คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2399/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์ถึง308,394,169.33บาทจำเลยที่2ถึงที่4เป็น ผู้ค้ำประกันในวงเงินถึง177,000,000บาท480,960,008.90บาท63,600,000บาทและ61,128,163.50บาทส่วนหลักประกันที่จำเลยที่2และที่3นำมา จดทะเบียน จำนองรวมกันมีจำนวนเพียง22,000,000บาทและมี คำขอท้ายฟ้อง ขอให้นำทรัพย์สินของจำเลยทั้งห้ามาชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ถือว่าโจทก์ ตีราคาหลักประกันมาในฟ้องแล้วซึ่งเมื่อหักกับจำนวนหนี้แล้วยังขาดอยู่ไม่น้อยกว่า500,000บาทจึงเป็นการ บรรยายฟ้องที่ชอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา10(2)แล้ว

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น หนี้ โจทก์ หลาย ประเภทดังนี้ คือ หนี้ กู้ เบิกเงินเกินบัญชี หนี้ เงินกู้ ชั่วคราว หนี้ เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิต และ ทรัสต์รีซีท หนี้ ไซท์บิล หนี้ ขายลดเช็คและ หนี้ ค้ำประกัน รวมเป็น ต้นเงิน และ ดอกเบี้ย ถึง วันฟ้อง จำนวน308,394,169.33 บาท โดย มี จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 5 และ นาย พัฒนชัย อารีเลิศรัตน์ เป็น ผู้ค้ำประกัน ใน วงเงิน 177,000,000 บาท 480,960,008.90 บาท 63,600,000 บาท 61,128,163.50 บาท และ286,100,583.80 บาท ตามลำดับ นอกจาก นี้ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 และนาย พัฒนชัย ได้ นำ ที่ดิน มา จดทะเบียน จำนอง เป็น ประกันหนี้ ของ ตนเอง และ ของ จำเลย ที่ 1 ด้วย ใน วงเงิน 2,000,000 บาท 6,000,000 บาทและ 14,000,000 บาท ตามลำดับ โจทก์ บอกกล่าว ทวงถาม ให้ จำเลย ทั้ง ห้าชำระหนี้ ทั้งหมด และ ไถ่ถอน จำนอง แต่ จำเลย ทั้ง ห้า เพิกเฉย โจทก์ เป็นเจ้าหนี้ จำเลย ทั้ง ห้า ซึ่ง มี จำนวน รวมกัน ไม่ น้อยกว่า 500,000 บาทและ หนี้ ดังกล่าว มี หลักประกัน คือ ที่ดิน พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ที่ มี ราคาเพียง เล็กน้อย เมื่อ เทียบ กับ หนี้ ที่ มี อยู่ จำนวน มาก ซึ่ง หลักประกันไม่ เพียงพอ ที่ จะ นำ มา ชำระหนี้ ให้ แก่ โจทก์ ได้ จำเลย ทั้ง ห้า เป็น ผู้ มีหนี้สินล้นพ้นตัว ขอให้ มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จำเลย ทั้ง ห้า เด็ดขาด และพิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง ห้า เป็น บุคคล ล้มละลาย
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ เป็น หนี้ เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิต และ ทรัสต์รีซีท หนี้ ไซท์บิล หนี้ ขายลดเช็ค กับโจทก์ ส่วน หนี้ กู้ เบิกเงินเกินบัญชี และ หนี้ เงินกู้ ชั่วคราวจำเลย ที่ 1 ได้ ชำระ ให้ โจทก์ ครบถ้วน แล้ว และ จำเลย ที่ 1 ไม่ใช่ผู้ มี หนี้สินล้นพ้นตัว และ ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4 ให้การ ทำนอง เดียว กัน ว่า ไม่เคย ทำสัญญาค้ำประกัน หนี้ ของ จำเลย ที่ 1 ตาม ฟ้อง ไม่เคย ลงลายมือชื่อ ใน ฐานะผู้ค้ำประกัน จำเลย ที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4 มี ฐานะ มั่นคง สามารถ ชำระ หนีได้ ไม่เป็น ผู้ มี หนี้สินล้นพ้นตัว โจทก์ ไม่เคย ทวงถาม ให้ ชำระหนี้ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 5 ไม่ยื่น คำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้น มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จำเลย ทั้ง ห้า เด็ดขาด ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14
จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 อุทธรณ์ ส่วน จำเลย ที่ 5 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ มี หนังสือ แถลงว่า ศาลชั้นต้น สั่ง พิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาดและ พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 5 ล้มละลาย ใน คดี หมายเลขแดง ที่ ล. 144/2532ศาลชั้นต้น แล้ว ศาลชั้นต้น จึง มี คำสั่ง จำหน่ายคดี เฉพาะ จำเลย ที่ 5จาก สารบบความ
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติได้ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น หนี้ โจทก์ โดย มี จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 5 และนาย พัฒนชัย อารีเลิศรัตน์ เป็น ผู้ค้ำประกัน และ จำเลย ที่ 2 ที่ 3และ นาย พัฒนชัย นำ ที่ดิน มา จดทะเบียน จำนอง เป็น ประกันหนี้ ของ ตนเอง และ ของ จำเลย ที่ 1 ด้วย คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกาจำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 ประการ แรก ว่า ฟ้องโจทก์ ชอบ ด้วย พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 10(2) หรือไม่ บท กฎหมาย ดังกล่าวบัญญัติ ว่า “ภายใต้ บังคับ มาตรา 9 เจ้าหนี้ มี ประกัน จะ ฟ้อง ลูกหนี้ให้ ล้มละลาย ได้ ก็ ต่อเมื่อ (1) ฯลฯ และ (3) กล่าว ใน ฟ้อง ว่า ถ้า ลูก หนีล้มละลาย แล้ว จะ ยอม สละ หลักประกัน เพื่อ ประโยชน์ แก่ เจ้าหนี้ ทั้งหลายหรือ ตีราคา หลักประกัน มา ใน ฟ้อง ซึ่ง เมื่อ หัก กับ จำนวน หนี้ ของ ตน แล้วเงิน ยัง ขาด อยู่ สำหรับ ลูกหนี้ ซึ่ง เป็น บุคคลธรรมดา เป็น จำนวนไม่ น้อยกว่า ห้า หมื่น บาท หรือ ลูกหนี้ ซึ่ง เป็น นิติบุคคล เป็น จำนวนไม่ น้อยกว่า ห้า แสน บาท ” ที่ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 ฎีกา ว่า คำฟ้อง โจทก์ต้อง บรรยาย ให้ ครบ หลักเกณฑ์ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ซึ่ง บัญญัติ ว่า “คำฟ้อง ต้อง แสดง โดย แจ้งชัดซึ่ง สภาพแห่งข้อหา ของ โจทก์ และ คำขอบังคับ ทั้ง ข้ออ้าง ที่อาศัยเป็น หลักแห่งข้อหา เช่นว่า นั้น ” โจทก์ จึง ต้อง กล่าว ใน ฟ้อง ว่า จะ ยอม สละหลักประกัน เพื่อ ประโยชน์ แก่ เจ้าหนี้ ทั้งหลาย หรือ ตีราคา หลักประกันมา ใน ฟ้อง ซึ่ง เมื่อ หัก กับ จำนวน หนี้ ของ ตน แล้ว เงิน ยัง ขาด อยู่เมื่อ โจทก์ ไม่ได้ ตีราคา หลักประกัน ที่ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 นำ มา จำนอง ว่าใน ขณะ ฟ้อง มี ราคา เท่าใด หัก แล้ว เงิน ยัง ขาด อยู่ เท่าใด จึง ขาดองค์ประกอบ ตาม มาตรา 10(2) เห็นว่า โจทก์ บรรยายฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1เป็น หนี้ โจทก์ หลาย ประเภท ดังนี้ คือ หนี้ กู้ เบิกเงินเกินบัญชี ฯลฯรวมเป็น ต้นเงิน และ ดอกเบี้ย ถึง วันฟ้อง จำนวน 308,394,169.33 บาทโดย มี จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 5 และ นาย พัฒนชัย อารีเลิศรัตน์ เป็น ผู้ค้ำประกัน ใน วงเงิน 177,000,000 บาท 480,960,008.90 บาท63,600,000 บาท 61,128,163.50 บาท และ 286,100,583.80 บาทตามลำดับ นอกจาก นี้ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 และ นาย พัฒนชัย ได้ นำ ที่ดิน มา จดทะเบียน จำนอง เป็น ประกัน ด้วย ใน วงเงิน 2,000,000 บาท6,000,000 บาท และ 14,000,000 บาท ตามลำดับ โจทก์ ไม่ฟ้องนาย พัฒนชัย เพราะ นาย พัฒนชัย ถูก ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ เป็น บุคคล ล้มละลาย แล้ว ตาม คดี หมายเลขแดง ที่ ล. 557/2529 จำเลย ที่ 1ผิดสัญญา โจทก์ มี หนังสือ บอกกล่าว ให้ จำเลย ทั้ง ห้า ชำระหนี้ ทั้งหมด แล้วแต่ จำเลย ทั้ง ห้า เพิกเฉย การ ที่ โจทก์ เป็น เจ้าหนี้ จำเลย ทั้ง ห้า เป็นจำนวน ไม่ น้อยกว่า 500,000 บาท และ เป็น หนี้ ถึง กำหนด เวลา ชำระ เป็นจำนวน ที่ แน่นอน แล้ว หลักประกัน มี ราคา เพียง เล็กน้อย ไม่ เพียงพอที่ จะ นำ มา ชำระหนี้ ให้ แก่ โจทก์ ได้ อย่าง แน่นอน จำเลย ทั้ง ห้า ไม่มีทรัพย์สิน อื่น ใด ที่ จะ นำ มา ชำระหนี้ แก่ โจทก์ ได้ จำเลย ที่ 1ได้ หยุด ดำเนิน กิจการ และ ยักย้าย ทรัพย์สิน ไป ให้ พ้น อำนาจศาล โจทก์ ได้มี หนังสือ ทวงถาม จำเลย ทั้ง ห้า ให้ ชำระหนี้ ไม่ น้อยกว่า 2 ครั้ง ซึ่ง มีระยะเวลา ห่าง กัน ไม่ น้อยกว่า 30 วัน ขอให้ ศาล มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของ จำเลย ทั้ง ห้า เด็ดขาด และ พิพากษา ให้ เป็น บุคคล ล้มละลายให้ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ทำการ รวบรวม ทรัพย์สิน ของ จำเลย ทั้ง ห้าเพื่อ นำ มา ชำระหนี้ ให้ แก่ บรรดา เจ้าหนี้ เห็น ได้ว่า ตาม คำฟ้อง ของโจทก์ จำเลย ที่ 1 เป็น หนี้ โจทก์ ถึง 308,394,169.33 บาท จำเลย ที่ 2ถึง ที่ 4 เป็น ผู้ค้ำประกัน ใน วงเงิน ถึง 177,000,000 บาท ,480,960,008.90 บาท , 63,600,000 บาท และ 61,128,163.50 บาทส่วน หลักประกัน รวมกัน มี จำนวน เพียง 22,000,000 บาท และ คำขอ ท้ายฟ้องขอให้ นำ ทรัพย์สิน ของ จำเลย ทั้ง ห้า มา ชำระหนี้ ให้ แก่ บรรดา เจ้าหนี้จาก คำฟ้อง ทั้งหมด ถือได้ว่า โจทก์ ตีราคา หลักประกัน มา ใน ฟ้อง แล้วซึ่ง เมื่อ หัก กับ จำนวน หนี้ แล้ว ยัง ขาด อยู่ ไม่ น้อยกว่า 500,000 บาทจึง เป็น การ บรรยายฟ้อง ที่ ครบถ้วน ชอบ ด้วย มาตรา 10(2) แล้วคำพิพากษา ศาลฎีกา ที่ 175/2529 ที่ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 อ้าง มา นั้นข้อเท็จจริง ไม่ ตรง กับ คดี นี้ ฎีกา จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน

Share