แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
การที่ลูกหนี้ที่1ได้ทำนิติกรรมขายที่ดินและบ้านพิพาทให้ผู้คัดค้านที่1โดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา24จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113(มาตรา150ใหม่) การที่ผู้รับโอนจะพิสูจน์แสดงให้เป็นที่พอใจศาลว่าการโอนนั้นได้กระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนอันจะทำให้ไม่ถูกศาลสั่งให้เพิกถอนการโอนได้ก็ต่อเมื่อการโอนได้กระทำในระหว่างระยะเวลา3ปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้นซึ่งคำว่า”ภายหลังนั้น”หมายถึงภายหลังจากการขอให้ล้มละลายแล้วจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นแต่ถ้าการโอนได้กระทำลงภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้นั้นคดีก็ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา24หาใช่บังคับตามมาตรา114ไม่
ย่อยาว
คดี สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ฟ้อง ลูกหนี้ (จำเลย ) ทั้ง สอง ให้ เป็นบุคคล ล้มละลาย เมื่อ วันที่ 3 กรกฎาคม 2532 ศาล มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ ทั้ง สอง เด็ดขาด เมื่อ วันที่ 18 สิงหาคม 2532 และ พิพากษาให้ ลูกหนี้ ทั้ง สอง เป็น บุคคล ล้มละลาย เมื่อ วันที่ 5 เมษายน 2533ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า ตาม ทาง สอบสวน ของ ผู้ร้อง พบ ว่า เมื่อ วันที่30 สิงหาคม 2532 ลูกหนี้ ที่ 1 ได้ ทำการ โอน ขาย ที่ดิน โฉนด เลขที่ 14214พร้อม สิ่งปลูกสร้าง เลขที่ 56/7 ให้ แก่ ผู้คัดค้าน ที่ 1 และ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2532 ผู้คัดค้าน ที่ 1 ได้ โอน ขาย ที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ดังกล่าว ให้ แก่ ผู้คัดค้าน ที่ 2 การ โอน ขาย ดังกล่าวระหว่าง ลูกหนี้ ที่ 1 กับ ผู้คัดค้าน ที่ 1 เมื่อ วันที่ 30 สิงหาคม2532 เป็น การ โอน ภายหลัง จาก ที่ ลูกหนี้ ที่ 1 ถูก ศาล สั่ง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แล้ว จึง เป็น การกระทำ โดย ปราศจาก อำนาจ ต้องห้าม ตาม มาตรา 22ประกอบ มาตรา 24 แห่ง พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ขอให้มี คำสั่ง ว่า นิติกรรม การ ซื้อ ขาย ที่ดิน พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ดังกล่าวระหว่าง ลูกหนี้ ที่ 1 กับ ผู้คัดค้าน ที่ 1 และ ระหว่าง ผู้คัดค้าน ที่ 1กับ ผู้คัดค้าน ที่ 2 เป็น โมฆะ และ มี คำสั่ง ให้ เจ้าพนักงาน ที่ดินเพิกถอน รายการ จดทะเบียน ใน สารบัญ ที่ดิน ดังกล่าว ด้วย
ผู้คัดค้าน ที่ 1 ยื่น คำคัดค้าน ว่า ผู้คัดค้าน ที่ 1 ซื้อ ที่ดินโดยสุจริต ไม่รู้ ว่า ลูกหนี้ ที่ 1 มี หนี้สินล้นพ้นตัว และ ถูก ศาลมี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด และ เป็น การ ซื้อ ขาย โดย มีค่า ตอบแทนขอให้ ยกคำร้อง
ผู้คัดค้าน ที่ 2 ไม่ยื่น คำคัดค้าน
ศาลชั้นต้น เห็นว่า คดี พอ วินิจฉัย ได้ แล้ว จึง สั่ง งดสืบพยานทั้ง สอง ฝ่าย แล้ว วินิจฉัย ว่า นิติกรรม การ ซื้อ ขาย ที่ดิน ระหว่างลูกหนี้ ที่ 1 กับ ผู้คัดค้าน ที่ 1 เป็น โมฆะ ให้ เพิกถอน รายการ จดทะเบียนโอน ใน สารบัญ ที่ดิน ดังกล่าว ระหว่าง ลูกหนี้ ที่ 1 และ ระหว่างผู้คัดค้าน ที่ 1 กับ ผู้คัดค้าน ที่ 2 ส่วน ที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ขอให้ ศาล มี คำสั่ง ให้ เจ้าพนักงาน ที่ดิน เพิกถอน รายการจดทะเบียน ใน สารบัญ ที่ดิน ดังกล่าว นั้น เห็นว่า เจ้าพนักงาน ที่ดินมิได้ ถูก ฟ้อง เป็น คู่ความ ใน คดี นี้ ด้วย เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์จึง ขอให้ ศาล มี คำสั่ง บังคับ เจ้าพนักงาน ที่ดิน ซึ่ง เป็น บุคคลภายนอกให้ กระทำการ เพิกถอน รายการ จดทะเบียน ไม่ได้ คำขอ ส่วน นี้ จึง ให้ยก
ผู้คัดค้าน ที่ 1 อุทธรณ์ คำสั่ง
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
ผู้คัดค้าน ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ประการ แรก ว่านิติกรรม ขาย ที่ดิน และ บ้าน พิพาท ระหว่าง ลูกหนี้ ที่ 1 กับ ผู้คัดค้านที่ 1 ชอบ ด้วย กฎหมาย หรือไม่ ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 24 บัญญัติ ว่า “เมื่อ ศาล สั่ง พิทักษ์ทรัพย์ ของ ลูกหนี้ แล้วห้าม มิให้ ลูกหนี้ กระทำการ ใด ๆ เกี่ยวกับ ทรัพย์สิน หรือ กิจการ ของ ตนเว้นแต่ จะ ได้ กระทำ ตาม คำสั่ง หรือ ความเห็น ชอบ ของ ศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้จัดการ ทรัพย์ หรือ ที่ ประชุม เจ้าหนี้ ตาม ที่ บัญญัติไว้ ใน พระราชบัญญัติ นี้ ” จะ เห็น ได้ว่า ลูกหนี้ จะ กระทำการ ใด ๆเกี่ยวกับ ทรัพย์สิน หรือ กิจการ ของ ตน ได้ ก็ ต่อเมื่อ เข้า ข้อยกเว้นดัง ที่ บัญญัติ ไว้ ทั้งนี้ เพื่อ ให้การ ดำเนินการ ดังกล่าว ตก แก่เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ แต่ ผู้เดียว ดัง ที่ บัญญัติ ไว้ ใน มาตรา 22การ ที่ ลูกหนี้ ที่ 1 ได้ ทำนิติกรรม ขาย ที่ดิน และ บ้าน พิพาท ให้ผู้คัดค้าน ที่ 1 โดย ฝ่าฝืน บทบัญญัติ แห่งกฎหมาย ดังกล่าว จึง เป็นนิติกรรม ที่ มี วัตถุประสงค์ เป็น การ ต้องห้าม ชัดแจ้ง โดย กฎหมายนิติกรรม ระหว่าง ลูกหนี้ ที่ 1 และ ผู้คัดค้าน ที่ 1 ตกเป็น โมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 (มาตรา 150 ใหม่ )ส่วน ที่ ผู้คัดค้าน ที่ 1 อ้างว่า ผู้คัดค้าน ที่ 1 ซื้อ ที่ดิน และบ้าน พิพาท จาก ลูกหนี้ ที่ 1 เป็น การ ซื้อ ขาย โดย มีค่า ตอบแทน และ โดยสุจริตจึง ชอบ ด้วย พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 นั้นมาตรา 114 บัญญัติ ว่า “การ โอน ทรัพย์สิน หรือ การกระทำ ใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ ซึ่ง ลูกหนี้ ได้ กระทำ หรือ ยินยอม ให้ กระทำ ใน ระหว่างระยะเวลา สาม ปี ก่อน มี การ ขอให้ ล้มละลาย และ ภายหลัง นั้น ถ้า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ มี คำขอ โดย ทำ เป็น คำร้อง ศาล มีอำนาจ สั่ง เพิกถอน การ โอนหรือ การกระทำ นั้น ได้ เว้นแต่ ผู้รับโอน หรือ ผู้รับประโยชน์ จะ แสดงให้ พอใจ ศาล ว่า การ โอน หรือ การกระทำ นั้น ได้ กระทำ โดยสุจริต และมีค่า ตอบแทน ” เห็นว่า การ ที่ ผู้รับโอน จะ พิสูจน์ แสดง ให้ เป็น ที่ พอใจศาล ว่า การ โอน นั้น ได้ กระทำ โดยสุจริต และ มีค่า ตอบแทน อัน จะ ทำให้ไม่ ถูก ศาล สั่ง ให้ เพิกถอน การ โอน ได้ ก็ ต่อเมื่อ การ โอน ได้ กระทำ ใน ระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อน มี การ ขอให้ ล้มละลาย และ ภายหลัง นั้น ซึ่ง คำ ว่า”ภายหลัง นั้น ” หมายถึง ภายหลัง จาก การ ขอให้ ล้มละลาย แล้ว จน ถึงวันที่ ศาล มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เท่านั้น แต่ ถ้า การ โอน ได้ กระทำ ลงภายหลัง ที่ ศาล มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ของ ลูกหนี้ นั้น คดี ก็ ต้อง บังคับตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 24 ดัง ที่ ได้ วินิจฉัยมา ข้างต้น แล้ว หาใช่ บังคับ ตาม มาตรา 114 ดัง ที่ ผู้คัดค้าน ที่ 1อ้าง ไม่ สำหรับ นิติกรรม ซื้อ ขาย ที่ดิน และ บ้าน พิพาท ระหว่าง ผู้คัดค้านที่ 1 กับ ผู้คัดค้าน ที่ 2 นั้น ศาลอุทธรณ์ ไม่ได้ วินิจฉัย ให้ทั้ง ๆ ที่ ผู้คัดค้าน ที่ 1 ได้ อุทธรณ์ ใน ประเด็น นี้ ด้วย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ใน ส่วน นี้ จึง ไม่ชอบ ศาลฎีกา เห็นควร วินิจฉัย ให้ โดยไม่ต้อง ย้อนสำนวน เห็นว่า เมื่อ นิติกรรม ซื้อ ขาย ที่ดิน และ บ้าน พิพาทระหว่าง ลูกหนี้ ที่ 1 กับ ผู้คัดค้าน ที่ 1 ตกเป็น โมฆะ ผู้คัดค้าน ที่ 1ย่อม ไม่มี สิทธิ ใด ๆ ใน ที่ดิน และ บ้าน พิพาท นิติกรรม ซื้อ ขาย ที่ดินและ บ้าน พิพาท ระหว่าง ผู้คัดค้าน ที่ 1 กับ ผู้คัดค้าน ที่ 2 จึง ไม่ชอบเพราะ ผู้รับโอน ย่อม ไม่มี สิทธิ ดีกว่า ผู้โอน ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนตาม ศาลชั้นต้น ให้ เพิกถอน นิติกรรม ใน ส่วน นี้ ด้วย นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้องด้วย ใน ผล ฎีกา ของ ผู้คัดค้าน ที่ 1 ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน