แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
เมื่อผู้ตายถึงแก่กรรม มรดกย่อมตกทอดมาเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นทายาททันที โจทก์จึงเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท การที่จำเลยที่ 1 โอนทรัพย์มรดกให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ใช่ทายาท ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกได้จัดการมรดกทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งเป็นการเกินขอบอำนาจในฐานะผู้จัดการมรดก โจทก์ในฐานะเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้ เพราะเป็นกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากบุคคลอื่นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ กรณีไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 164 เดิม คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดกที่ดินพิพาททั้งสามแปลงระหว่างจำเลยที่ 1กับจำเลยที่ 2