แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
นับตั้งแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โดยเด็ดขาดจำเลยที่1เป็นต้นไป เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจเข้าว่าคดีแทนจำเลยที่1ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา22(3)จำเลยที่1ไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาหรือว่าคดีได้อีกการที่จำเลยที่1เป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณายื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทที่ เจ้าพนักงานบังคับคดี ขายทอดตลาดและดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่สืบเนื่องต่อมาจนถึงการยื่นอุทธรณ์ภายหลังที่จำเลยที่1ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ย่อยาว
มูลกรณี สืบเนื่อง มาจาก ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกันชำระ เงิน จำนวน 7,782,465.61 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ร้อยละ 20 ต่อ ปีใน ต้นเงิน 7,000,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์หาก ไม่ชำระ ให้ เอา ที่ดิน ที่ จำนอง ขายทอดตลาด ชำระหนี้ หาก ไม่พอ ให้จำเลย ทั้ง สอง ชำระหนี้ จน ครบ ให้ จำเลย เสีย ค่าฤชาธรรมเนียม แทน โจทก์โดย กำหนด ค่า ทนายความ 10,000 บาท ชั้น บังคับคดี โจทก์ นำยึด ที่ดินโฉนด เลขที่ 76233 และ เลขที่ 76234 แขวง คันนายาว เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ออก ขายทอดตลาด โดย ได้ มี การขายทอดตลาด ครั้งแรก เมื่อ วันที่ 28 ธันวาคม 2526 และ เลื่อน การขายทอดตลาด มา จน กระทั่ง การ ขาย ใน วันที่ 15 สิงหาคม 2528 ซึ่ง เป็นครั้งที่ 10 มี ผู้ เสนอราคา สูงสุด เป็น เงิน 7,200,000 บาท เจ้าพนักงานบังคับคดี ตกลง ขาย ให้ แก่ ผู้ เสนอราคา สูงสุด ผู้ซื้อทรัพย์ ได้ ชำระ เงินครบถ้วน วันที่ 29 สิงหาคม 2528 จำเลย ที่ 1 ยื่น คำร้อง ต่อ ศาลชั้นต้นให้ เพิกถอน การ ขายทอดตลาด และ ประกาศ ขายทอดตลาด ใหม่ ศาลชั้นต้นพิจารณา แล้ว มี คำสั่ง ให้ยก คำร้อง จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์ คำสั่ง ของศาลชั้นต้น ดังกล่าว โดย ยื่น อุทธรณ์ เมื่อ วันที่ 25 ตุลาคม 2528ขณะที่ คดี อยู่ ใน ระหว่าง การ พิจารณา ของ ศาลอุทธรณ์ โจทก์ ขอให้ ดำเนินการบังคับคดี ต่อไป ศาลชั้นต้น จึง ให้ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ดำเนินการเจ้าพนักงาน บังคับคดี แจ้ง ให้ ผู้ซื้อทรัพย์ นำ เงิน มา ชำระ เนื่องจากก่อนหน้า นั้น ผู้ซื้อทรัพย์ ได้ ขอรับ เงิน คืน ไป จำนวน 7,000,000 บาทแต่ ผู้ซื้อทรัพย์ ไม่นำ เงิน มา วาง และ ยอม ให้ เจ้าพนักงาน บังคับคดีริบ เงิน จำนวน 200,000 บาท เจ้าพนักงาน บังคับคดี จึง ยกเลิก การขายทอดตลาด และ ขายทอดตลาด ใหม่ เป็น ครั้งที่ 11 ใน วันที่ 14 สิงหาคม2529 และ ได้ ตกลง ขาย ทรัพย์ ให้ แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เกศสุดา ซึ่ง เป็น ผู้ เสนอราคา สูงสุด ใน ราคา 6,100,000 บาท วันที่ 20 สิงหาคม2529 จำเลย ที่ 1 ยื่น คำร้องขอ ให้ เพิกถอน การ ขายทอดตลาด ของ เจ้าพนักงานบังคับคดี ที่ ขาย เมื่อ วันที่ 14 สิงหาคม 2529 และ ประกาศ ขายทอดตลาดใหม่ และ ใน วันที่ 16 กันยายน 2529 จำเลย ที่ 1 ได้ ยื่น คำร้องขอ ถอนอุทธรณ์ ฉบับ ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2528 แต่ก่อน ที่ ศาลอุทธรณ์ จะ มีคำสั่ง คำร้องขอ ถอน อุทธรณ์ ฉบับนี้ ศาลอุทธรณ์ ได้ มี คำพิพากษา ยืนตาม คำสั่งศาล ชั้นต้น ที่ ให้ยก คำร้องขอ งจำเลย ที่ 1 ฉบับ ลงวันที่29 สิงหาคม 2528 โดย ศาลชั้นต้น อ่าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ดังกล่าวให้ คู่ความ ฟัง เมื่อ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2530 ต่อมา วันที่7 มกราคม 2531 ศาลอุทธรณ์ มี คำสั่ง อนุญาต ให้ จำเลย ที่ 1 ถอน อุทธรณ์ฉบับที่ ศาลอุทธรณ์ ได้ มี คำพิพากษา ดังกล่าว ไป แล้ว อีก ส่วน คำร้องขอ งจำเลย ที่ 1 ฉบับ ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2529 ที่ ขอให้ เพิกถอน การขายทอดตลาด ของ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ที่ ขาย เมื่อ วันที่ 14 สิงหาคม2529 นั้น โจทก์ ยื่น คำคัดค้าน ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ ถูก ศาลชั้นต้นมี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด แล้ว เมื่อ วันที่ 13 มีนาคม 2529ตาม คดีล้มละลาย หมายเลขแดง ที่ ล. 65/2529 ของ ศาลชั้นต้น อำนาจ ดำเนินคดี ก็ ตก อยู่ แก่ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 22 การ ขาย ทรัพย์ ราย นี้ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ก็ เห็นชอบ ด้วย และ นำ เงิน ที่ ขาย ได้ เข้า ไป ใน คดีล้มละลาย แล้วจำเลย ที่ 1 จึง ไม่มี อำนาจ ที่ จะ ยื่น คำร้องขอ ดังกล่าว ขอให้ ยกคำร้อง ขอศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว มี คำสั่ง ยกคำร้อง ขอ ของ จำเลย ที่ 1 โดย มีคำสั่ง เมื่อ วันที่ 16 มีนาคม 2530 ต่อมา วันที่ 16 เมษายน 2530จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์ คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ดังกล่าว และ ต่อมา วันที่9 มกราคม 2533 ศาลชั้นต้น มี หนังสือ ตาม คำขอ ของ เจ้าพนักงาน บังคับคดีแจ้ง ให้ เจ้าพนักงาน ที่ดิน กรุงเทพมหานคร สาขา บางกะปิ จดทะเบียน ระงับ การ จำนอง และ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน พร้อม สิ่งปลูกสร้างซึ่ง เป็น ทรัพย์ ของ จำเลย ที่ 1 ที่ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ขายทอดตลาดเมื่อ วันที่ 14 สิงหาคม 2529 หลังจาก ศาลชั้นต้น มี หนังสือ ดังกล่าวแล้ว ต่อมา วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2533 จำเลย ที่ 1 ยื่น คำร้องขอเพิกถอน การ บังคับคดี อีก ว่า อุทธรณ์ ของ จำเลย ที่ 1 ลงวันที่ 16เมษายน 2530 ซึ่ง เป็น อุทธรณ์ ครั้งที่ สอง จน ถึง บัดนี้ ยัง ไม่มี คำสั่งของ ศาลอุทธรณ์ แต่ ประการใด จึง ยัง อยู่ ระหว่าง การ พิจารณา ของ ศาลอุทธรณ์บัดนี้ ปรากฏว่า เจ้าพนักงาน บังคับคดี เข้าใจผิด ประมาท เลินเล่อไม่รวม การ พิจารณา รูปคดี ตาม ข้อเท็จจริง ที่ ปรากฏ ใน สำนวน กลับ เข้าใจ ว่าการ อุทธรณ์ ชั้น บังคับคดี ทั้ง สอง ครั้ง ดังกล่าว ยุติ แล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดี จึง ขอ ดำเนินการ บังคับคดี โดย ทำนิติกรรม เปลี่ยนแปลงทาง ทะเบียน ให้ แก่ ผู้ซื้อทรัพย์ จาก การ ขายทอดตลาด เป็น การ ไม่ชอบขอให้ มี คำสั่ง เพิกถอน นิติกรรม การ โอน ทรัพย์พิพาท และ วันที่4 เมษายน 2533 จำเลย ที่ 1 ยื่น คำร้องขอ แก้ไข คำร้อง ว่า ศาลอุทธรณ์ได้ พิจารณา โดย ผิดหลง เข้าใจ ว่า จำเลย ขอ ถอน อุทธรณ์ ฉบับ ลงวันที่16 เมษายน 2530 จึง ขอให้ ศาลชั้นต้น ส่ง อุทธรณ์ ของ จำเลย ที่ 1ฉบับ ลงวันที่ 16 เมษายน 2530 ไป ให้ ศาลอุทธรณ์ พิจารณา และ มี คำสั่ง ใหม่
ห้างหุ้นส่วนจำกัด เกศสุดา ผู้ซื้อทรัพย์ ยื่น คำคัดค้าน ว่า ผู้ซื้อทรัพย์ ได้ ซื้อ ทรัพย์ จาก การ ขายทอดตลาด ตาม คำสั่งศาล โดยสุจริตและ เสีย ค่าตอบแทน และ ได้ จดทะเบียน ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ โดยสุจริตแล้ว ทั้ง ได้ จดทะเบียน ขาย ที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง ดังกล่าว ให้ แก่นาย ชัยสิทธิ์ วิริยะเมตตากุล กับ นาง พิมพา วิริยะเมตตากุล แล้ว ขอให้ ยกคำร้อง ขอ ของ จำเลย ที่ 1
นาย ชัยสิทธิ์ วิริยะเมตตากุล กับ นาง พิมพา วิริยะเมตตากุล ยื่น คำคัดค้าน ว่า คน ทั้ง สอง ได้ ซื้อ ทรัพย์พิพาท จาก ห้างหุ้นส่วนจำกัด เกศสุดา โดย ถูกต้อง ตาม กฎหมาย ขอให้ ยกคำร้อง ขอ ของ จำเลย ที่ 1
ศาลชั้นต้น ให้ เรียก ห้างหุ้นส่วนจำกัด เกศสุดา ว่า ผู้ซื้อทรัพย์ ที่ 1 และ เรียก นาย ชัยสิทธิ์ วิริยะเมตตากุล กับ นาง พิมพา วิริยะเมตตากุล ว่า ผู้ซื้อทรัพย์ ที่ 2 และ พิจารณา แล้ว มี คำสั่ง ยกคำร้อง ขอ ของ จำเลย ที่ 1
จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์
หลังจาก ที่ ศาลชั้นต้น สั่ง รับ อุทธรณ์ ของ จำเลย ที่ 1 แล้วแต่ ยัง ไม่ได้ ส่ง สำนวน ไป ยัง ศาลอุทธรณ์ ผู้ซื้อทรัพย์ ที่ 2 ยื่น คำร้องต่อ ศาลชั้นต้น เมื่อ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2533 ว่า จำเลย ที่ 1ถูก ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ พิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด เมื่อ วันที่ 13มีนาคม 2529 และ พิพากษา ให้ ล้มละลาย เมื่อ วันที่ 17 เมษายน 2530ตาม คดี หมายเลขแดง ที่ ล. 65/2529 ของ ศาลชั้นต้น จำเลย ที่ 1 จึงไม่มี สิทธิ ยื่น คำร้องขอ ให้ เพิกถอน การ ขายทอดตลาด ฉบับ ลงวันที่ 20สิงหาคม 2529 ไม่มี สิทธิ ยื่น อุทธรณ์ ฉบับ ลงวันที่ 16 เมษายน 2530และ ไม่มี สิทธิ ยื่น คำร้องขอ ให้ เพิกถอน การ บังคับคดี ฉบับ ลงวันที่7 กุมภาพันธ์ 2533 ขอให้ เพิกถอน คำสั่ง การ รับคำ คู่ความ และ การดำเนิน กระบวนพิจารณา ของ จำเลย ที่ 1 ที่ ยื่น และ ดำเนินการ ไป หลัง วันที่13 มีนาคม 2529 ทั้งหมด ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ นัด พร้อม ใน วันนัด พร้อมจำเลย ที่ 1 ทราบ นัด โดยชอบ แล้ว ไม่มา ศาล เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์แถลงว่า ศาล มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จำเลย ที่ 1 เด็ดขาด เมื่อ วันที่13 มีนาคม 2529 และ พิพากษา ให้ ล้มละลาย เมื่อ วันที่ 17 เมษายน 2530ตาม คดี หมายเลขแดง ที่ ล. 65/2529 ของ ศาลชั้นต้น และ ศาล มี คำสั่งเห็นชอบ กับ การ ประนอมหนี้ เมื่อ วันที่ 30 ตุลาคม 2533 ศาลชั้นต้นเห็นว่า คดี อยู่ ใน ระหว่าง การ พิจารณา ของ ศาลอุทธรณ์ แล้ว จึง เสนอ สำนวนเพื่อ ให้ ศาลอุทธรณ์ สั่ง คำร้องขอ งผู้ร้อง ทั้ง สอง
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ให้ยก คำร้องขอ ให้ เพิกถอน การ ขายทอดตลาดของ จำเลย ที่ 1 ฉบับ ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2529 และ ยก การ ดำเนินกระบวนพิจารณา ใน ศาลชั้นต้น ที่ สืบเนื่อง จาก คำร้อง ฉบับ ดังกล่าวตั้งแต่ วันที่ 20 สิงหาคม 2529 เป็นต้น ไป
จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง เรื่อง จำเลย ที่ 1 ถูกพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด หรือไม่ เมื่อใด นั้น มิใช่ ปรากฏ จาก คำแก้อุทธรณ์ของ ผู้ซื้อทรัพย์ ที่ 2 เท่านั้น แต่ เป็น ข้อเท็จจริง ที่ ได้ความจาก คำแถลง ของ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ที่ แถลง ต่อ ศาลชั้นต้นใน วันนัด พร้อม อัน เนื่องจาก ผู้ซื้อทรัพย์ ที่ 2 ยื่น คำร้องขอ ให้ศาล วินิจฉัยชี้ขาด เบื้องต้น ใน ปัญหาข้อกฎหมาย ว่า หลังจาก วันที่13 มีนาคม 2529 ซึ่ง จำเลย ที่ 1 ถูก พิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด แล้วจำเลย ที่ 1 ไม่มี อำนาจ ที่ จะ ดำเนินการ ใด ๆ ใน คดี นี้ ได้ อีกซึ่ง วันนัด พร้อม ดังกล่าว จำเลย ที่ 1 ทราบ นัด โดยชอบ แล้ว ไม่มา ศาลข้อเท็จจริง ที่ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ แถลงว่า ศาล มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด จำเลย ที่ 1 เมื่อ วันที่ 13 มีนาคม 2529และ พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ล้มละลาย เมื่อ วันที่ 17 เมษายน 2530ตาม คดี หมายเลขแดง ที่ ล. 65/2529 ของ ศาลชั้นต้น และ ศาลชั้นต้น มี คำสั่งเห็นชอบ กับ การ ประนอมหนี้ เมื่อ วันที่ 30 ตุลาคม 2533 เป็น ข้อเท็จจริงที่ ได้ เข้า มา ใน สำนวน โดย ถูกต้อง ตาม วิธีพิจารณา แล้ว และ ฟังได้ เป็นยุติ ดังกล่าว ดังนั้น หลังจาก ศาลชั้นต้น มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โดย เด็ดขาด ตั้งแต่ วันที่ 13 มีนาคม 2529 เป็นต้น ไป เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แต่ ผู้เดียว มีอำนาจ เข้า ว่าคดี นี้ ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22(3) จำเลย ที่ 1 ไม่มี อำนาจ ดำเนินกระบวนพิจารณา หรือ ว่าคดี ได้ อีก แต่ ข้อเท็จจริง ปรากฏว่า จำเลย ที่ 1เป็น ผู้ ดำเนิน กระบวนพิจารณา ยื่น คำร้องขอ เพิกถอน การ ขายทอดตลาด ทรัพย์พิพาท ที่ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ขาย เมื่อ วันที่ 14 สิงหาคม 2529โดย ยื่น คำร้องขอ ฉบับ แรก ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2529 แล้ว ดำเนิน กระบวนพิจารณา ที่ สืบเนื่อง จาก คำร้อง ฉบับ ดังกล่าว และ ยื่น คำร้องขอ ฉบับที่ สองลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2533 ที่ ขอ เพิกถอน การ บังคับคดี และ การ ดำเนินกระบวนพิจารณา ใน ศาลชั้นต้น ที่ สืบเนื่อง จาก คำร้องขอ ฉบับนี้ ต่อมา อีกจน ถึง การ ยื่น อุทธรณ์ ของ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง อยู่ ใน ระหว่าง เวลา ที่จำเลย ที่ 1 ยัง คง ถูก พิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด การ ดำเนิน กระบวนพิจารณาดังกล่าว จึง ไม่ชอบ ด้วย พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22(3)ซึ่ง เป็น ปัญหาข้อกฎหมาย อัน เกี่ยว ด้วย ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชนศาลอุทธรณ์ มีอำนาจ หยิบยก ขึ้น วินิจฉัย แล้ว ยกคำร้อง ขอ ของ จำเลย ที่ 1ฉบับ ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2529 เรื่อง ขอ เพิกถอน การ ขายทอดตลาด และยก การ ดำเนิน กระบวนพิจารณา ใน ศาลชั้นต้น ที่ สืบเนื่อง จาก คำร้อง ฉบับดังกล่าว ได้ แต่ ศาลอุทธรณ์ มิได้ พิพากษา ถึง คำร้องขอ ของ จำเลย ที่ 1ฉบับ ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2533 ที่ ขอ เพิกถอน การ บังคับคดีศาลฎีกา เห็นสมควร พิพากษา ถึง การ ดำเนิน กระบวนพิจารณา ที่ เกี่ยวกับคำร้องขอ ของ จำเลย ที่ 1 ฉบับนี้ ด้วย เมื่อ ศาลฎีกา วินิจฉัย ดังกล่าวแล้ว ข้ออ้าง ประการอื่น ๆ ใน ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 นั้น ไม่อาจ ทำให้ผล คดี เปลี่ยนแปลง ไป จึง ไม่มี ประโยชน์ แก่ คดี ที่ จะ วินิจฉัย ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก คำร้องขอ ของ จำเลย ที่ 1 ฉบับ ลงวันที่7 กุมภาพันธ์ 2533 ที่ ขอ เพิกถอน การ บังคับคดี และ ยก การ ดำเนิน กระบวนพิจารณา ใน ศาลชั้นต้น ที่ สืบเนื่อง จาก คำร้อง ฉบับนี้ และ ยกอุทธรณ์ของ จำเลย ที่ 1 ฉบับ ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2533 ด้วย นอกจาก ที่ แก้คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์