แหล่งที่มา : เนติบัณฑิตยสภา
ย่อสั้น
จำเลยเป็นพนักงานปกครองได้รับมอบหมายจากหัวหน้าเขตให้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานหมวดนิติกรรมและที่ดินเมื่อโจทก์มิได้มาพบและขอให้จำเลยรับรองใบมอบอำนาจให้ขายที่ดิน แต่จำเลยได้ให้การยืนยันต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์เป็นผู้มาขอให้รับรองหนังสือมอบอำนาจด้วยตนเอง ทั้งที่ได้รู้จักตัวโจทก์แล้วก่อนให้การ ทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยต้องมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยเบิกความเป็นพยานต่อศาลแพ่งแล้วกล่าวถึงข้อความอันเป็นเท็จ สุดท้ายกล่าวว่าข้อความเท็จนี้เป็นข้อสำคัญในคดีด้วย มิได้บรรยายว่าคดีที่เบิกความมีข้อพิพาท ประเด็นและข้อความที่เป็นเท็จเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร ดังนี้ ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) และปัญหาว่าฟ้องชอบด้วยกฎหมายอันจะลงโทษจำเลยได้หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ยกขึ้นฎีกาศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยยกฟ้องได้
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นข้าราชการสังกัดเขตบางรักกรุงเเทพมหานคร ตำแหน่งพนักงาานปกครอง 3 ทำหน้าที่เกี่ยวกับหมวดนิติกรรมต่าง ๆ และได้รับมอบหมายจากหัวหน้าเขตบางรักให้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานหมวดนิติกรรมและที่ดิน มีหน้าที่ทำเอกสาร รับเอกสารกรอกข้อความในเอกสาร รับรองเอกสารทางราชการ จำเลยกระทำผิดต่อกฎหมายหลายบทหลายกระทงหลายกรรมต่างกันกล่าวคือเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2519 เวลากลางวัน ขณะปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวแล้ว จำเลยได้ทำการรับรองหนังสือมอบอำนาจที่ 37/2519 ลงวันที่23 เมษายน 2519 ว่า นายผ่อง วิรยศิริ ได้ลงลาายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวต่อหน้าจำเลย โดยมีความประสงค์เพื่อมอบอำนาจให้นายคณิสสร วิรยศิริ ไปขอออกใบแทนโฉนดที่ดินเลขที่ 12910, 12911, 12912 ซึ่งเป็นความเท็จและในวันที่ 21 มิถุนายน 2519 เวลากลางวัน จำเลยได้ทำการรับรองหนังสือมอบอำนาจที่ 443/2519 ลงวันที่ 221 มิถุนายน 2519 ว่านายผ่อง วิรยศิริ ได้ลงลายมื่อชื่อมอบอำนาจดังกล่าวต่อหน้าจำเลย โดยมีความประสงค์เพื่อมอบอำนาจให้นาายคณิสสร วิรยศิริ ขายที่ดินโฉนดเลขที่ 12910, 12911 จำนวน 2 ฉบับ และขายที่ดินโฉนดเลขที่ 12912 อีก 1 ฉบับ ซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงโจทก์ไม่เคยนำหนังสือมอบอำนาจฉบับใดไปให้จำเลยรับรองลงลายมือชื่อและทำการมอบอำนาจอย่างใดเลยโจทก์ไม่เคยลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจต่อหน้าจำเลย และลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวข้างต้น ก็ไม่ใช่ลายมือชื่อของโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเป็นการรับรองอันเป็นเท็จ ทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ และเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2520 เวลากลางวัน จำเลยได้สาบานตนแล้วให้การแจ้งต่อพันตำรวจตรีชัจจ์ กุลดิลก สารวัตรแผนก 2 กองกำกับการ 1 กองปราบปรามซึ่งเป็นพนักงาานสอบสวนใจความว่า นายผ่อง วิริยศิริ มาขอให้จำเลยรับรองลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้บุตรชายไปขอออกใบแทนโฉนดที่ดินจากกรมที่ดินเนื่องจากโฉนดสูญหาย จำเลยเชื่อว่าเป็นตัวนายผ่องจริงจึงลงชื่อเป็นพยานให้เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2519 และจำเลยได้แจ้งต่อไปว่า ในวันที่ 21 มิถุนายน 2519 นายผ่อง วิรยศิริ ได้นำหนังสือมอบอำนาจให้ขายที่ดินจำนวน 2 ฉบับมาให้จำเลยรับรองลายมือชื่อ และการมอบอำนาจในหนังสือนั้น จำเลยก็รับรองให้ ต่อมาเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2520 เวลากลาางวัน จำเลยนี้สาบานตนแล้วเบิกความต่อศาลแพ่งในคดีหมายเลขดำที่ 295/2520 ระหว่างนายผ่อง วิรยศิริ โจทก์ นายสมัคร สุนทรเวช ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ 1 กับพวก จำเลยว่าจำเลยได้รับรองเกี่ยวกับหนังสือมอบอำนาจของนายผ่องโจทก์ 2 ครั้งครั้งแรกฉบับเดียวมอบอำนาจขอออกใบแทนโฉนดที่ดิน ครั้งที่ 2 เป็นการมอบอำนาจขอขายที่ดิน 2 ฉบับ โดยนายผ่องโจทก์มาขอให้รับรองได้แสดงบัตรประชาชนต่อจำเลยแต่ไม่ได้ถ่ายภาพไว้ ข้อความที่จำเลยแจ้งต่อพันตำรวจตรีชัจจ์ กุลดิลก พนักงานสอบสวน และที่จำเลยเบิกความต่อศาลแพ่งในคดีดังกล่าวเป็นความเท็จ เพราะผู้ที่แสดงตนต่อจำเลยในวันที่ 23 เมษายน 2519 และวันที่ 21 มิถุนายน 2519 เป็นบุคคลอื่นมิใช่ตัวโจทก์ ทั้งโฉนดของโจทก์มิได้สูญหายและโจทก์ไม่ประสงค์จะขายที่ดิน ลายมือชื่อในคำร้องขอให้รับรองลายมือชื่อและการมอบอำนาจ กับลายมือชื่อในช่องผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจทั้ง 3 ฉบับที่จำเลยให้การและเบิกความถึงลายมือของโจทก์แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาต่อพนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และเป็นการเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีของศาลทำให้โจทก์เสียหายข้อความเท็จนี้เป็นข้อสำคัญในคดีด้วยเหตุเกิดที่แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบ แขวงพระราชวัง เขตพระนคร และแขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมาย มาตรา 137, 157, 162, 172 และ 177
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้อง มีคำสั่งประะทับฟ้อง
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 ลงโทษจำคุก 1 ปี มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 ลงโทษจำคุก 1 ปี รวมลงโทษจำคกุ 2 ปี คำขอนอกจากนี้ให้ยกฟ้อง
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 จำคุกจำเลย 3 เดือน รวมกับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 เป็นโทษจำคุก 1 ปี 3 เดือน คำให้การของจำเลยชั้นสอบสวนและชั้นพิจารณาเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา เป็นเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ 1 ใน 3 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกจำเลยไว้มีกำหนด 10 เดือนนอกจากที่แก้ให้ไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา โดยอธิบดีกรมอัยการรับรองว่ารูปคดีมีเหตุผลอันสมควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว
โจทก์นำสืบว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 12910, 12911และ 12912 แขวงคลองตัน เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่22 พฤศจิกายน 2519 มีผู้บอกโจกท์ว่ามีคนใช้รถไถที่ดินของโจทก์ รุ่งขึ้นโจกท์ไปตรวจสอบหลักฐานที่สำนักงานที่ดินเขตพระโขนงปรากฏว่ามีคนปลอมใบมอบอำนาจให้นายคณิสสรบุตรโจทก์ไปขอออกใบแทนโฉนดเลขที่ 1290, 12911 และ 12912 ที่สูญหายเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2519 ตามเอกสารหมาย จ.7 และมีการปลอมใบมอบอำนาจว่าโจทก์มอบอำนาจให้นายคณิสสรบุตรโจทก์ขายที่ดินดังกล่าวแทนโจทก์เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2519 เอกสารหมาย จ.8, จ.9 โจทก์จึงได้ร้องทุกข์ต่อพันตำรวจตรีชัจจ์ กุลดิลก พนักงานสอบสวนตามเอกสารหมาย จ.15 แล้วร้อยตำรวจเอกเพชรจิตต์ เกตุผาสุข สืบหาตัวคนร้ายได้ความว่า นายมานพ เจนแพทย์วัฒนกุล ร่วมกับนายอ้วน นายชัย เป็นผู้ปลอมใบมอบอำนาจทั้งสามฉบับ ณ ที่โต๊ะทำงานของจำเลย แล้วต่อมาได้โอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่นายสมชายวินศิริไป ปรากฏตามคำรับสารภาพของนายมานพ ตามเอกสารหมาย จ.16และบันทึกชี้โต๊ะทำงานเอกสารหมาย จ.17 พันตำรวจตรีชัจจ์ได้สอบสวนจำเลยในฐานะเป็นพยานในวันที่ 25 มกราคม 2520 จำเลยได้ให้การต่อพันตำรวจตรีชัจจ์ ความว่า เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2519 นายผ่อง วิรยศิริโจทก์ เป็นผู้มาขอให้จำเลยรับรองหนังสือมอบอำนาจที่นายผ่องจะมอบอำนาจให้นายคณิสสรบุตร ไปขอใบแทนโฉนดที่ดินที่สูญหายจากเจ้าพนักงานที่ดิน ได้ให้นายผ่องลงลายมือชื่อในช่อองผู้มอบอำนาจต่อหน้าจำเลย และลงชื่อจำเลยประทับตราในฐานะปฏิบัติหน้าที่แทนหัวหน้าเขต แล้วมอบต้นฉบับใบมอบอำนาจให้นายผ่องไป ส่วนสำเนาใบมอบอำนาจจำเลยเก็บรักษาไว้ และให้การต่อไปว่าในวันที่ 21 มิถุนายน2519 นายผ่องมาพบจำเลยอีกขอให้รับรองหนังสือมอบอำนาจให้นายคณิสสรบุตร ไปขายที่ดินแทนรวม 2 ฉบับ ฉบับหนึ่งให้ขายที่ดินโฉนดเลขที่ 12910, 12911 อีกฉบับหนึ่งให้ขายที่ดินโฉนดเลขที่ 12912จำเลยทำการรับรองให้โดยวิธีการเช่นเดียวกับการรับรองฉบับแรก ปรากฏตามเอกสารหมาย จ.4 และต่อมาวันที่ 11 สิงหาคม 2520 จำเลยเข้าเบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 295/2520 ระหว่างนายผ่อง วิรยศิริ โจทก์ นายสมัคร สุนทรเวช ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ 1 กับพวก จำเลย ว่าโจทก์ได้ไปขอให้จำเลยรับรองหนังสือมอบอำนาจรวม 3 ฉบับ และเบิกความข้ออื่นทำนองเดียวกับที่ได้ให้การไว้ต่อพันตำรวจตรีชัจจ์ ตามเอกสารหมาย จ.5 การที่จำเลยให้การต่อพนักงานสอบอสวนและเบิกความต่อศาลยืนยันว่าโจทก์เป็นผู้ไปขอให้จำเลยรับรองใบมอบอำนาจทั้งสองครั้งและลงชื่อในช่องผู้รับมอบอำนาจต่อหน้าจำเลยนั้นเป็นความเท็จ เพราะในวันที่ 23 เมษายน 2519 โจทก์ได้เข้าประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ปรากฏหลักฐานรายงานการประชุมใหญ่ เอกสารหมาย จ.6 และในวันที่21 มิถุนายน 2519 โจทก์อยู่กับบ้านไม่เคยมอบอำนาจให้นายคณิสสรบุตร ไปขอใบแทนโฉนดหรือขายที่ดิน เพราะโฉนดทั้ง 3 ฉบับไม่เคยสูญหาย และโจทก์ไม่เคยติดต่อจะขายที่ดิน การกระทำของจำเลยเป็นการแจ้งความเท็จ และเบิกความเท็จ
จำเลยนำสืบว่า จำเลยรับราชการในตำแหน่งพนักงานปกครอง 3เขตบางรัก มีหน้าที่รับผิดชอบในแผนกนิติกรรม เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2519 นายประสิทธิ์ สุรพันธ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายภาษีเขตบางรัก ได้นำโจทก์นี้ไปพบจำเลย โจทก์ขอให้จำเลยรับรองใบมอบอำนาจให้บุตร โจทก์ไปขอใบแทนโฉนดที่ดินที่สูญหาย เมื่อจำเลยดูบัตรประจำตัวประชาชนแล้วได้ช่วยเขียนคำร้องให้โจกท์ลงชื่อ จากนั้นให้โจทก์ลงชื่อในช่องผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจและสำเนาที่โจทก์นำมายื่นซึ่งมีข้อความเรียบร้อยแล้ว จากนั้นจำเลยได้พิมพ์คำรับรองด้านหลัง ลงชื่อจำเลยแล้วมอบต้นฉบับให้โจทก์ไป ส่วนสำเนาเก็บรักษาไว้ ต่อมาวันที่ 21 มิถุนายน 2519 โจทก์ไปพบจำเลยอีกขอให้รับรองหนังสือมอบอำนาจให้ขายที่ดินแทนโจทก์อีก 2 ฉบับ ได้มีการยื่นคำร้อง และมีการรับรองหนังสือมอบอำนาจโดยวิธีการเช่นเดียวกับครั้งแรก ต่อมาวันที่ 29 พฤศจิกายน 2519 มีเจ้าพนักงานที่ดินไปขอดูสำเนา (หรือคู่ฉบับ) ปรากฏว่าไม่ตรงกับสำเนาภาพถ่ายหนังสือมอบอำนาจที่เจ้าพนักงานที่ดินนำมาให้ดู เพราะฉบับที่เจ้าพนักงานที่ดินให้ดูไม่ใช่ลายเซ็นของจำเลยและไม่ใช่ตราของเขตบางรักที่แท้จริง จำเลยได้ขอถ่ายภาพสำเนานั้นไว้ คือเอกสารหมาย ล.12 จำนวน 2 ฉบับ ในวันที่ 1 ธันวาคม 2519 โจทก์ได้ไปยื่นคำร้องขอคัดสำเนาหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์เองไปขายให้จำเลยรับรองโดยอ้างว่าไม่เคยไปขอให้จำเลยรับรอง ต่อมาวันที่ 25 มกราคม 2520 จำเลยได้ให้การต่อสู้ต่อพันตำรวจตรีชัจจ์ พนักงานสอบสวนตามเอกสารหมาย จ.16 และในวันที่ 11 สิงหาคม 2520 จำเลยได้เบิกความต่อศาลตามเอกสารหมาย จ.5 คำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวนและคำเบิกความต่อศาลว่าตัวโจทก์เป็นผู้ไปขอให้จำเลยรับรองหนังสือมอบอำนาจด้วยตนเอง ล้วนเป็นความจริงทั้งสิ้น
คดีมีข้อวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยว่า จำเลยได้กระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จ และฐานเบิกความเท็จดังฟ้องหรือไม่ ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่คู่ความนำสืบโดยไม่โต้แย้งกันฟังได้ว่า มีผู้ทุจริตนำที่ดินของโจทก์ โฉนดเลขที่ 12910, 12911 และ 12912 ไปจดทะเบียนโอนให้แก่นายสมชายวินศิริ ก่อนทำการขายได้มีการมอบอำนาจในนามของโจทก์เจ้าของที่ดินมอบอำนาจให้นามนายคณิสสรบุตรโจทก์จัดการขอใบแทนโฉนดที่ดินดังกล่าวโดยอ้างว่าสูญหาย แล้วต่อมามีการมอบอำนาจให้จัดการขายที่ดินดังกล่าว พนักงานสอบสวนได้ตัวนายมานพ เจนแพทย์วัฒนกุล กับพวก เป็นผู้ต้องหา นายมานพให้การรับว่าการปลอมใบมอบอำนาจได้กระทำที่โต๊ะทำงานของจำเลย จึงมีการสอบสวนจำเลยในฐานะพยานจำเลยให้การต่อพันตำรวจตรีชัจจ์ กุลดิลก พนักงาานสอบสวนว่าเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2519 โจทก์เป็นผู้ไปพบจำเลยยังที่ทำงานของจำเลยในเขตบางรักขอให้จำเลยรับรองการมอบอำนาจของโจทก์ให้แก่นายคณิสสรบุตรเพื่อทำการขอใบแทนโฉนดที่ดินของโจทก์เลขที่ 12910, 12911และ 12912 โดยอ้างว่าสูญหาย จำเลยก็รับรองให้ และต่อมาวันที่ 21 มิถุนายน 2519 โจทก์มาพบจำเลยอีกขอให้รับรองการมอบอำนาจแก่นายคณิสสรเพื่อทำการขายที่ดินดังกล่าว จำเลยก็รับรองให้อีกเช่นเดียวกันแล้วจำเลยเก็บสำเนาไว้ ส่วนต้นฉบับได้มอบให้โจทก์ ทั้งนี้โดยเพียงแต่ตรวจดูบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์แล้วคืนไป การมาของโจทก์ครั้งแรกมีนายประสิทธิ์ สุรพันธ์ เป็นผู้นำมารู้จักจำเลย เกี่ยวกับความผิดฐานแจ้งความเท็จนั้นโจทก์นำสืบว่าไม่เคยมาขอให้จำเลยรับรองการมอบอำนาจแก่นายคณิสสรบุตร เพราะโฉนดของโจทก์ไม่สูญหาย และไม่เคยคิดจะขายที่ดินดังกล่าว นายคณิสสรอยู่เรือนเดียวกับโจทก์ ไม่เคยรับมอบอำนาจและไม่ได้เป็นผู้ขายที่ดินรายนี้พิเคราะห์แล้ว เห็นว่าพยานโจทก์นายพีททรัพย์ สุวรรณวิริยะ นายอำนาจ สพันธุพงศ์ และนางองอร สหันธุพงศ์ เบิกความสอดคล้องกันว่าเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2519 โจทก์เข้าประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด และทำธุระอื่นตั้งแต่เช้าจนเย็น และในวันที่ 21 มิถุนายน 2519 โจทก์อยู่บ้านตลอดวันโจทก์ได้พบและรู้จักจำเลยเป็นครั้งแรกในวันที่ 1 ธันวาคม 2519 อันเป็นวันที่โจทก์ไปยื่นคำร้องขอคัดสำเนาหนังสือมอบอำนาจจากจำเลย จำเลยก็นำสืบรับว่าได้พบกับโจทก์ในวันที่ 1 ธันวาคม 2519 และโจทก์ได้กล่าวว่า ไม่เคยขอให้จำเลยรับรองหนังสือมอบอำนาจส่วนที่จำเลยนำสืบว่าได้พบและรู้จักโจทก์ครั้งแรกในวันที่ 23 เมษายน2519 อันเป็นวันที่โจทก์มอบอำนาจให้นายคณิสสรขอใบแแทนโฉนดที่ดินนั้น พยานจำเลยเบิกความขัดกันโดยจำเลยเบิกความว่าโจทก์ผู้เดียวมาติดต่อกับจำเลย แต่นายประสิทธิ์ สุรพันธ์ ว่าโจทก์มากับนางเพ็ญศรีภริยา นายประสิทธิ์ยังได้บอกแก่จำเลยว่า คนทั้งสองจะมาทำเรื่องเกี่ยวกับนิติกรรม และนายประสิทธิ์ยังเบิกความว่า วันที่นำโจทก์กับภริยามาพบจำเลยนั้นประมาณเดือนกรกฎาคม หรือสิงหาคม 2519 ซึ่งแตกต่างไปนอกจากนั้นโจทก์แสดงหลักฐานได้ว่าโฉนดยังอยู่ที่โจทก์ไม่สูญหายและนายคณิสสรไม่ได้เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ โจทก์เป็นผู้มีฐานะทางทรัพย์สินและเป็นข้าราชการบำนาญ ยังสามารถไปทำธุระนอกบ้านได้ หากโจทก์ต้องการขายที่ดินของตนจริง โจทก์คงทำได้โดยไม่ต้องมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำแทนเพราะสะดวกรวดเร็วกว่า ทั้งโจทก์นำสืบถึงคำรับสารภาพของนายมานพในชั้นสอบสวนว่าเป็นผู้ทำใบมอบอำนาจปลอมที่โต๊ะทำงานของจำเลยพฤติการณ์ดังกล่าวฟังประกอบได้ว่า โจทก์มิได้เป็นผู้มาพบจำเลยและขอให้จำเลยรับรองใบมอบอำนาจทั้งสองคราว พยานจำเลยไม่อาาจหักล้างพยานโจทก์ได้ เมื่อจำเลยได้ให้การยืนยันต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์เป็นผู้มาขอให้รับรองหนังสือมอบอำนาจด้วยตนเองทั้งที่ได้รู้จักตัวโจทก์แล้วก่อนให้การต่อพนักงานสอบสวนไม่เป็นความจริง ทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยต้องมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ ฎีกาจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ส่วนความผิดในข้อหาฐานเบิกความเท็จนั้น โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยเบิกความเป็นพยานต่อศาลแพ่งในคดีหมายเลขดำที่ 295/2520 ระหว่างนายผ่อง วิรยศิริ โจทก์ นายสมัคร สุนทรเวช ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ 1 กับพวก จำเลย แล้วกล่าวถึงข้อความอันเป็นเท็จ สุดท้ายกล่าวว่า ข้อความเท็จนี้เป็นข้อสำคัญในคดีด้วย มิได้บรรยายว่าคดีที่เบิกความมีข้อพิพาท ประเด็นและข้อความที่เป็นเท็จเป็นข้อสำคัญในคดีออย่างไร จึงเป็นฟ้องที่ไม่ได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) และปัญหาว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายอันจะลงโทษจำเลยได้หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่หยิบยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษนั้น พิเคราะห์สภาพความผิดแล้ว เห็นว่าไม่สมควรรอการลงโทษ”
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยให้ลงโทษจำคุกจำเลยสองเดือน