คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2478

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ผู้มีชื่อในหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินอย่างเก่าก่อนใช้ พรบ ออกโฉนดนั้นไม่ถือว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิในที่นั้น
+นับอายุความมฤดกพินัยกรรม พินัยกรรม์นั้นผู้ทำจะกำหนดเงื่อนไขไว้อย่างใดก็ได้+หากไม่ขัดต่อกฎหมายความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนเงื่อนไขที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์+สัญญาทางพระราชไมตรีที่คนในบังคับอังกฤษเป็นคู่ความ คู่ความฎีกาได้แต่+หากฎหมาย

ย่อยาว

คดีนี้โจทก์เป็นบุตร์ ต. ต.เป็นบุตรี ง.ซึ่งเกิดด้วยภรรยาเดิมของ ง.ส่วนจำเลยเป็นภรรยาใหม่ของ ง.ที่ดินรายพิพาทเดิมเป็นของ ฮ. ๆ ได้ทำหนังสือยกให้แก่ ง.และภรรยา เมื่อ ร.ศ.๑๒๑ ง.ได้นำหนังสือยกให้มาให้เจ้าพนักงานกระทรวงนครบาลทำหนังสือสำคัญใส่ชื่อ ง. ย.(ภรรยา ง) แล ต.บุตรี ง.เมื่อ ร.ศ.๑๓๑ ง.นำเจ้าพนักงานรังวัดขอรับโฉนดตาม พรบออกโฉนดที่ดิน ร.ศ.๑๒๗ แต่ใส่ชื่อ ง.แลภรรยา ๒ คนเท่านั้น เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๕ ภรรยา ง.ถีงแก่กรรมแล้ว ง.ก็โอนโฉนดใส่ชื่อตนแต่ผู้เดียว ต่อมา พ.ศ.๒๔๕๖ ง.ได้ทำพินัยกรรม์ยกที่รายพิพาทนี้ให้แก่ ต.ผู้เดียวแต่มีเงื่อนไขว่า ต.ต้องมรณกายหลังสามี ถ้า ต.มรณก่อนสามีให้แบ่งทรัพย์นี้ให้แก่บุตร์ ต.ครึ่งหนึ่ง ง,ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐ ต.ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕ ต่อมาอีก ๘ เดือนสามี ต.ก็ถึงแก่กรรม โจทก์ซึ่งเป็นบุตร์ ต.จึงฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมฤดกของ ง.ขอแบ่งที่รายพิพาทให้โจทก์อย่างน้อย ๓ ใน ๔
ศาลล่างทั้ง ๒เห็นว่าโจทก์ควรมีสิทธิได้เพียง+ครึ่งหนึ่ง ให้แบ่งที่รายพิพาทให้เพียงครึ่งเดียว
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อที่โจทก์ฎีกาว่าสัญญายกให้ทำที่กระทรวงนครบาลเมื่อ ร.ศ.๑๒๑ เป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์ ไม่ใช่สัญญาจะยกให้ กรรมสิทธิในที่ดินย่อมตกแก่ ต.๑ ใน ๓ นั้นเห็นว่าหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินอย่างเก่าเช่นนี้มิได้แสดงว่าผู้มีชื่อในนั้นเป็นเจ้าของเลย ทั้งคดีเรื่องนี้ศาลล่างก็ได้ชี้ขาดต้องกันมาว่า การที่ ต.มีชื่อร่วมกับบิดามารดานั้น เป็นการแสดงเจตนาในอันที่จะให้ส่วนแก่ ต.เท่านั้น แลเวลาออกโฉนดก็ยังได้เอาชื่อ ต.ออกเสีย ต.จึงหามีกรรมสิทธิตามหนังสือยกให้ ร.ศ.๑๒๑ นี้ไม่
ส่วนข้ออายุความ เรียกมฤดก ย.ซึ่งโจทก์ว่าเริ่มนับแต่ ง.ตายจนถึงวันฟ้องยังไม่ถึง ๑๐ ปี เห็นว่าควรนับแต่วัน ย.ตาย เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๕ โจทก์เพิ่งมาฟ้องเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๗ คดีย่อมขาดอายุความ
ฎีกาโจทก์ในข้อที่ว่า เงื่อนไขในพินัยกรรม์ใช้บังคับไม่ได้นั้น เห็นว่าตามกฎหมายผู้ตายจะทำพินัยกรรม์จำหน่ายทรัพย์ให้แก่ใครโดยมีเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้ ในเมื่อไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงพิพากษายืนตามศาลล่าง

Share