คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5059/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยที่3รับโอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่จำเลยที่2มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนจำเลยที่1ซึ่งเป็นคนต่างด้าวโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตเป็นเรื่องที่จำเลยที่1ซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อยอมให้จำเลยที่2เป็นตัวแทนทำการออกหน้าเป็นตัวการจำเลยที่1หาอาจทำให้เสื่อมเสียสิทธิของจำเลยที่3ที่มีต่อจำเลยที่2และขวนขวายได้สิทธิมาก่อนที่จะรู้ว่าจำเลยที่2เป็นตัวแทนไม่โจทก์ซึ่งเป็นเพียงผู้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่1จึงขอให้เพิกถอนการโอนขายที่ดินระหว่างจำเลยที่2และที่3และบังคับให้จำเลยที่1และที่2ร่วมกันโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ไม่ได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 ทำ สัญญาจะซื้อขาย ที่ดินโฉนด เลขที่ 14180 และ 1567 ของ จำเลย ที่ 1 พร้อม สิ่งปลูกสร้างต่อมา จำเลย ที่ 2 ซึ่ง เป็น ตัวแทน และ เป็น ผู้มีชื่อ ถือ กรรมสิทธิ์ใน ที่ดิน ทั้ง สอง แปลง แทน จำเลย ที่ 1 ได้ ไป จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ใน ที่ดิน 2 แปลง ให้ แก่ จำเลย ที่ 3 โดย จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ทราบ ดีอยู่ แล้ว ว่า จะ ทำให้ โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 ได้รับ ความเสียหายขอให้ พิพากษา เพิกถอน การ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินทั้ง สอง แปลง ระหว่าง จำเลย ที่ 2 กับ จำเลย ที่ 3 และ ให้ จำเลย ที่ 2จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 14180 และ ที่ดิน โฉนดเลขที่ 1567 พร้อม สิ่งปลูกสร้าง บ้าน เลขที่ 350 จาก ชื่อ จำเลย ที่ 3ให้ เป็น ชื่อ จำเลย ที่ 2 โดย ให้ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ร่วมกัน หรือแทน กัน ออก ค่าใช้จ่าย ใน การ โอน กรรมสิทธิ์ แล้ว ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ร่วมกัน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 14180 พร้อม ตึกแถว เลขที่405/14-15 และ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1567 พร้อม บ้าน เลขที่ 350 จากชื่อ จำเลย ที่ 2 ให้ เป็น ชื่อ ของ โจทก์ ตาม สัญญาจะซื้อขาย หาก จำเลยทั้ง สาม ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดง เจตนา
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 2 เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดินและ สิ่งปลูกสร้าง ตาม ฟ้อง จึง มีสิทธิ ที่ จะขาย หรือ ทำนิติกรรม อื่น ใดก็ ได้ โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง คดี นี้ ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 3 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 3 ได้ ซื้อ ที่ดิน 2 แปลงตาม ฟ้อง พร้อม สิ่งปลูกสร้าง จาก จำเลย ที่ 2 โดยสุจริต และ เสีย ค่าตอบแทนและ ได้ จดทะเบียน ต่อ เจ้าพนักงาน ที่ดิน แล้ว จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ เป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติตาม ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง ฟัง มา ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น คนต่างด้าว สัญชาติ เวียดนาม จำเลย ที่ 2 เป็น คน สัญชาติ ไทย จำเลย ที่ 1 ซื้อ ที่ดิน และ อาคาร พิพาท โดย ให้ จำเลย ที่ 2 มี ชื่อ เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ แทนเมื่อ วันที่ 4 และ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2530 จำเลย ที่ 1 ทำ สัญญาจะขาย ที่ดิน และ อาคาร พิพาท ทั้ง สอง แปลง ให้ แก่ โจทก์ และ กำหนด โอน ที่ดินและ อาคาร พิพาท วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2532 โดย จำเลย ที่ 1 จะ แจ้ง ให้จำเลย ที่ 2 ไป ทำการ โอน ให้ ต่อมา วันที่ 28 ธันวาคม 2531 จำเลย ที่ 2ได้ นำ ที่ดิน และ อาคาร พิพาท ดังกล่าว ไป ขาย ให้ จำเลย ที่ 3 จำเลย ที่ 1จึง โอน ที่ดิน และ อาคาร พิพาท ให้ โจทก์ ไม่ได้ มี ปัญหา วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของโจทก์ ว่า จำเลย ที่ 3 รับโอน ที่ดิน และ อาคาร พิพาท ทั้ง สอง แปลง โดยสุจริตเสีย ค่าตอบแทน และ ร่วม กับ จำเลย ที่ 2 ฉ้อฉล โจทก์ หรือไม่ พยานหลักฐานของ จำเลย ที่ 3 มี น้ำหนัก น่าเชื่อ กว่า พยานโจทก์ จึง ฟังได้ ว่า จำเลยที่ 3 รับโอน ที่ดินพิพาท ไว้ โดย เสีย ค่าตอบแทน และ โดยสุจริตและ ได้ จดทะเบียน สิทธิ โดยสุจริต แล้ว หา ได้ เป็น การ ฉ้อฉล โจทก์แต่ ประการใด ไม่ เมื่อ ข้อเท็จจริง ยุติ ว่า จำเลย ที่ 2 มี ชื่อ เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ที่ดิน และ อาคาร พิพาท ทั้ง สอง แปลง แทน จำเลย ที่ 1ก่อน ที่ จำเลย ที่ 2 ทำ สัญญาซื้อขาย ที่ดิน และ อาคาร พิพาท นั้น จำเลยที่ 2 มิได้ แสดง ให้ จำเลย ที่ 3 ทราบ ว่า ตน เป็น ตัวแทน ของ จำเลย ที่ 1ทั้ง พยานโจทก์ ที่ นำสืบ ก็ ฟัง ไม่ได้ ว่า จำเลย ที่ 3 ได้ ทราบ ว่า จำเลยที่ 2 เป็น ตัวแทน จำเลย ที่ 1 ดังนั้น การ ที่ จำเลย ที่ 1 ยอม ให้ ใส่ ชื่อจำเลย ที่ 2 เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ใน โฉนด ที่ดิน แทน ตน จึง เป็น เรื่อง ที่จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น ตัวการ ไม่เปิดเผย ชื่อ ยอม ให้ จำเลย ที่ 2 เป็นตัวแทน ทำการ ออก หน้า เป็น ตัวการ ว่า เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท ดังกล่าว จำเลย ที่ 1 จึง หา อาจ ทำให้ เสื่อมเสีย สิทธิ ของ จำเลยที่ 3 ซึ่ง เป็น บุคคลภายนอก ที่ มี ต่อ จำเลย ที่ 2 ผู้เป็น ตัวแทน และขวนขวาย ได้ สิทธิ มา ก่อน ที่ จะ รู้ ว่า จำเลย ที่ 2 เป็น ตัวแทน ของจำเลย ที่ 1 ได้ไม่ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 806โจทก์ เป็น เพียง ผู้ทำสัญญา จะซื้อขาย ที่ดินพิพาท ทั้ง สอง แปลง กับจำเลย ที่ 1 เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า จำเลย ที่ 3 กระทำการ โดยสุจริต และ เสีย ค่าตอบแทน ไม่ได้ กระทำ เพื่อ ฉ้อฉล โจทก์ โจทก์ จึง ขอให้เพิกถอน การ โอน ขาย ที่ดิน และ อาคาร พิพาท ระหว่าง จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3และ บังคับ ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ร่วมกัน โอน กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินและ อาคาร พิพาท ให้ แก่ โจทก์ ไม่ได้ ไม่จำต้อง วินิจฉัย ฎีกา ข้อ อื่นของ โจทก์ อีก ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษา ชอบแล้ว ฎีกา ของ โจทก์ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share