คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ถนนพิพาทสร้างขึ้นโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่3และที่4ซึ่งเป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่สร้างถนนกรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา146ที่จะไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดิน จำเลยที่1ที่3ที่4ที่5และที่6เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินอันเป็นที่ตั้งถนนพิพาทบริษัท พ. เป็นผู้สร้างถนนพิพาทโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่3และที่4เพื่อให้บุคคลในเคหะชุมชนบัวขาวและจำเลยที่3กับที่4ใช้สอยด้วยดังนั้นจำเลยที่1ที่5และที่6ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินย่อมมีสิทธิใช้สอยถนนพิพาทได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1360 จำเลยที่1ว่าจ้างรถยนต์บรรทุก10ล้อบรรทุกดินไปถมที่ดินในโครงการหมู่บ้านของจำเลยที่1เป็นเหตุให้ถนนพิพาทเสียหายดังนี้แม้จำเลยที่1จะมีสิทธิใช้สอยถนนพิพาทได้ก็ตามแต่ในการใช้สิทธิของจำเลยที่1จะต้องไม่เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา421,1360การกระทำของจำเลยที่1จึงเป็นการกระทำที่ ละเมิดต่อโจทก์

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า บริษัท พาณิชยธนาสาร จำกัด ทำ สัญญา เข้าร่วม ดำเนินงาน จัดสรร ที่ดิน กับ การ เคหะ แห่งชาติ ตาม โครงการ เคหะชุมชน บัว ขาวเนื้อที่ ประมาณ 564 ไร่ บริษัท พาณิชยธนาสาร จำกัด ได้ สร้าง ถนน คอนกรีต กว้าง 10 เมตร ตั้งแต่ บริเวณ ทางแยก จาก ถนน รามคำแหง (สุขาภิบาล 3) เป็น ทาง เข้า โครงการ โดย ได้รับ ความ ยินยอม จาก นาย เชาว์ ภู่เจริญยศ และ จำเลย ที่ 3 ที่ 4 ซึ่ง เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์รวม ใน ที่ดิน ที่ สร้าง ถนน พิพาท และ เจตนา ให้ ถนน พิพาท เป็นทาง สำหรับ ผู้ซื้อ บ้าน อยู่อาศัย ใน โครงการ ดังกล่าว ได้ ใช้ เข้า ออกจาก หมู่บ้าน สู่ ถนน รามคำแหง อันเป็น ทางสาธารณะ ต่อมา ปี 2522การ เคหะ แห่งชาติ โอน กิจการ ทั้งหมด ให้ บริษัท พาณิชยธนาสาร จำกัด แล้ว บริษัท พาณิชยธนาสาร จำกัด ได้ โอน กิจการ ให้ โจทก์ ถนน พิพาท จึง ตกเป็น สิทธิ ของ โจทก์ แต่เพียง ผู้เดียว จำเลย ทั้ง หก ได้ ร่วมกันจ้างวาน หรือ ใช้ ให้ จำเลย ที่ 2 กับ จำเลย ที่ 5 และ ที่ 6 ได้ ซื้อ ที่ดินส่วน ของ จำเลย ที่ 4 จำนวน 200 ส่วน , 10 ส่วน และ 10 ส่วน ตามลำดับถนน พิพาท เป็น ส่วนควบ ของ ที่ดิน ซึ่ง เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน มีอำนาจใช้สอย ได้ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 กระทำ ไป ใน ฐานะ ที่ เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ ที่ดิน ที่ สร้าง ถนน พิพาท จึง ไม่เป็น การ ละเมิด และ ไม่ได้ ทำให้ถนน พิพาท เสียหาย ค่าเสียหาย หาก มี ก็ ไม่เกิน 2,000 บาท จำเลย ที่ 5ที่ 6 ไม่เคย จ้างวาน หรือ ใช้ บุคคล ใด ๆ ทำการ บรรทุก ดิน เพื่อ ถม ที่ดินตาม ที่ โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว วินิจฉัย ว่า จำเลย ที่ 1 ที่ 3 ที่ 4ที่ 5 และ ที่ 6 เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ซึ่ง เป็น ที่ ตั้ง ถนน พิพาทย่อม มีสิทธิ ใช้สอย ถนน พิพาท ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 ไม่เป็น การ ละเมิด ต่อ โจทก์ ส่วน จำเลย ที่ 2 กระทำการ ใน ฐานะ ผู้แทน จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น นิติบุคคล ไม่ได้ กระทำ ในฐานะ ส่วนตัว จำเลย ที่ 2 จึง มีสิทธิ ทำได้ โดยชอบ พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหา ว่า ถนน พิพาท ตกเป็น ส่วนควบ ของที่ดิน ทั้ง สอง แปลง ดังกล่าว ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 144 หรือไม่ เห็นว่า ตาม ทางนำสืบ ของ โจทก์ เอง ปรากฎ ว่าบริษัท พาณิชยธนาสาร จำกัด ซึ่ง โจทก์ ได้รับ โอน กรรมสิทธิ์ มา ได้ สร้าง ถนน พิพาท โดย ได้รับ ความ ยินยอม จาก จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4ซึ่ง เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ที่ สร้าง ถนน ฉะนั้น จึง ถือได้ว่าถนน พิพาท เข้า ข้อยกเว้น ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 146ที่ จะ ไม่เป็น ส่วนควบ ของ ที่ดิน เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า จำเลย ที่ 1ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 และ ที่ 6 เป็น เจ้าของรวม ใน ที่ดิน ที่ มี ถนน พิพาทผ่าน ก็ ย่อม มีสิทธิ ใช้ ที่ดิน เป็น ทาง เข้า ออก ได้ และ ปรากฎ จาก การ นำสืบของ โจทก์ ว่า การ สร้าง ถนน พิพาท นี้ บริษัท พาณิชยธนาสาร จำกัด ยอม ให้ ลูกค้า ของ เคหะชุมชน บัว ขาว ใช้ ถนน นี้ เข้า ออก ได้ ซึ่ง จำเลยทั้ง หก ก็ นำสืบ ว่า มิใช่ แต่ เฉพาะ บุคคล ใน เคหะชุมชน บัว ขาว เท่านั้นบุคคล ทั่วไป และ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ที่ ให้ สร้าง ถนน ทุกคน มีสิทธิใช้ ถนน พิพาท ด้วย จึง น่าเชื่อ ว่า เป็น จริง ดัง ที่ จำเลย ทั้ง หก นำสืบเพราะ การ ยอม ให้ สร้าง ถนน พิพาท ใน ที่ดิน ของ จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 นั้นมิได้ เรียก ค่าตอบแทน แต่ ประการใด ฉะนั้น จำเลย ที่ 1 ที่ 3 ที่ 4ที่ 5 และ ที่ 6 ซึ่ง เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์รวม ย่อม มีสิทธิ ที่ จะ ใช้สอยถนน พิพาท ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1360 ปัญหาต้อง วินิจฉัย ต่อไป มี ว่า การ ที่ จำเลย ที่ 1 ว่าจ้าง รถยนต์บรรทุกบุคคล ผู้มีชื่อ ขับ รถยนต์บรรทุก สิบล้อ บรรทุก ดิน แล่น ผ่าน ถนน พิพาทเพื่อ ไป ถม ที่ดิน โฉนด เลขที่ 17955 และ ที่ดิน ข้างเคียง ทำให้พื้น ผิวถนน คอนกรีต ทรุด ตัว ทั้ง เกิด รอย ร้าว และ แตก จำเลย ทั้ง หกต้อง ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย 1,000,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตราร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วัน ทำละเมิด จน ถึง วันฟ้อง เป็น ดอกเบี้ย2,498.64 บาท รวมเป็น เงิน ทั้งสิ้น 1,002,498.64 บาท ขอให้ บังคับจำเลย ทั้ง หก มิให้ นำ หรือ ควบคุม รถยนต์ หรือ รถยนต์ ที่ บรรทุก สิ่งของเข้า ไป แล่น ใน ถนน พิพาท ตาม แผนผัง ท้ายฟ้อง หมายเลข 5 ตรง ที่ ระบาย สี ส้มไว้ หรือ จ้าง วาน ใช้ หรือ กระทำ ด้วย ประการใด ๆ ให้ บุคคลอื่น นำหรือ ควบคุม รถยนต์ หรือ รถยนต์ ที่ บรรทุก สิ่งของ เข้า ไป แล่น ใน ถนน พิพาทให้ จำเลย ทั้ง หก ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย จำนวน 1,002,498.64 บาทพร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จาก ต้นเงิน 1,000,000 บาทนับ ถัด จาก วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง หก ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่า เดิม ที่ดิน ที่ ใช้ ทำถนน พิพาท นั้น มี เฉพาะ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1675 โดย จำเลย ที่ 4 ได้ ให้นาย เชวง ลีลาภัทรี เช่า ที่ดิน แปลง ดังกล่าว ทำ เป็น ถนน ดิน สำหรับ ให้ รถยนต์บรรทุก ขน ดิน จาก บ่อ ดิน ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 11 ออก ไป สู่ถนน สุขาภิบาล 3 ต่อมา นาย เชาว์ ภู่เจริญยศ ซึ่ง ประกอบ ธุรกิจ ใน นาม ของ บริษัท พาณิชยธนาสาร จำกัด และ ได้ ซื้อ ที่ดิน อันเป็น ที่ ตั้ง หมู่บ้าน บัว ขาว ใน ปัจจุบัน นี้ จำนวน 500 ไร่ แต่ ไม่มี ทาง ออก จึง มา เจรจากับ จำเลย ที่ 4 เพื่อ ขอ ทาง ออก โดย เสนอ จะ สร้าง ถนน ราดยาง หรือ คอนกรีตตาม แนว ถนน เดิม บางส่วน ส่วน ที่ เหลือ จะ สร้าง เข้า ใน หมู่บ้าน บัว ขาวจำเลย ที่ 4 ตกลง ยินยอม ให้ สร้าง โดย ไม่ได้ รับ ค่าตอบแทน แต่ มีสิทธิใช้ ถนน นี้ เช่นเดียว กับ นาย เชาว์ และ จดทะเบียน ให้ นาย เชาว์ กับ จำเลย ที่ 3 เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน แปลง นี้ ร่วม กับจำเลย ที่ 4 โดย มี ข้อตกลง ห้าม ผู้มีชื่อ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดินใน ส่วน ที่ สร้าง ถนน นี้ โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ให้ แก่ บุคคลภายนอก มี กำหนด15 ปี หาก ผู้ใด ฝ่าฝืน ให้ กรรมสิทธิ์ ส่วน ของ ผู้ นั้น ตกเป็น ของ จำเลยที่ 4 ทันที แต่ ถนน มี ความ กว้าง ไม่ เพียงพอ ตาม มาตรฐาน ของการ เคหะ แห่งชาติ ที่ ได้ กำหนด ไว้ นาย เชาว์ จึง ขอให้ จำเลย ที่ 3 ที่ 4เจรจา กับ เจ้าของ ที่ดิน ข้างเคียง คือ นาย โชติ โคระทัต และ จำเลย ที่ 6 ซึ่ง ยินยอม ให้ สร้าง ถนน บน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1676ของ บุคคล ทั้ง สอง โดย ไม่ คิด ค่าตอบแทน แต่ ต้อง ใส่ ชื่อ นาย เชาว์ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ด้วย แต่ ถนน ยัง มี ความ กว้าง ไม่ได้ มาตรฐานนาย เชาว์ จึง ขอ ซื้อ ที่ดิน จาก จำเลย ที่ 6 เพิ่ม 1 วา และ ขอ จาก จำเลย ที่ 6 อีก 1 วา รวม 2 วา มี ความยาว 17 เส้น ต่อมา เมื่อ พ้น กำหนดระยะเวลา ห้ามโอน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1675 จำเลย ที่ 1 โดย สิบล้อบรรทุก ดิน ไป ถม ที่ดิน โครงการ หมู่บ้าน เจริญชัย ของ จำเลย ที่ 1 ทำให้ถนน พิพาท เสียหาย หรือไม่ และ เป็น การ ละเมิด ต่อ โจทก์ หรือไม่โจทก์ มี นาย สวัสดิ์ รองรักษ์ กรรมการ ผู้จัดการ โจทก์ นาย โกศล สัญพร้อม ลูกจ้าง โจทก์ ซึ่ง มี หน้าที่ ควบคุม ดูแล คนงาน ของ โจทก์ นาย ประวัติ รัตนจำนอง วิศวกร ผู้ควบคุม การ ก่อสร้าง ถนน พิพาท และ นาย สำเนียง สุวจิต เสมียน พนักงาน ทั่วไป ของ โจทก์ เป็น พยาน เบิกความ สอดคล้อง ต้อง กัน ว่า ถนน พิพาท เสียหาย เนื่องจากรถยนต์บรรทุก สิบล้อ บรรทุก ดิน มา ถม ใน ที่ดิน โครงการ หมู่บ้าน เจริญชัยของ จำเลย ที่ 1 เห็นว่า การ ทำ โครงการ จัดสรร ที่ดิน และ บ้านจะ ต้อง ใช้ ดิน มา ถม ที่ดิน เป็น จำนวน มาก ตลอดจน วัสดุ และ อุปกรณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับ การ ก่อสร้าง จำต้อง ใช้ รถยนต์บรรทุก สิบล้อขน ดิน และ วัสดุ ต่าง ๆ หลาย คัน และ หลาย เที่ยว ย่อม ทำให้ ถนน พิพาทเสียหาย อย่าง แน่นอน ที่ โจทก์ นำสืบ ว่า ถนน พิพาท เสียหาย จึง มีเหตุ ผลน่าเชื่อ ถือ มี ปัญหา ว่า การกระทำ ของ จำเลย ที่ 1 เป็น ละเมิด หรือไม่เห็นว่า แม้ จำเลย ที่ 1 จะ เป็น เจ้าของรวม ใน ที่ดิน ที่ ตั้ง ถนน พิพาทและ มีสิทธิ ใน ที่ดิน และ ถนน พิพาท นั้น ใน ฐานะ เจ้าของรวม ก็ ตามแต่ การ ใช้ สิทธิ ของ จำเลย ที่ 1 จะ ต้อง ไม่เป็น การ ใช้ สิทธิ ซึ่ง มี แต่จะ เกิด ความเสียหาย แก่ โจทก์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 421 และ 1360 การกระทำ ของ จำเลย ที่ 1 จึง เป็น การ ทำละเมิดต่อ โจทก์ มี ปัญหา ต่อมา ว่า ค่าเสียหาย มี เพียงใด เห็นว่า ถนน พิพาทก่อสร้าง เมื่อ ปี 2519 ปรากฎ จาก คำพยาน โจทก์ ว่า ถนน ได้เสีย หาย มา ก่อนปี 2526 อาจจะ เกิดจาก การ ที่ หมู่บ้าน บัว ขาว เดิม ของ โจทก์ ได้ มี การก่อสร้าง โครงการ เพิ่มเติม และ โครงการ ใหม่ และ ผู้ที่ อยู่อาศัย เดิม ได้ก่อสร้าง เพิ่มเติม ขึ้น มา ซึ่ง จะ ต้อง มี การ ใช้ รถยนต์บรรทุก ขน ดิน และวัสดุ ก่อสร้าง ต่าง ๆ ตลอดจน เสื่อมสภาพ จาก การ ใช้ งาน ของ คน ในหมู่บ้าน ของ โจทก์ เอง จน กระทั่ง จำเลย ที่ 1 ได้ว่า จ้าง ให้ บุคคลอื่นมา ถม ดิน ใน ต้น ปี 2533 จำเลย ที่ 1 จึง มี ส่วน ทำให้ ถนน พิพาท เสียหายด้วย ดัง ได้ วินิจฉัย ข้างต้น ซึ่ง โจทก์ ไม่สามารถ นำสืบ ได้ว่า จำเลย ที่ 1ทำให้ ถนน เสียหาย มาก น้อย เพียงใด และ จาก คำฟ้อง ของ โจทก์ จำเลยที่ 1 ใช้ รถยนต์บรรทุก ดิน ผ่าน ถนน พิพาท เพียง 12 วัน เท่านั้น จึง เห็นสมควร กำหนด ค่าเสียหาย ให้ 100,000 บาท ส่วน ที่ โจทก์ ขอให้ห้ามจำเลย ทั้ง หก ทำ หรือ ควบคุม รถยนต์ หรือ รถยนต์บรรทุก สิ่งของเข้า ไป แล่น ใน ถนน พิพาท หรือ จ้างวาน ใช้ หรือ กระทำ ด้วย ประการใด ๆเพื่อ ให้ บุคคลอื่น นำ หรือ ควบคุม รถยนต์ หรือ รถยนต์บรรทุก สิ่งของ เข้า มาแล่น ใน ถนน พิพาท นั้น เห็นว่า จำเลย ทั้ง หก เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์รวม ใน ที่ดิน ที่ มี ถนน พิพาท ก็ ย่อม มีสิทธิ ใช้ ถนน พิพาท เป็น ทาง เข้า ออก ได้จึง ให้ยก คำขอ ส่วน นี้ ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 1 ใช้ ค่าเสียหาย จำนวน 100,000บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วัน ทำละเมิด(วันที่ 29 ธันวาคม 2532) จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ให้ แก่ โจทก์นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share