แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
ผู้ถูกกล่าวหาวางแผนและดำเนินการเปลี่ยนตัวจำเลยโดยติดต่อว่าจ้างว.ให้รับโทษจำคุกแทนจำเลยการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาดังกล่าวเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา31(1).(ที่มา-ส่งเสิรมฯ)
ย่อยาว
ศาลชั้นต้น พิพากษา จำคุก จำเลย 1 ปี ใน ความผิด ฐาน ขับ รถยนต์ โดยประมาท เป็น เหตุ ให้ ผู้อื่น ได้ รับ อันตราย สาหัส จำเลย อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ พิพากษา แก้ ให้ จำคุก จำเลย 8 เดือน ศาลชั้นต้น อ่านคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ เมื่อ วันที่ 5 เมษายน 2527 จากนั้น เจ้าหน้าที่ศาล มอบ จำเลย ให้ ตำรวจ ประจำศาล รับ ไป ควบคุม และ ใน วันเดียวกันนั้นเอง นายดาบตำรวจ อานันต์ พระหมรินทร์ ตำรวจ ประจำศาล รายงาน ต่อศาล ว่า ผู้ ที่ ตน รับ ตัว ไป ควบคุม สงสัย ว่า จะ ไม่ ใช่ จำเลยศาล จึง เรียก ผู้ต้อง สงสัย มา สอบถาม ผู้ต้อง สงสัย รับ ว่า ตน คือนาย วิโรจน์ ทิพย์โพธิ์ ไม่ ใช่ จำเลย
ศาลชั้นต้น ไต่สวน แล้ว ได้ ความ ว่า เมื่อ ศาลชั้นต้น นัด อ่านคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ผู้ ถูก กล่าวหา ซึ่ง เป็น ข้าราชการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ ธุรการ ระดับ 3 ประจำศาล จังหวัด แพร่ ทำ หน้าที่ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ หน้า บัลลังก์ ได้ ติดต่อ ว่าจ้าง นาย วิโรจน์ ให้ รับ โทษจำคุก แทน จำเลย หาก ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ลงโทษ และ ผู้ ถูก กล่าวหา เป็นผู้กำหนด วิธีการ เปลี่ยน ตัว จำเลย โดย ให้ นาย วิโรจน์ แต่งกายเหมือน จำเลย ไป นั่ง รอ อยู่ นอก ห้องพิจารณา เมื่อ จำเลย เดิน ออกจาก ห้อง พิจารณา หลังจาก ฟัง คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ แล้ว ให้ นายวิโรจน์ เข้า ไป สมทบ กับ พวก จำเลย เดิน ลง บันได ไป ชั้นล่าง แล้วให้ จำเลย เดิน ลง ไป จาก ศาล ส่วน นาย วิโรจน์ ให้ เดิน ไป เข้าห้องขัง ศาลชั้นต้น เห็นว่า การ กระทำ ของ ผู้ ถูก กล่าวหา ดังกล่าวเป็น การ ประพฤติตน ไม่ เรียบร้อย ใน บริเวณ ศาล มี คำสั่ง ว่า อาศัยอำนาจ ตาม ความ ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ให้ จำคุก ผู้ ถูก กล่าวหามี กำหนด 2 เดือน
ผู้ ถูก กล่าวหา อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
ผู้ ถูก กล่าวหา ฎีกา ขอ ให้ รอ การ ลงโทษ
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ‘ผู้ กล่าวหา เป็น เจ้าพนักงาน ศาล ทำ หน้าที่หัวหน้า เจ้าหน้าที่ หน้า บัลลังก์ มี หน้าที่ ปฏิบัติ ตาม ระเบียบของ ทางราชการ และ ดำเนินการ เพื่อ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา หรือคำสั่ง ของ ศาล ใน กรณี ที่ ศาล พิพากษา จำคุก จำเลย ก็ ชอบ ที่ จะ มอบจำเลย ให้ ตำรวจ ประจำ ศาล รับ ไป ควบคุม เพื่อ ดำเนินการ บังคับคดีลงโทษ จำเลย ตาม คำพิพากษา แต่ แล้ว ผู้ ถูก กล่าวหา กลับ วางแผน และดำเนินการ ให้ เปลี่ยน ตัว จำเลย เพื่อ ไม่ ให้ จำเลย ต้อง ได้ รับ โทษจำคุก เช่นนี้ เป็น การ กระทำ ที่ ไม่ สำนึก ใน หน้าที่ และ ไม่ มีความ ยำเกรง ต่อ ศาล จึง ไม่ มี เหตุ อันควร ปรานี ศาลอุทธรณ์ พิพากษาชอบ แล้ว ฎีกา ผู้ ถูก กล่าวหา ฟัง ไม่ ขึ้น
พิพากษา ยืน’