คำสั่งคำร้องที่ 2206/2537

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ความว่า จำเลยที่ 1 ฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งว่า ฎีกาของจำเลยที่ 1 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 มาตรา 225ประกอบมาตรา 215 จึงไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 เห็นว่า จำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษา แต่ที่จำเลยที่ 1ฎีกา เพื่อขอความปรานีให้โอกาสจำเลยที่ 1 กลับตัวเป็นพลเมืองดี เท่านั้น โปรดมีคำสั่งให้รับฎีกาของจำเลยที่ 1ไว้พิจารณาต่อไป
หมายเหตุ โจทก์ได้รับสำเนาคำร้องแล้ว (อันดับ 24)
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสามสิบเก้ามีความผิดตาม พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 4,5,6,10,12และ 15 ที่แก้ไขแล้วให้จำคุกจำเลยที่ 1 ฐานเป็นเจ้าสำนัก 4 เดือน ปรับ 2,000 บาท จำคุกจำเลยที่ 2 ฐานเป็นเจ้ามือ 4 เดือน ปรับ 2,000 บาท จำเลยนอกนั้นปรับคนละ 1,800 บาท จำเลย ทุกคนให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 2 คนละ 2 เดือน และปรับคนละ 1,000 บาท จำเลยนอกนั้น ปรับคนละ 900 บาท โทษจำคุกของจำเลยที่ 1และที่ 2 ให้รอการลงโทษ ไว้มีกำหนด 2 ปี ให้จำเลยจ่ายสินบนนำจับกึ่งหนึ่งของค่าปรับ
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่รอการลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ปรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 และยกคำขอที่ ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จ่ายสินบนนำจับ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไป ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 1 ฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาดังกล่าว(อันดับ 21)
จำเลยที่ 1 จึงยื่นคำร้องนี้ (อันดับ 24)

คำสั่ง
พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 จำคุก 2 เดือนและปรับ 1,000 บาท โทษจำคุกให้รอไว้ 2 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า จำคุก 2 เดือน ไม่ปรับและไม่รอการลงโทษให้ยกคำขอที่ให้จำเลยที่ 1 จ่ายสินบนนำจับ เป็นการแก้ไขมากและ เป็นการเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 จึงไม่ห้ามจำเลยที่ 1 ที่จะฎีกาใน ปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 12 สำหรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ขอให้รอการลงโทษนั้น เป็นปัญหาที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ส่วนข้อเท็จจริงบางประการถึงแม้จำเลยที่ 1 จะเพิ่งยกขึ้น กล่าวอ้างในชั้นฎีกา แต่ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่เกี่ยวกับ การกระทำผิดโดยตรง เป็นเพียงเหตุผลประกอบเพื่อให้ศาลฎีการอการ ลงโทษให้จำเลยที่ 1 เท่านั้น จำเลยที่ 1 ยกขึ้นกล่าวอ้างได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 จึงให้รับ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ไว้พิจารณา ให้ศาลชั้นต้นส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ แก้ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันรับ

Share