แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ความว่า โจทก์อุทธรณ์ ศาลแรงงานกลางสั่งว่าอุทธรณ์โจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 ไม่รับอุทธรณ์โจทก์
โจทก์เห็นว่า อุทธรณ์โจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายโปรดมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษาต่อไป
หมายเหตุ ทนายจำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้ว (อันดับ 84)
โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย 63,360 บาทค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 10,560 บาท และค่าเสียหายเป็นเงิน 633,600 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันเลิกจ้างจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์หรือให้จำเลยเพิกถอนคำสั่งที่ 698/2533 แล้วให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่เดิมและในอัตราค่าจ้างเท่าเดิม ให้นับอายุการทำงานต่อเนื่องตลอดมา และให้จำเลยชดใช้ค่าจ้างให้กับโจทก์นับแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันที่รับโจทก์กลับเข้าทำงานพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันเลิกจ้างจนกว่าจะรับโจทก์กลับเข้าทำงาน
ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์
โจทก์อุทธรณ์ ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์(อันดับ 82)
โจทก์ยื่นคำร้องนี้ (อันดับ 83)
คำสั่ง
พิเคราะห์แล้ว คดีนี้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ตัดเงินหน้าตั๋วและตัดรายได้ของสถานีรถกลางดงเพื่อซ่อมแซมห้องน้ำของสถานีก่อนที่จะซ่อมแซมห้องน้ำเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ ปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบอันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงจำเลยอุทธรณ์ว่า การกระทำของจำเลยเป็นเพียงการกระทำโดยประมาทเลินเล่อเท่านั้น ไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงอุทธรณ์ของจำเลยเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่น จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 ส่วนข้อที่โจทก์ อุทธรณ์ว่า จำเลยสอบสวนโจทก์ไม่เสร็จภายใน 30 วัน เป็นการ สอบสวนโดยมิชอบ ถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้สอบสวนจำเลยจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์นั้น ปัญหาข้อนี้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31ศาลแรงงานกลางสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง