักษาเงินตามที่จำเลยที่ ๑ จะต้องรับผิดเพราะมีหน้าที่ตรวจใบสำคัญเท่านั้น
ศาลแพ่งพิพากษาให้จำเลยที่ ๑ ใช้เงิน ๑๐๔๗๗บาท กับดอกเบี้ย ฯลฯ
จำเลยที่ ๑ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ ๑
โจทก์ฎีกายืนยันว่าจำเลยที่ ๑ เป็นผู้ยืม การที่จำเลยที่ ๑ มอบฉันทะให้จำเลยที่ ๒ รับเงินแทนเท่ากับว่าจำเลยที่ ๒ เป็นตัวแทนของจำเลยที่ ๑ ต้องรับผิดใช้เงินจำนวนนี้ให้โจทก์ตามที่จำเลยที่ ๒ ได้กระทำไป
ศาลฎีกาเห็นว่าการยืมตามกฎหมายนั้นจะต้องได้เกิดขึ้นโดยสัญญา แต่ข้อเท็จจริงแห่งคดีนี้ได้ความว่าจำเลยเป็นนายช่าง เมื่อจำเลยเป็นในราชการก็ขอเบิกเงินจากคลังมาก่อน ตามระเบียบเมื่อได้ใบสำคัญการจ่ายเงินแล้วจึงส่งไปหักล้างภายหลังซึ่งเป็นเรื่องการปฎิบัติราชการตามปกติ เมื่อจำเลยที่ ๑ เป็นหัวหน้างานก็ต้องเป็นประการใด ศาลล่างทั้งสองจึงนับโทษจำเลยติดต่อกันได้ พิพากยืน

Share