คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94ห้ามเฉพาะการนำพยานบุคคลเข้าสืบแทนพยานเอกสารหรือประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อความในเอกสารในเมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงการที่โจทก์นำสืบถึงข้อตกลงเกี่ยวกับราคาที่ดินตลอดจนเงื่อนไขวิธีการชำระราคาที่ดินด้วยเช็คตามสัญญาจะซื้อขายอันเป็นเอกสารอีกส่วนหนึ่งนอกเหนือจากสัญญาซื้อขายที่ดินจึงหาต้องห้ามไม่ หนังสือสัญญาซึ่งระบุว่าเป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดินโดยโจทก์เจ้าของที่ดินตกลงจะขายให้แก่จำเลยที่4และจำเลยที่4ตกลงจะซื้อและมี ข้อสัญญาด้วยว่าเงินค่าธรรมเนียมในการซื้อขายก็ดีเงินค่าภาษีเงินได้ของสรรพากรหรือเงินค่าใช้จ่ายอื่นใดก็ดีที่เกี่ยวแก่การซื้อขายที่ดินตามสัญญานี้ผู้จะซื้อเป็นผู้ออกแทนผู้จะขายทั้งสิ้นแสดงว่าคู่กรณีจะไปทำสัญญาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อไปจึงเป็น สัญญาจะซื้อขายเท่านั้น

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 12 ธันวาคม 2527จำเลย ที่ 1 โดย จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ซึ่ง เป็น กรรมการ ผู้มีอำนาจกระทำการ แทน ได้ ทำ สัญญา จะซื้อ ที่ดิน จาก โจทก์ รวม 6 แปลง รวม ราคา94,236,138.11 บาท โดย ตกลง ชำระ ราคา ที่ดิน เป็น 9 งวด ทั้งนี้โดย จำเลย ทั้ง สาม ซื้อ ที่ดิน ดังกล่าว ใน ชื่อ ของ จำเลย ที่ 4 โดย จำเลยที่ 1 ยอม ร่วม ชดใช้ ราคา ที่ดิน เฉพาะ งวด ที่ 1 จำนวน 15,000,000 บาทด้วย และ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ซึ่ง เป็น กรรมการ ของ จำเลย ที่ 1 ยอมรับ ผิดเป็น ส่วนตัว ร่วม กับ จำเลย ที่ 4 ชดใช้ ราคา ที่ดิน ทั้งหมด และ ในวัน ดังกล่าว จำเลย ที่ 4 โดย จำเลย ที่ 5 ซึ่ง ได้รับ มอบอำนาจ จากจำเลย ที่ 6 และ ที่ 7 ซึ่ง เป็น กรรมการ ผู้มีอำนาจ กระทำการ แทนจำเลย ที่ 4 ได้ สั่งจ่าย เช็ค 9 ฉบับ เพื่อ ชำระหนี้ ราคา ที่ดินแต่ละ งวด ดังกล่าว โดย จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ได้ ลงลายมือชื่อ สลักหลัง เช็คทั้ง 9 ฉบับ นั้น ให้ แก่ โจทก์ ด้วย ต่อมา วันที่ 13 ธันวาคม 2527โจทก์ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน 6 แปลง ดังกล่าว ให้ แก่ จำเลย ที่ 4ครั้น เมื่อ เช็ค ฉบับที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 สำหรับ การ ชำระ ค่าที่ดินงวด ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ถึง กำหนด โจทก์ นำ ไป เรียกเก็บเงิน แต่ ธนาคารปฏิเสธ การ จ่ายเงิน ตามเช็ค ทั้ง 3 ฉบับ จำเลย ที่ 4 จึง ไม่อาจ ถือเอาประโยชน์ แห่ง เงื่อนเวลา ตามเช็ค ฉบับที่ 4 ถึง 9 ซึ่ง สั่งจ่าย ชำระค่าที่ดิน งวด ที่ 4 ถึง งวด ที่ 9 ดังกล่าว ได้ จำเลย ที่ 4 จึง ผิดนัดไม่ชำระ ราคา ที่ดิน ทั้งหมด เป็น เงิน 94,236,137.11 บาท ให้ แก่ โจทก์จำเลย ที่ 5 ที่ 6 ที่ 7 ต้อง รับผิด ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 ใน จำนวนเงิน ตามเช็ค ที่ สั่งจ่าย ชำระหนี้ ทั้ง 9 ฉบับ ขอให้ บังคับ จำเลย ที่ 2ถึง ที่ 7 ร่วมกัน ชำระ เงิน 100,409,054.93 บาท ให้ แก่ โจทก์ โดย ให้จำเลย ที่ 1 รับผิด ร่วม หรือ แทน จำเลย ทั้งหมด เป็น เงิน 19,349,178.09บาท และ ให้ จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 7 ชำระ ดอกเบี้ย และ ค่าเสียหาย ในอัตรา ร้อยละ 19 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 94,236,137.11 บาท นับ จากวันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ โดย ให้ จำเลย ที่ 1 ร่วมรับผิดหรือ แทน จำเลย ทั้งหมด ชำระ ดอกเบี้ย และ ค่าเสียหาย ใน อัตรา ดังกล่าวจาก ต้นเงิน 15,000,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ทั้ง เจ็ด ให้การ ใน ทำนอง เดียว กัน สรุป ใจความ ได้ว่าสัญญาจะซื้อขาย ที่ดิน ทำ ขึ้น เพื่อ อำพราง การ ที่ โจทก์ กู้เงิน จากจำเลย ที่ 1 ส่วน จำเลย ที่ 5 ที่ 6 ที่ 7 ลงชื่อ ใน เช็ค ใน นาม ของจำเลย ที่ 4 ขอให้ ยกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 4 ชำระ เงิน จำนวน94,236,137.11 บาท ให้ แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปีของ ต้นเงิน จำนวน 15,000,000 บาท , 6,900,000 บาท , 10,000,000 บาท ,8,000,000 บาท , 4,400,000 บาท , 6,436,137.11 บาท , 1,863,863.89 บาทและ 31,636,137.11 บาท นับ ตั้งแต่ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2528,10 ตุลาคม 2528, 10 เมษายน 2529, 10 ตุลาคม 2529, 10 เมษายน 2530,10 สิงหาคม 2530, 10 ธันวาคม 2530, 10 ธันวาคม 2530 และ20 ธันวาคม 2530 ตามลำดับ เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ทั้งนี้ โดยให้ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 4 ชำระ เงิน จำนวน94,236,137.11 บาท ให้ แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปีของ ต้นเงิน จำนวน 15,000,000 บาท , 6,900,000 บาท 10,000,000 บาท ,10,000,000 บาท , 8,000,000 บาท , 4,400,000 บาท , 6,436,137.11 บาท ,1,863,863.89 บาท และ 31,636,137.11 บาท นับ ตั้งแต่ วันที่11 กุมภาพันธ์ 2528, 10 ตุลาคม 2528, 10 เมษายน 2529,20 พฤศจิกายน 2529, 10 เมษายน 2530, 10 สิงหาคม 2530, 11 ธันวาคม2530, 11 ธันวาคม 2530 และ 21 ธันวาคม 2530 ตามลำดับ เป็นต้น ไปจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ กับ ให้ จำเลย ที่ 1 ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 4ชำระ เงิน จำนวน 15,000,000 บาท ให้ แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตราร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน จำนวน ดังกล่าว นับ ตั้งแต่ วันฟ้องเป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ประการ แรกตาม ฎีกา จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 ว่า การ ซื้อ ขาย ที่ดิน ของ โจทก์ กับจำเลย ที่ 4 นั้น ได้ ทำ ขึ้น โดย ไม่มี เจตนา ซื้อ ขาย กัน จริง หรือไม่ปัญหา นี้ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 ฎีกา ว่า สัญญาซื้อขาย ที่ดิน ของ โจทก์กับ จำเลย ที่ 4 ไม่มี เจตนา ซื้อ ขาย กัน จริง แต่ ทำ ขึ้น สืบเนื่อง จากเหตุ อันเป็น ความ ประสงค์ ของ โจทก์ ที่ จะ ขอ กู้เงิน จาก จำเลย ที่ 1เป็น เงิน 15,000,000 บาท แต่ จำเลย ที่ 1 ไม่มี เงิน จะ ให้ โจทก์ กู้จำเลย ที่ 1 ตกอยู่ใน ภาวะ ต้องการ ได้รับ ความ ช่วยเหลือ ทางการ เงินจาก กระทรวงการคลัง ใน โครงการ 4 เมษายน 2527จำเลย ที่ 1 จำต้อง หา หลักประกัน สำหรับ หนี้สิน ของ ลูกหนี้ จำเลย ที่ 1ที่ ไม่มี หลักประกัน จำนวน 50,000,000 บาท เศษ ตาม เงื่อนไข ของ โครงการ4 เมษายน 2527 ซึ่ง อยู่ ใน การ กำกับ ดูแล ของ กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย โจทก์ กับ จำเลย ที่ 4 และ จำเลย ที่ 1 ได้ ตกลง กันให้ จำเลย ที่ 4 รับโอน ที่ดินพิพาท ทั้ง 6 แปลง จาก โจทก์ แล้ว จำเลย ที่ 4นำ ที่ดิน ดังกล่าว ไป จำนอง เป็น ประกันหนี้ ที่ ไม่มี หลักประกัน ของ ลูกหนี้จำเลย ที่ 1 จำนวน 50,000,000 บาท เศษ และ หนี้ เงินกู้ ที่ โจทก์จะ ให้ จำเลย ที่ 4 กู้เงิน จำเลย ที่ 1 แทน โจทก์ อีก 14,000,000 บาทรวมเป็น ยอดเงิน 64,000,000 บาท เศษ อันเป็น ความ ประสงค์ ที่ แท้จริงโดย จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 มี พยานหลักฐาน และ เหตุผล หลาย ประการ สนับสนุนให้ รับฟัง ข้อเท็จจริง ได้ ตาม ข้อ กล่าวอ้าง ดังกล่าว แล้ว เห็นว่าข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า โจทก์ กับ จำเลย ที่ 4 ทำ สัญญาซื้อขาย ที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลง กัน จริง ตาม ฟ้อง ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 ใน ข้อ นี้ฟังไม่ขึ้น ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ประการ ต่อไป ตาม ที่ จำเลย ที่ 1ฎีกา อีก ว่า สัญญาซื้อขาย ตาม เอกสาร หมาย จ. 11 ระบุ ราคา ซื้อ ขาย เป็น เงิน31,000,000 บาท และ ผู้ขาย คือ โจทก์ ได้รับ เงิน ค่าที่ดิน ราย นี้เป็น ที่ เรียบร้อย แล้ว โจทก์ นำสืบ ว่า ราคา ซื้อ ขาย กัน จริง เป็น เงิน94,236,138.11 บาท และ ยัง รับ ชำระ ไม่ครบ ต้องห้าม ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 94 จึง รับฟัง ไม่ได้ นั้น เห็นว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 บัญญัติ ห้าม เฉพาะการ นำพยาน บุคคล เข้าสืบ แทน พยานเอกสาร หรือ ประกอบ ข้ออ้าง ว่า ยัง มีข้อความ เพิ่มเติม หรือ แก้ไข ข้อความ ใน เอกสาร ใน เมื่อ มี กฎหมายบังคับ ให้ ต้อง มี พยานเอกสาร มา แสดง เท่านั้น การ ที่ โจทก์ นำสืบ ถึงข้อตกลง เกี่ยวกับ ราคา ที่ดิน ตลอดจน เงื่อนไข วิธีการ ชำระ ราคา ที่ดินด้วย เช็ค ตาม สัญญาจะซื้อขาย เอกสาร หมาย จ. 24 อันเป็น เอกสารอีก ส่วน หนึ่ง นอกเหนือ จาก สัญญาซื้อขาย ที่ดิน ตาม เอกสาร หมาย จ. 11 นั้นหา ต้องห้าม ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าว ไม่ โจทก์ จึง นำสืบ ได้ ปัญหา ที่ต้อง วินิจฉัย ประการ สุดท้าย ตาม ที่ จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 4 ฎีกา ว่าสัญญา ตาม เอกสาร หมาย จ. 24 ไม่มี กำหนด เวลา ไป จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ที่ดิน อันเป็น อสังหาริมทรัพย์ กัน จึง ตกเป็น โมฆะ ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 456 นั้น เห็นว่า หนังสือ สัญญา เอกสาร หมาย จ. 24ระบุ ว่า เป็น สัญญาจะซื้อขาย ที่ดิน โดย โจทก์ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ใน ที่ดิน ตกลง จะขาย ให้ แก่ จำเลย ที่ 4 และ จำเลย ที่ 4 ตกลง จะซื้อ ที่ดินดังกล่าว และ ใน สัญญา ข้อ 5 กำหนด ว่า เงิน ค่าธรรมเนียม ใน การ ซื้อ ขายก็ ดี เงิน ค่าภาษี เงินได้ ของ สรรพากร หรือ เงิน ค่าใช้จ่าย อื่น ใด ก็ ดีเกี่ยว แก่ การ ซื้อ ขาย ที่ดิน ตาม สัญญา นี้ ผู้จะซื้อ เป็น ผู้ ออก แทนผู้จะขาย ทั้งสิ้น ข้อความ ตาม สัญญา ดังกล่าว แสดง ให้ เห็นว่า คู่กรณีจะ ไป ทำ สัญญา เป็น หนังสือ และ จดทะเบียน ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ต่อไปและ ต่อมา ก็ ได้ มี การ ทำ สัญญา และ จดทะเบียน โอน ขาย ที่ดินพิพาท แก่ กันตาม เอกสาร หมาย จ. 11 แสดง ว่า สัญญา ตาม เอกสาร หมาย จ. 24 เป็นสัญญาจะซื้อขาย เท่านั้น เมื่อ ทำ กัน เป็น หนังสือ ก็ ฟ้องร้อง บังคับคดีกัน ได้ มิใช่ สัญญาซื้อขาย เสร็จเด็ดขาด หา เป็น โมฆะ ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 456 ไม่ ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา ชอบแล้วฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 ฟังไม่ขึ้น ทุก ข้อ ”
พิพากษายืน

Share