คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 449/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

พยานโจทก์คือจ่าสิบตำรวจ ก. และร้อยตำรวจโท ส.เป็นเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติการตามหน้าที่ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองหรือมีส่วนได้เสียกับฝ่ายใดคำเบิกความดังกล่าวจึงมีน้ำหนักรับฟังได้เมื่อจ่าสิบตำรวจ ก. เบิกความว่าหลังเกิดเหตุรถชนกันไม่นานพยานไม่เห็นจำเลยมีอาการผิดปกติและไม่มีกลิ่นสุราจากจำเลยและร้อยตำรวจโท ส.ก็เบิกความว่าในคืนเกิดเหตุพยานได้สอบถามจำเลยจำเลยก็เล่าพฤติการณ์ที่เกิดเหตุรถชนกันให้ฟังได้ซึ่งหากจำเลยเมาสุราจ่าสิบตำรวจ ก. น่าจะสังเกตเห็นและจำเลยคงเล่าลำดับเหตุการณ์ให้ร้อยตำรวจโท ส. ฟังไม่ได้พยานหลักฐานที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยขับรถในขณะเมาสุรา จำเลยขับรถยนต์มาในช่องเดินรถของจำเลยชิดไหล่ทางด้านซ้ายมือแม้จะเห็นผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ส่ายไปส่ายมาก่อนเกิดเหตุแต่ก็ยังอยู่ในช่องเดินรถของผู้ตายจำเลยไม่อาจคาดคิดได้ว่าผู้ตายจะขับรถตรงเข้ามาชนรถของจำเลยเพราะไม่ปรากฏเหตุจำเป็นใดๆที่ผู้ตายต้องกระทำเช่นนั้นเมื่อผู้ตายขับรถสวนเข้ามาในช่องเดินรถของจำเลยในระยะกระชั้นชิดเป็นการพ้นวิสัยที่จำเลยจะห้ามล้อรถให้หยุดได้ในทันทีทั้งไม่มีเวลาพอที่จะบังคับรถยนต์หลบหลีกรถจักรยานยนต์ของผู้ตายได้ทันจึงเกิดเหตุชนกันขึ้นพฤติการณ์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 4 กันยายน 2535 เวลากลางคืน ก่อน เที่ยง จำเลย ขับ รถยนต์ปิกอัพ คัน หมายเลข ทะเบียน บ-0071เพชรบูรณ์ ไป ตาม ถนน สาย เพชรบูรณ์ – หล่มสัก มุ่งหน้า ไป ทาง เทศบาลตำบล หล่มสัก ใน ขณะที่ มี อาการ มึนเมา สุรา ด้วย ความ เร็ว เกินกว่า80 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง เข้า ไป ใน เขต ชุมชน โดย ไม่ ดู เส้นทาง เดินรถ ข้างหน้า ให้ ดี เสีย ก่อน ว่า มี รถ คัน อื่น แล่น อยู่ หรือไม่ เป็นเหตุให้ รถ ของ จำเลย ชน กับ รถจักรยานยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียนเพชรบูรณ์ ข-7057 ซึ่ง นาย วิชา บุญศิริ ผู้ตาย ขับ อยู่ บน ถนน สาย ดังกล่าว อย่าง แรง เป็น ผล ให้ ผู้ตาย ตก จาก รถ ได้รับ อันตรายสาหัส และถึงแก่ความตาย ใน เวลา ต่อมา กับ รถจักรยานยนต์ ของ ผู้ตาย ได้รับความเสียหาย ใช้ การ ไม่ได้ เหตุ เกิด ที่ ตำบล หล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัด เพชรบูรณ์ พนักงานสอบสวน ยึด รถยนต์ และ รถจักรยานยนต์คัน เกิดเหตุ ไว้ เป็น ของกลาง ขอให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91, 291 พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43,157พระราชบัญญัติ จราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2535 มาตรา 27 และ สั่งคืน รถ ของกลาง แก่ เจ้าของ
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ระหว่าง พิจารณา นาย วิชัย บุญศิริ บิดา ของ ผู้ตาย ยื่น คำร้อง ขอ เข้าร่วม เป็น โจทก์ ศาลชั้นต้น อนุญาต
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(2), 160วรรคสาม เรียง กระทง ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐาน ขับรถ ประมาท เป็นเหตุ ให้ ผู้อื่น ถึงแก่ความตาย จำคุก 1 ปี 6 เดือนและ ปรับ 8,000 บาท ฐาน ขับ รถ ขณะ เมาสุรา หรือ ของ เมา อย่างอื่นจำคุก 2 เดือน และ ปรับ 2,000 บาท รวม จำคุก 1 ปี 8 เดือนและ ปรับ 10,000 บาท พิเคราะห์ พฤติการณ์ แห่ง คดี แล้ว ไม่ปรากฏ ว่าจำเลย เคย ได้รับ โทษ จำคุก มา ก่อน เพื่อ ให้ โอกาส ได้ กลับ ตัว ไป เป็นพลเมือง ดี ต่อไป ให้ รอการลงโทษ จำคุก ไว้ มี กำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระ ค่าปรับ ให้ จัดการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 คืน รถ ของกลาง แก่ เจ้าของ
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง คืน รถ ของกลางแก่ เจ้าของ
โจทก์ และ โจทก์ร่วม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ทางพิจารณา โจทก์ และ โจทก์ร่วม นำสืบ ว่าเมื่อ วันที่ 4 กันยายน 2535 เวลา ประมาณ 1 นาฬิกา จำเลย ขับ รถยนต์ปิกอัพหมายเลข ทะเบียน บ-0071 เพชรบูรณ์ ไป ตาม ถนน สาย สระบุรี -หล่มสัก มุ่งหน้า ไป ทาง เทศบาล ตำบล หล่มสัก ด้วย ความ เร็ว ประมาณ120 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง เมื่อ ถึง บริเวณ สะพาน หน้า ร้าน อาหาร รัก เธอจำเลย ขับ รถ แซง ขึ้น หน้า รถจักรยานยนต์ ของ นาย จันทร์ พุทธา ไป ถึง บริเวณ หน้าที่ ทำการ สาธารณสุข อำเภอ หล่มสัก ขณะ เดียว กัน นาย วิชา บุญศิริ ผู้ตาย ขับ รถจักรยานยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน เพชรบูรณ์ ข-7057 มุ่งหน้า จาก ทาง เทศบาล ตำบล หล่มสัก ไป ยัง อำเภอ เมือง เพชรบูรณ์ใน ช่อง เดินรถ ฝั่ง ตรงกันข้าม เกิดเหตุ รถ จำเลย ชน กับ รถจักรยานยนต์ คันที่นาย วิชา ขับ มา อย่าง แรง เป็นเหตุ ให้ นาย วิชา ได้รับ อันตรายสาหัส นาย จันทร์ ขับ รถจักรยานยนต์ ผ่าน ไป ถึง ที่เกิดเหตุ จึง ไป แจ้งเหตุ ต่อ เจ้าพนักงาน ตำรวจ สาย ตรวจ รถจักรยานยนต์ สถานีตำรวจภูธรอำเภอ หล่มสัก ทราบ ต่อมา อีก ประมาณ 5 นาที ร้อยตำรวจตรี สุชีพ สิทธิราช พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธร อำเภอ หล่มสัก ได้รับ แจ้งเหตุ จาก ศูนย์ วิทยุ ตำรวจ จึง ออก ไป ตรวจ สถานที่เกิดเหตุ พบ จำเลย นำ รถยนต์คัน เกิดเหตุ ไป จอด ไว้ ที่ ไหล่ ทาง ด้าน ทิศเหนือ ของ ถนน นาย วิชา ได้รับ อันตรายสาหัส นอน อยู่ กลาง ถนน ห่าง ท้ายรถ ของ จำเลย ประมาณ1 เมตร รถจักรยานยนต์ ของ นาย วิชา ล้ม อยู่ บน ถนน ใน ช่อง เดินรถ ของ จำเลย มี ผู้นำ นาย วิชา ส่ง โรงพยาบาล จำเลย ให้การ ต่อ พนักงาน สอบสวน ใน ที่เกิดเหตุ ว่า ได้ ขับ รถยนต์ ดังกล่าว มี นาย สมศักดิ์ บัวอินทร์ นั่ง คู่ มา ด้วย ระหว่าง ไป ถึง บริเวณ ที่เกิดเหตุ พบ นาย วิชา ขับ รถจักรยานยนต์ คัน ดังกล่าว ลักษณะ ส่าย ไป ส่าย มา สวนทาง มา คน ละ ช่องเดินรถ นาย วิชา เลี้ยว รถ เข้า มา ใน ช่อง เดินรถ ของ จำเลย จึง เกิดเหตุ ชนกัน พนักงานสอบสวน ได้ ตรวจ สถานที่เกิดเหตุ ทำแผน ที่ และ ถ่าย ภาพรอย ห้ามล้อ รถยนต์ ของ จำเลย และ รอย ครูด รถจักรยานยนต์ ไว้ ตามเอกสาร หมาย จ. 18 ถึง จ. 21 ยึด รถยนต์ และ รถจักรยานยนต์ คัน เกิดเหตุไว้ เป็น ของกลาง และ ถ่าย ภาพ รถยนต์ และ รถจักรยานยนต์ คัน เกิดเหตุตาม เอกสาร หมาย จ. 1 และ จ. 2 โจทก์ร่วม ได้ นำตัว นาย วิชา ไป รักษา ต่อ ที่ โรงพยาบาล พิษณุเวช จน กระทั่ง ถึง วันที่ 8 กันยายน 2534นาย วิชา ได้ ถึงแก่ความตาย แพทย์ ทำ รายงาน การ ชันสูตรพลิกศพ ไว้ ตาม เอกสาร หมาย ป.จ. 1 ต่อมา วันที่ 9 กันยายน 2535 โจทก์ร่วมได้ ไป ร้องทุกข์ ต่อ พนักงานสอบสวน ให้ ดำเนินคดี แก่ จำเลย พนักงานสอบสวนแจ้ง ข้อหา จำเลย ว่า ขับ รถ โดยประมาท เป็นเหตุ ให้ ผู้อื่น ถึงแก่ความตายและ ขับ รถ ขณะ เมาสุรา จำเลย ให้การ ปฏิเสธ และ ไป นำ ชี้ ที่เกิดเหตุให้ พนักงานสอบสวน ถ่าย ภาพ ประกอบ ไว้ ตาม บันทึก การ มอบตัว บันทึกคำให้การ และ ภาพถ่าย เอกสาร หมาย จ. 24 ถึง จ. 26 ตามลำดับพนักงานสอบสวน ได้ ไกล่เกลี่ย การ เจรจา ชดใช้ ค่าเสียหาย ระหว่าง โจทก์ร่วมกับ จำเลย ทั้ง สอง ฝ่าย ตกลง กัน ไม่ได้ ได้ ทำ บันทึก ไว้ เป็น หลักฐานตาม เอกสาร หมาย จ. 3 ถึง จ. 5 พนักงานสอบสวน ให้ ช่าง ซ่อม รถยนต์มาตร วจสภาพ รถ คัน เกิดเหตุ ทั้ง สอง คัน ทำ บันทึก การ ตรวจ สภาพ ไว้ตาม เอกสาร หมาย จ. 15 และ จ. 16 นอกจาก นี้ พันตำรวจโท สุรัตน์ บุญกำเหนิด สารวัตร วิทยา การ จังหวัด พิษณุโลก ทำการ ตรวจ สภาพ รถ คัน เกิดเหตุ ทั้ง สอง คัน และ ร่องรอย การ เฉี่ยว ชน จาก สถานที่เกิดเหตุทำ รายงาน การ ตรวจ พิสูจน์ ร่องรอย เฉี่ยว ชน ไว้ ตาม เอกสาร หมาย ป.จ. 2พนักงานสอบสวน สอบ ปากคำ นาย จันทร์ และ นาย เยื้อน บ้านแสน ซึ่ง เห็น เหตุการณ์ ก่อน เกิดเหตุ รถ ชนกัน และ ไป ดู สถานที่เกิดเหตุ ตามบันทึก คำให้การ แผนที่ ที่นาย เยื้อน นำ ชี้ และ ภาพถ่าย ประกอบ คดี เอกสาร หมาย จ. 6 ถึง จ. 14
จำเลย นำสืบ ว่า คืน เกิดเหตุ จำเลย และ นาย สมศักดิ์ บัวอินทร์ กลับ จาก ธุระ ที่ อำเภอ หนองไผ่ จังหวัด เพชรบูรณ์ ขับ รถยนต์ คัน เกิดเหตุ ออกจาก อำเภอ หนองไผ่ เวลา ประมาณ 18 นาฬิกา เมื่อ ไป ถึง บริเวณ ที่เกิดเหตุ หน้า โรงพยาบาล หล่มสัก ได้ สังเกต เห็น ผู้ตาย ขับ รถจักรยานยนต์ คัน เกิดเหตุ มุ่งหน้า จาก อำเภอ หล่มสัก จะ ไป ทาง อำเภอ เมืองเพชรบูรณ์ ไม่ เปิด ไฟ หน้า รถ ขับ ลักษณะ ส่าย ไป ส่าย มา จำเลย จึง บอก ให้ นาย สมศักดิ์ สังเกต รถ ของ ผู้ตาย เมื่อ ผู้ตาย ขับ รถ มา ใกล้ ประมาณ 6 เมตร มุ่งหน้า ตรง เข้า มา ใน ช่อง เดินรถ ของ จำเลยจำเลย ไม่อาจ จะ หัก รถ หลบ ไป ทาง อื่น พยายาม เหยียบ ห้ามล้อ แต่ ก็ ไม่อาจหลบ รถจักรยานยนต์ ของ ผู้ตาย ได้ ทัน จึง เกิดเหตุ ชนกัน ขึ้น คืน เกิดเหตุจำเลย ไม่ได้ ดื่ม สุรา และ จำเลย ขับ รถ ด้วย ความ เร็ว ประมาณ 50 ถึง60 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง
พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ ใน เบื้องต้น ว่า วันที่ 4กันยายน 2535 เวลา ประมาณ 1 นาฬิกา จำเลย ขับ รถยนต์ หมายเลข ทะเบียนบ-0071 เพชรบูรณ์ ไป ตาม ถนน สาย สระบุรี -หล่มสัก จาก อำเภอ เมือง เพชรบูรณ์มุ่งหน้า ไป ทาง อำเภอ หล่มสัก ส่วน ผู้ตาย ขับ รถจักรยานยนต์ หมายเลข ทะเบียน เพชรบูรณ์ ข-7057 จาก เทศบาล ตำบล หล่มสัก มุ่งหน้า ไป ทาง อำเภอ เมือง เพชรบูรณ์ สวน กับ ช่อง เดินรถ ของ จำเลย และ ผู้ตายขับ รถจักรยานยนต์ เข้า ไป ใน ช่อง เดินรถ ของ จำเลย เป็นเหตุ ให้ รถ ทั้ง สอง คันชนกัน หน้าที่ ทำการ สาธารณสุข อำเภอ หล่มสัก เป็นเหตุ ให้ ผู้ตาย ได้รับอันตรายสาหัส และ ถึงแก่ความตาย ใน เวลา ต่อมา มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัยข้อ แรก ว่า ขณะ เกิดเหตุ จำเลย ขับ รถยนต์ โดย เมาสุรา หรือไม่ นาย จันทร์ พุทธา พยานโจทก์ เบิกความ ว่า พบ จำเลย ยืน อยู่ กับ ชาย อีก คนหนึ่ง บริเวณ ไหล่ ถนน ใกล้ จุด เกิดเหตุ ระหว่าง นาย จันทร์ พูด คุย กับ จำเลย และ เพื่อน จำเลย ได้ กลิ่น สุรา และ สังเกต เห็น ทั้ง สอง คน มี อาการ มึนเมา และนาย เยื้อน บ้านแสน พยานโจทก์ อีก ปาก หนึ่ง เบิกความ ว่า ใน คืน เกิดเหตุ นาย เยื้อน เข้า ไป ใกล้ จำเลย โดย อยู่ ห่าง กัน ประมาณ 1 เมตร เห็น จำเลย กับพวก อยู่ ใน ลักษณะ ซึม ๆ เหมือน คน เมาสุรา แต่ ปรากฏว่า พยานโจทก์ทั้ง สอง ปาก ดังกล่าว เบิกความ แตกต่าง ไป จาก พยานโจทก์ ซึ่ง อยู่ ใน ที่เกิดเหตุ อีก 2 ปาก คือ จ่าสิบตำรวจ แก่นศักดิ์ กรมนา เจ้าพนักงาน ตำรวจ สาย ตรวจ ซึ่ง ไป ดู ที่เกิดเหตุ หลัง ได้รับ แจ้งเหตุ จาก พลเมือง ดี เบิกความ ว่า ใน คืน เกิดเหตุ จ่าสิบตำรวจ แก่นศักดิ์ ยืน พูด คุย กับ จำเลย ห่าง กัน ประมาณ 1 ช่วง แขน ไม่เห็น จำเลย มี อาการ ผิดปกติ และ ไม่มีกลิ่น สุรา จาก จำเลย และ ร้อยตำรวจโท สุชีพ สิทธิราช (ยศ ขณะ เบิกความ )พนักงานสอบสวน เบิกความ ว่า ร้อยตำรวจโท สุชีพ ไป ถึง ที่เกิดเหตุ หลังจาก ได้รับ แจ้งเหตุ 5 นาที พบ จำเลย ใน บริเวณ ที่เกิดเหตุ ยืน คุย กับจำเลย ห่าง กัน ประมาณ 2 เมตร สังเกต ลักษณะ จำเลย อยู่ ใน อาการ ตกใจเมื่อ สอบถาม จำเลย ก็ เล่า เหตุการณ์ ที่เกิดเหตุ รถ ชนกัน ให้ ฟังได้เห็นว่า จ่าสิบตำรวจ แก่นศักดิ์ และ ร้อยตำรวจโท สุชีพ เป็น เจ้าพนักงาน ที่ ปฏิบัติการ ตาม หน้าที่ ไม่มี สาเหตุ โกรธเคือง หรือ มี ส่วนได้เสีย กับ ฝ่ายใด คำเบิกความ ดังกล่าว จึง มี น้ำหนัก รับฟัง ได้ ซึ่ง หากจำเลย เมาสุรา จ่าสิบตำรวจ แก่นศักดิ์ น่า จะ สังเกต เห็น และ จำเลย คง เล่า ลำดับ เหตุการณ์ ให้ ร้อยตำรวจโท สุชีพ ฟัง ไม่ได้ นอกจาก นี้ ปรากฏว่า นาย จันทร์ เพิ่ง ไป ให้การ ต่อ พนักงานสอบสวน ใน วันที่ 22ตุลาคม 2535 ซึ่ง เป็น เวลา หลังจาก เกิดเหตุ เกือบ 2 เดือน ตามเอกสาร หมาย จ. 6 โดย ไม่ปรากฏ ว่า นาย จันทร์ ได้ ให้การ ถึง เรื่อง ได้ กลิ่น สุรา จาก จำเลย ไว้ แต่อย่างใด ที่นาย จันทร์ อ้างว่า คำให้การ ชั้นสอบสวน ไม่ ตรง กับ ความ เป็น จริง โดย ไม่ได้ บันทึก เรื่อง จำเลย ขับ รถขณะ มึนเมา ไว้ นั้น นาย จันทร์ ก็ เบิกความ รับ ว่า พนักงานสอบสวน อ่าน บันทึก คำให้การ ให้ นาย จันทร์ ฟัง และ มี การ ทักท้วง ว่า บาง แห่ง ไม่ถูกต้อง ซึ่ง พนักงานสอบสวน ก็ แก้ไข ให้ แล้ว แสดง ว่า นาย จันทร์ ไม่ได้ ให้การ ถึง เรื่อง เห็น จำเลย เมาสุรา และ ไม่ได้ ทักท้วง ใน เรื่องดังกล่าว แต่อย่างใด คำเบิกความ ของ นาย จันทร์ จึง มี พิรุธ ไม่มี น้ำหนัก ให้ รับฟัง ส่วน ข้อ ที่นาย เยื้อน ว่า จำเลย มี อาการ ซึม ๆ เหมือน เมาสุรา นั้น อาจ เกิดจาก อาการ ที่ จำเลย อดนอน และ ขับ รถ มา เป็น เวลา นาน ก็ เป็น ได้ซึ่ง นาย เยื้อน ก็ เบิกความ ตอบ ทนายจำเลย ถาม ค้าน ว่า ขณะ เห็น รถยนต์ จำเลย แล่น ผ่าน หน้า ไป รถ จำเลย แล่น ไป ตาม ปกติ มิได้ ส่าย ไป ส่าย มาจึง เป็น ข้อ พิสูจน์ อัน หนึ่ง ว่า จำเลย ขับ รถ โดย มิได้ เมาสุรา พยานหลักฐานที่ โจทก์ และ โจทก์ร่วม นำสืบ จึง ยัง ฟัง ไม่ได้ ว่า จำเลย ขับ รถ ใน ขณะเมาสุรา อัน มี ความผิด ตาม กฎหมาย ที่ โจทก์ ขอให้ ลงโทษ
ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ข้อ ต่อไป มี ว่า จำเลย ขับ รถยนต์ โดยประมาทเป็นเหตุ ให้ ผู้ตาย ถึงแก่ความตาย หรือไม่ โจทก์ และ โจทก์ร่วม มีนาย จันทร์ เบิกความ ว่า ใน คืน เกิดเหตุ เวลา ประมาณ 1 นาฬิกา นาย จันทร์ ขับ รถจักรยานยนต์ จาก ตลาด ผัก พ่อขุน มุ่งหน้า ไป ที่ อำเภอ หล่มสัก ขับ มา ถึง สะพาน หน้า ร้าน อาหาร รักเธอ เห็น รถยนต์ ปิกอัพสี ครี มขับ ด้วย ความ เร็ว ประมาณ 120 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง แซงขึ้น หน้า รถ ของ นาย จันทร์ ครั้น นาย จันทร์ ขับ รถ ต่อไป อีก ประมาณ 500เมตร ก็ เห็น รถยนต์ คัน ที่ แซง ขึ้น ไป ชน กับ รถจักรยานยนต์ จุด เกิดเหตุอยู่ ตรง หน้าที่ ทำการ สาธารณสุข เก่า หลังจาก ดู เหตุการณ์ แล้ว ได้ไป แจ้งเหตุ ต่อ เจ้าพนักงาน ตำรวจ สาย ตรวจ จาก นั้น ได้ กลับ ไป ยัง ที่เกิดเหตุ ซึ่ง เจ้าพนักงาน ตำรวจ สาย ตรวจ ก็ ตาม ไป เมื่อ ไป ถึง ที่เกิดเหตุไม่พบ ผู้ตาย แล้ว ได้ความ ว่า มี ผู้นำส่ง โรงพยาบาล หล่มสัก แต่ จ่าสิบตำรวจ แก่นศักดิ์ เบิกความ ว่า จ่าสิบตำรวจ แก่นศักดิ์ ได้รับ แจ้งเหตุ จาก พลเมือง ดี จึง ไป ดู ที่เกิดเหตุ พบ รถ กระบะ นิสสัน สี ขาวจอด อยู่ บน ถนน สามัคคี ชัยซึ่ง เชื่อม ระหว่าง หล่มสัก กับ จังหวัด เพชรบูรณ์และ พบ คน นอน เจ็บ อยู่ ที่ บริเวณ ท้ายรถ ยนต์คัน ดังกล่าว ห่าง จาก ท้ายรถประมาณ ไม่เกิน 2 เมตร เมื่อ ไป ถึง ที่เกิดเหตุ ประมาณ 5 นาที ก็ มีร้อยตำรวจโท สุชีพ พนักงานสอบสวน ไป ถึง ที่เกิดเหตุ และ ร้อยตำรวจโท สุชีพ เบิกความ ว่า เมื่อ ร้อยตำรวจโท สุชีพ ไป ถึง ที่เกิดเหตุ พบ เห็น เจ้าพนักงาน ตำรวจ หลาย คน มี คน เจ็บ เป็น ชาย นอน อยู่บน พื้น ถนน มี รถยนต์กระบะ สี ครี มยี่ห้อ นิสสัน หมายเลข ทะเบียน บ-0071เพชรบูรณ์ จอด บริเวณ ไหล่ ทาง ด้าน ทิศเหนือ ของ ถนน ขนาน กับ ไหล่ ทางหัน หน้า ไป ทาง ทิศตะวันออก ท้ายรถ อยู่ ห่าง จาก คน เจ็บ นอน ประมาณ 1 เมตรระหว่าง ร้อยตำรวจโท สุชีพ สอบ ปากคำ จำเลย เจ้าพนักงาน ตำรวจ ซึ่ง ไป ตรวจ สถานที่เกิดเหตุ ด้วย ได้ นำตัว คน เจ็บ ส่ง โรงพยาบาล หล่มสัก เห็นว่า นาย จันทร์ อ้างว่า เจ้าพนักงาน ตำรวจ สาย ตรวจ ตาม นาย จันทร์ ไป ยัง ที่เกิดเหตุ แต่เมื่อ นาย จันทร์ ไป ถึง ที่เกิดเหตุ ก็ ไม่พบ ผู้ตาย แล้ว เจ้าพนักงาน ตำรวจ สาย ตรวจ ที่ ตาม นาย จันทร์ ไป ก็ น่า จะ ไป พบ ผู้ตาย เช่นกัน ดังนั้น พลเมือง ดี ที่ จ่าสิบตำรวจ แก่นศักดิ์ ว่า เป็น ผู้แจ้ง เหตุ ให้ ทราบ ต้อง ไม่ใช่ นาย จันทร์ เพราะ เมื่อ จ่าสิบตำรวจ แก่นศักดิ์ รับ แจ้งเหตุ แล้ว มา ถึง ที่เกิดเหตุ ยัง พบ ผู้ตาย นอน อยู่ บน พื้น ถนน ใน ที่เกิดเหตุ นอกจาก นี้ ยัง แสดง ว่า ขณะที่ นาย จันทร์ อ้างว่า กลับ ไป ถึง ที่เกิดเหตุ อีก ครั้งหนึ่ง นั้น ร้อยตำรวจโท สุชีพ พนักงาน สอบสวน อยู่ ใน ที่เกิดเหตุ แล้ว แต่ นาย จันทร์ หา ได้ แสดง ตัว ให้ พนักงาน สอบสวน ทราบ ว่า นาย จันทร์ เป็น ผู้รู้เห็น เหตุการณ์ ด้วย แต่อย่างใด ไม่ ทั้ง ยัง อ้างว่า ที่มา ให้การ ต่อ พนักงานสอบสวน เพราะ นาย วิชัย บิดา ผู้ตาย ซึ่ง เป็น ผู้ที่ นาย จันทร์ นับถือ ขอร้อง ให้ เป็น พยาน โดย ตาม ข้อเท็จจริง ที่ ปรากฏ นั้น นาย จันทร์ ให้การ ต่อ พนักงานสอบสวน หลัง เกิดเหตุ แล้ว เป็น เวลา เกือบ 2 เดือน ซึ่ง เนิ่นนาน พอ ที่ จะ คิด เสริม แต่งข้อเท็จจริง ได้ ดังนั้น จึง ไม่อาจ ฟัง เป็น มั่นคง ว่า นาย จันทร์ รู้เห็น เหตุการณ์ ดัง ที่นาย จันทร์ อ้าง มา ส่วน ที่นาย เยื้อน เบิกความ ว่า ก่อน เกิดเหตุ เห็น รถยนต์ ที่ จำเลย ขับ แล่น ผ่าน หน้า นาย เยื้อน ซึ่ง อยู่ ห่าง ออก ไป 30 เมตร ด้วย ความ เร็ว ไม่ ต่ำกว่า 100 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมงนั้น ก็ เป็น แต่เพียง การ คาดคะเน ของ นาย เยื้อน เท่านั้น ซึ่ง ไม่ปรากฏ ว่า นาย เยื้อน เป็น ผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับ การ กำหนด ความ เร็ว ของ รถยนต์ ที่ แล่น ผ่าน แต่ ประการใด ความ เร็ว ของ รถยนต์ จำเลย ตาม ที่นาย เยื้อน อ้าง จึง ไม่อาจ ถือเอา เป็น มาตรฐาน ใน การ พิจารณา ได้ จำต้อง พิจารณา จาก ร่องรอย ที่ ปรากฏ บน รถ ทั้ง สอง คัน และ ร่องรอย ที่ ปรากฏใน ที่เกิดเหตุ เมื่อ ตรวจ ดู จาก แผนที่ เกิดเหตุ ตาม เอกสาร หมาย จ. 7 จ. 10และ จ. 19 แล้ว ถนน เกิดเหตุ มี ผิวจราจร กว้าง 7 เมตร มี รอย ห้ามล้อของ รถยนต์ จำเลย ยาว ประมาณ 2 เมตร ต่อ จาก รอย ห้ามล้อ มี เศษกระจก แตก ตก อยู่ สันนิษฐาน ได้ว่า เป็น จุด ที่ รถ ชนกัน ซึ่ง นาย เยื้อน เบิกความ ประกอบ ภาพถ่าย หมาย จ. 11 ว่า จุด ชน อยู่ ห่าง เส้น แบ่ง กึ่งกลางถนน ประมาณ 2 เมตร ใน ช่อง เดินรถ ของ รถ จำเลย เมื่อ ตาม แผนที่ดังกล่าว ระบุ ว่า รถยนต์ ที่ จำเลย ขับ แล่น ไป จอด ห่าง จุด ที่ มี รอย ห้ามล้อประมาณ 24 เมตร ซึ่ง ถือว่า เป็น การ หยุด ได้ ใน ระยะ ใกล้ มาก หลังจากห้ามล้อ จึง เป็นเหตุ ผล สนับสนุน ให้ น่าเชื่อ ว่า จำเลย ขับ รถยนต์ขณะ เกิดเหตุ ด้วย ความ เร็ว ประมาณ 60 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง ดัง จำเลย นำสืบซึ่ง ไม่เกิน อัตรา ความ เร็ว ที่ กฎหมาย กำหนด ไว้ ว่าความ เร็ว ของ รถใน เขต ชุมชน ต้อง ไม่เกิน 80 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง ทั้ง ตาม แผนที่เกิดเหตุ ดังกล่าว แสดง ให้ เห็นว่า จำเลย ขับ รถยนต์ มา ใน ช่อง เดินรถ ของจำเลย ชิด ไหล่ ทาง ด้านซ้าย มือ ด้วย ย่อม เป็น ข้อ บ่งชี้ ว่า จำเลย ใช้ความระมัดระวัง ซึ่ง บุคคล เช่น จำเลย ต้อง มี ตาม วิสัย และ พฤติการณ์แล้ว แม้ จำเลย จะ เบิกความ ว่า เห็น ผู้ตาย ขับ รถจักรยานยนต์ ส่าย ไปส่าย มา ก่อน เกิดเหตุ แต่ ผู้ตาย ก็ ยัง ขับ รถจักรยานยนต์ อยู่ ใน ช่อง เดินรถของ ผู้ตาย จำเลย ไม่อาจ คาดคิด ได้ว่า ผู้ตาย จะ ขับ รถ ตรง เข้า มา ชน รถ ของจำเลย เพราะ ไม่ปรากฏ เหตุจำเป็น ใด ๆ ที่ ผู้ตาย จะ ต้อง กระทำ เช่นนั้นเมื่อ ผู้ตาย ขับ รถ สวน เข้า มา ใน ช่อง เดินรถ ของ จำเลย ใน ระยะ กระชั้นชิดดัง ที่ จำเลย เบิกความ ว่า ขณะที่ เห็น นั้น ผู้ตาย อยู่ ห่าง จาก หน้า รถของ จำเลย เพียง 6 เมตร เป็น การ พ้นวิสัย ที่ จำเลย จะ ห้ามล้อ รถให้ หยุด ได้ ใน ทันที โดย ไม่ เกิด อันตราย แก่ จำเลย ทั้ง ไม่มี เวลา พอ ที่จำเลย จะ บังคับ รถยนต์ ของ จำเลย หลบหลีก รถจักรยานยนต์ ของ ผู้ตายได้ ทันท่วงที จึง เกิดเหตุ ชนกัน ขึ้น พฤติการณ์ ดังกล่าว ฟัง ไม่ได้ ว่าจำเลย ขับ รถยนต์ ด้วย ความ เร็ว สูง อันเป็น การกระทำ โดยประมาท เป็นเหตุให้ ผู้ตาย ถึงแก่ความตาย พยานหลักฐาน ที่ โจทก์ และ โจทก์ร่วม นำสืบมา ยัง ไม่ หนักแน่น เพียงพอ ที่ จะ ฟัง ว่า จำเลย กระทำผิด ตาม ฟ้องที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายก ฟ้อง ชอบแล้ว ฎีกา โจทก์ และ โจทก์ร่วมฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share