คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1200/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

การที่จำเลยขับรถโดยอาการน่าหวาดเสียวและโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้อื่นเป็นเหตุให้รถชนผู้อื่นบาดเจ็บบาดเจ็บสาหัสและตายอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกมาตรา(43)4และ(8)กับเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา291,300และ390ด้วยนั้นถือว่าเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ขับ รถยนต์ บรรทุก โดย ประมาท โดย อาการ อันน่า หวาดเสียว และ โดย ไม่ คำนึง ถึง ความ ปลอดภัย หรือ ความ เดือดร้อนของ ผู้อื่น เป็น เหตุ ให้ รถ ของ จำเลย ชน ถูก รถยนต์ โดยสาร เล็กทำ ให้ ผู้ โดยสาร ได้ รับ บาดเจ็บ บาดเจ็บ สาหัส และ ถึง แก่ ความตายหลายคน ขอ ให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 300, และ390 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43, 157 และ 162 และขอ ให้ เพิกถอน ใบอนุญาต ขับขี่ ของ จำเลย
จำเลย ให้การ รับสารภาพ ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 300 390 ให้ ลงโทษ บทหนัก ตาม มาตรา291, 90 จำคุก 6 ปี กระทงหนึ่ง กับ ผิด ตาม พระราชบัญญัติ จราจรทางบกฯมาตรา 43, 157 ปรับ 600 บาท อีก กระทงหนึ่ง จำเลย รับสารภาพ เป็นเหตุบรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78เพิกถอน ใบอนุญาต ขับขี่ ของ จำเลย ด้วย
จำเลย อุทธรณ์ ขอ ให้ ลงโทษ สถานเบา หรือ รอ การ ลงโทษ และ ยก คำขอให้ เพิกถอน ใบอนุญาต ขับขี่
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา แก้ ว่า เป็น ความผิด กรรมเดียวกัน ทั้งหมด ให้ลงโทษ บทหนัก ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 90 เพียง บทเดียวนอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
โจทก์ ฎีกา ว่า การ กระทำ ของ จำเลย เป็น ความผิด หลายกรรม ต่าง กัน
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ‘คดี มี ปัญหา ข้อกฎหมาย ตาม ฎีกา โจทก์ ว่าการ กระทำ ตาม พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (4) และ(8) กับ การ กระทำ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 300, 390 เป็นความผิด กรรมเดียว ผิด ต่อ กฎหมาย หลายบท หรือ เป็น ความผิด หลายกรรมต่างกัน พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า การ ที่ จำเลย ขับรถ โดย อาการน่าหวาดเสียว อัน อาจ เกิด อันตราย แก่ บุคคล หรือ ทรัพย์สิน และขับ รถ โดย ไม่ คำนึง ถึง ความ ปลอดภัย หรือ ความ เดือดร้อน ของ ผู้อื่น อัน เป็น ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา43 (4) และ (8) ย่อม เป็น การ กระทำ โดย ปราศจาก ความ ระมัดระวังหรือ มิได้ ใช้ ความ ระมัดระวัง ให้ เพียงพอ และ การ กระทำ ใน ลักษณะดังกล่าว ก็ เป็น องค์ประกอบ ของ การ กระทำ โดย ประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 300, 390 ด้วย ดังนั้น เมื่อ จำเลย ได้กระทำ ผิด ตาม พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (4)และ (8) จึง เป็น ส่วนหนึ่ง ของ การ กระทำ โดย ประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา อยู่ ใน ตัว การ กระทำ ดังกล่าว ของ จำเลย จึง เป็นกรรมเดียว ผิดต่อ กฎหมาย หลายบท ต้อง ลงโทษ ตาม กฎหมาย บท ที่ มี โทษหนัก ที่สุด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย และพิพากษาคดี มา ชอบ แล้ว ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ ฟัง ไม่ ขึ้น
พิพากษายืน’

Share