แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ความว่า โจทก์อุทธรณ์ ศาลแรงงานกลางสั่งว่าพิเคราะห์อุทธรณ์ของโจทก์แล้ว เป็นการโต้แย้งดุลพินิจ ในการดำเนินการกระบวนพิจารณาและการรับฟังพยานหลักฐานของศาล จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 จึงไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์เห็นว่า อุทธรณ์ที่ว่า โจทก์ทำงานให้กับจำเลยเพื่อรับค่าจ้าง โจทก์จึงเป็นลูกจ้างของจำเลย และศาลแรงงานกลาง ยกคำร้องขออนุญาตสืบพยานโจทก์ต่อโดยไม่มีการไต่สวนนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายทั้งสิ้น โปรดมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ ของโจทก์ไว้พิจารณาต่อไป หมายเหตุ จำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้ว (อันดับ 86,87) โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายค่าจ้างที่ค้างชำระรวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 3,500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่ง จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าว(อันดับ 84) โจทก์จึงยื่นคำร้องนี้ (อันดับ 85)
คำสั่ง พิเคราะห์แล้ว คดีนี้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย โจทก์อุทธรณ์ข้อแรกโดยอ้างพยานหลักฐานในสำนวนว่าโจทก์ทำงานให้กับจำเลยเพื่อ รับค่าจ้าง โจทก์จึงเป็นลูกจ้างของจำเลย เป็นการโต้เถียงดุลพินิจ ในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ ในข้อต่อไปว่า ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ ที่ขอให้โจทก์นำพยานที่เหลือเข้าสืบเป็นการไม่ชอบนั้น เห็นว่าคำสั่งของศาลแรงงานกลางดังกล่าว เป็นคำสั่งระหว่าง พิจารณาแต่โจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวก่อนศาลแรงงานกลาง มีคำพิพากษา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา 226 ประกอบ มาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ชอบแล้วให้ยกคำร้อง