แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
สินค้าที่จะได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามมาตรา5(8)แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่54)พ.ศ.2517ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมนั้นลำดับแรกจะต้องเป็นสินค้าที่มิได้ระบุในบัญชีที่1ที่2และที่3ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเสียก่อนหากเป็นสินค้าที่ได้ระบุจะถือว่าเป็นสินค้าที่มิได้ระบุในบัญชีที่1ที่2และที่3หาได้ไม่และแม้จะเป็นสินค้าที่มิได้ระบุในบัญชีดังกล่าวรายการหนึ่งรายการใดหรือบัญชีหนึ่งบัญชีใดแล้วยังต้องเป็นสินค้าตามรายการ(ก)ถึง(ฌ)รายการหนึ่งรายการใดเท่านั้นจึงจะได้รับการยกเว้นภาษีการค้า สินค้าที่โจทก์ผลิตจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตจากแป้งหรือถั่วที่ผลิตในราชอาณาจักรแม้จะมิใช่ผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าในราชอาณาจักรแต่เมื่อเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุหีบห่อผนึกที่มีเครื่องหมายการค้าปรากฏอยู่บนหีบห่อซึ่งสามารถมองเห็นได้จากภายนอกอันเป็นสินค้าตามบัญชีที่1หมวด1(4)ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่54)พ.ศ.2517ย่อมเป็น สินค้าที่ได้ระบุในบัญชีที่1ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจึง ไม่ได้รับยกเว้น ภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้า
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ชำระ ภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล และ เงินเพิ่มแก่ จำเลย เพราะ เข้าใจผิด ใน ข้อกฎหมาย ขอให้ จำเลย คืนเงิน จำนวน63,290,402 บาท ให้ แก่ โจทก์ และ ให้ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย ให้ โจทก์ใน อัตรา ร้อยละ 1 ต่อ เดือน ใน ต้นเงิน จำนวน 57,447,553 บาท นับแต่วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย จะ ชำระ ให้ โจทก์ เสร็จสิ้น
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ไม่มี สิทธิ ขอ คืนเงิน ภาษีอากร จาก จำเลยขอให้ ยกฟ้อง โจทก์
ศาลภาษีอากรกลาง พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้องโจทก์
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีภาษีอากร วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟังได้ ยุติตาม คำพิพากษา ศาลภาษีอากรกลาง ว่า โจทก์ ผลิต วุ้นเส้น เส้นหมี่และ แป้ง สลิ่ม บรรจุ หีบ ห่อ ผนึก ที่ มี เครื่องหมายการค้า ปรากฏ อยู่ บนหีบ ห่อ ซึ่ง สามารถ มองเห็น ได้ จาก ภายนอก จำหน่าย วุ้นเส้น เกรด เอที่ โจทก์ ผลิต จำหน่าย ผลิต จาก แป้ง ถั่วเขียว เกรด บีและ เกรด ซีผลิต จากแป้ง ถั่วเขียว ผสม กับ แป้งมัน ฝรั่ง เส้นหมี่ ผลิต จาก แป้ง ข้าว จ้าวแป้ง สลิ่มผลิต จาก แป้ง ถั่วเขียว วุ้นเส้น เส้นหมี่ และ แป้ง สลิ่มที่ โจทก์ ผลิต จำหน่าย ไม่มี สาร ชนิด อื่น เจือปน ถือ เป็น ผลิตภัณฑ์ อาหารที่ ผลิต จาก แป้ง หรือ ถั่ว อันเป็น สินค้า ตาม ประเภท การค้า 1 ชนิด 1 (ก)ของ บัญชีอัตราภาษีการค้า ท้าย หมวด 4 ใน ลักษณะ 2 แห่ง ประมวลรัษฎากรที่ ผลิต ใน ราชอาณาจักร โจทก์ ยื่น เสีย ภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลและ เงินเพิ่ม แก่ จำเลย ประจำ เดือน กันยายน 2523 ถึง เดือน พฤศจิกายน 2531ยกเว้น เดือน มกราคม 2530 ถึง เดือน กรกฎาคม 2530 ไว้ รวม 57,545,647บาท มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ใน ชั้น นี้ ว่า โจทก์ มีสิทธิ เรียกเงิน จำนวน57,545,647 บาท คืน จาก จำเลย หรือไม่ เห็นว่า พระราชกฤษฎีกาออก ตาม ความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วย การ ลด อัตรา และ ยกเว้น ภาษีการค้า(ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 (ซึ่ง ใช้ บังคับ ระหว่าง วันที่ 5 ธันวาคม 2519ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2529) มาตรา 5 บัญญัติ ว่า “ให้ยก เว้นภาษีการค้า สำหรับ การ ขาย สินค้า ดัง ต่อไป นี้… (8) สินค้า ตาม ประเภทการค้า 1 ชนิด 1 (ก) ของ บัญชีอัตราภาษีการค้า ท้าย หมวด 4 ใน ลักษณะ 2แห่ง ประมวลรัษฎากร เฉพาะ ที่ ผลิต ใน ราชอาณาจักร และ มิได้ ระบุ ในบัญชี ท้าย พระราชกฤษฎีกา นี้ สินค้า ที่ ยกเว้น ภาษีการค้า ตาม (8)ไม่รวม ถึง สินค้า ที่ ระบุ ใน มาตรา 78 ทวิ แห่ง ประมวลรัษฎากร…”และ บัญชี ที่ 1 ท้าย พระราชกฤษฎีกา ฉบับ ดังกล่าว หมวด 1 ชนิด สินค้าอาหาร เครื่องดื่ม มี รายการ สินค้า ระบุ ไว้ คือ (4) ช็อก โกแลต ลูกกวาดหมากฝรั่ง สินค้า ที่ ใช้ อม หรือ ขบเคี้ยว หรือ สินค้า อัน มี ลักษณะทำนอง เดียว กัน เครื่อง ปรุง รส กลิ่น หรือ สี อาหาร หรือ ผลิตภัณฑ์ อาหารใด ๆ นอกจาก อาหาร สัตว์ แต่ ไม่รวม ถึง สินค้า ตาม (5) ทั้งนี้เฉพาะ ที่ บรรจุ ภาชนะ หรือ หีบ ห่อ ผนึก หรือ บรรจุ ภาชนะ หรือ หีบ ห่อ ที่ มีชื่อ การค้า หรือ เครื่องหมายการค้า (5) นม ข้น นมผง นมสด ผงฟู น้ำผึ้งน้ำมัน ปรุง อาหาร นอกจาก น้ำมันมะพร้าว ทั้งนี้ เฉพาะ ที่ นำเข้าใน ราชอาณาจักร…(10) ผลิตภัณฑ์ อาหาร ที่ ผลิต จาก แป้ง หรือ ถั่วเฉพาะ ที่ นำเข้า ใน ราชอาณาจักร ” ส่วน พระราชกฤษฎีกา ออก ตาม ความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วย การ ลด อัตรา และ ยกเว้น ภาษีการค้า(ฉบับที่ 179) พ.ศ. 2529 (ใช้ บังคับ ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2530)มาตรา 3 บัญญัติ ให้ยก เลิก ความใน (8) ของ มาตรา 5 แห่ง พระราชกฤษฎีกาออก ตาม ความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วย การ ลด อัตรา และ ยกเว้น ภาษีการค้า(ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 ซึ่ง แก้ไข เพิ่มเติม โดย พระราชกฤษฎีกาออก ตาม ความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วย การ ลด อัตรา และ ยกเว้น ภาษีการค้า(ฉบับที่ 152) พ.ศ. 2527 และ ให้ ใช้ ความ ต่อไป นี้ แทน ” (8) สินค้า ตามประเภท การค้า 1 ชนิด 1 (ก) ของ บัญชีอัตราภาษีการค้า ท้าย หมวด 4ใน ลักษณะ 2 แห่ง ประมวลรัษฎากร เฉพาะ ที่ ผลิต ใน ราชอาณาจักร และ มิได้ระบุ ใน บัญชี ที่ 1 บัญชี ที่ 2 และ บัญชี ที่ 3 ท้าย พระราชกฤษฎีกา นี้ดัง ต่อไป นี้ (ก) เนื้อ และ ส่วน ต่าง ๆ ของ สัตว์ ซึ่ง บริโภค ได้…(ข) เครื่อง ปรุง รส กลิ่น หรือ สี อาหาร หรือ ผลิตภัณฑ์ อาหาร ใด ๆ ทั้งนี้เฉพาะ ที่ มิได้ บรรจุ ภาชนะ หรือ หีบ ห่อ ผนึก หรือ ที่ มิได้ บรรจุ ภาชนะหรือ หีบ ห่อ ที่ มี ชื่อ การค้า หรือ เครื่องหมายการค้า ปรากฏ อยู่ บน หรือใน ภาชนะ หรือ หีบ ห่อ ซึ่ง สามารถ มองเห็น ได้ จาก ภายนอก (ค) นมสด นมผงหาง นมผง (ง) เครื่องดื่ม เครื่อง ปรุง หรือ ประกอบ อาหาร (จ) ผลิตภัณฑ์อาหาร ที่ ผลิต จาก แป้ง หรือ ถั่ว (ฉ) อาหาร สัตว์ (ช) ยา ทุก ชนิด…(ซ) ปุ๋ย… (ฌ) สินค้า อื่น ตาม ที่ อธิบดี ประกาศ กำหนด… สินค้า ที่ยกเว้น ภาษีการค้า ตาม (8) ไม่รวม ถึง สินค้า ที่ ระบุ ใน มาตรา 78 ทวิแห่ง ประมวลรัษฎากร ” และ พระราชกฤษฎีกา ออก ตาม ความใน ประมวลรัษฎากรว่าด้วย การ ลด อัตรา และ ยกเว้น ภาษีการค้า (ฉบับที่ 133) พ.ศ. 2526(ซึ่ง ใช้ บังคับ ตั้งแต่ วันที่ 29 เมษายน 2526) มาตรา 4 บัญญัติ ให้ยกเลิก ความใน (4) ของ หมวด 1 ใน บัญชี ที่ 1 แห่ง บัญชี ท้ายพระราชกฤษฎีกา ออก ตาม ความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วย การ ลด อัตรา และยกเว้น ภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 ซึ่ง แก้ไข เพิ่มเติม โดยพระราชกฤษฎีกา ออก ตาม ความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วย การ ลด อัตราภาษีการค้า (ฉบับที่ 57) พ.ศ. 2518 และ ให้ ใช้ ความ ต่อไป นี้ แทน “(4) สินค้า ที่ เป็น (ก) ช็อก โกแลต ลูกกวาด หมากฝรั่ง สินค้า ที่ ใช้อม หรือ ขบเคี้ยว หรือ สินค้า อัน มี ลักษณะ ทำนอง เดียว กัน(ข) เครื่อง ปรุง รส กลิ่น หรือ สี อาหาร หรือ ผลิตภัณฑ์ อาหาร ใด ๆนอกจาก อาหาร สัตว์ แต่ ไม่รวม ถึง สินค้า ตาม (5) ทั้งนี้ เฉพาะ ที่บรรจุ ภาชนะ หรือ หีบ ห่อ ผนึก หรือ ที่ บรรจุ ภาชนะ หรือ หีบ ห่อ ที่ มี ชื่อการค้า หรือ เครื่องหมายการค้า ปรากฏ อยู่ บน หรือ ใน ภาชนะ หรือหีบ ห่อ ซึ่ง สามารถ มองเห็น ได้ จาก ภายนอก ” โจทก์ อ้างว่า กฎหมายดังกล่าว ยกเว้น ภาษีการค้า แก่ สินค้า ที่ โจทก์ ผลิต จำหน่าย โจทก์ จึงมีสิทธิ เรียกเงิน ภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล และ เงินเพิ่ม ที่ ชำระแก่ จำเลย ไป แล้ว จำนวน 57,545,647 บาท คืน เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ยุติ ว่า สินค้า ที่ โจทก์ ผลิต จำหน่าย เป็น ผลิตภัณฑ์ อาหาร ที่ ผลิตจาก แป้ง หรือ ถั่ว บรรจุ หีบ ห่อ ผนึก มี เครื่องหมายการค้า ปรากฏ อยู่บน หีบ ห่อ ซึ่ง สามารถ มองเห็น ได้ จาก ภายนอก อันเป็น สินค้า ตาม ประเภทการค้า 1 ชนิด 1 (ก) ของ บัญชีอัตราภาษีการค้า ท้าย หมวด 4 ใน ลักษณะ 2แห่ง ประมวลรัษฎากร ที่ ผลิต ใน ราชอาณาจักร แล้ว จึง มี ปัญหา ว่าสินค้า ที่ โจทก์ ผลิต จำหน่าย ใน ช่วง เดือน กันยายน 2523 ถึง เดือน ธันวาคม2529 เป็น สินค้า ที่ มิได้ ระบุ ใน บัญชี ท้าย พระราชกฤษฎีกา ออก ตาม ความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วย การ ลด อัตรา และ ยกเว้น ภาษีการค้า (ฉบับที่ 54)พ.ศ. 2517 หรือไม่ และ สินค้า ที่ โจทก์ ผลิต จำหน่าย ใน ช่วง เดือน สิงหาคม2530 ถึง เดือน พฤศจิกายน 2531 เป็น สินค้า ที่ มิได้ ระบุ ใน บัญชี ที่ 1บัญชี ที่ 2 และ บัญชี ที่ 3 ท้าย พระราชกฤษฎีกา ออก ตาม ความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย การ ลด อัตรา และ ยกเว้น ภาษีการค้า (ฉบับที่ 54)พ.ศ. 2517 ดัง ต่อไป นี้ (ก) เนื้อ และ ส่วน ต่าง ๆ ของ สัตว์ ซึ่งบริโภค ได้… (ข) เครื่อง ปรุง รส กลิ่น หรือ สี อาหาร หรือ ผลิตภัณฑ์อาหาร ใด ทั้งนี้ เฉพาะ ที่ มิได้ บรรจุ ภาชนะ หรือ หีบ ห่อ ผนึก หรือ ที่ มิได้บรรจุ ภาชนะ หรือ หีบ ห่อ ที่ มี ชื่อ การค้า หรือ เครื่องหมายการค้า ปรากฏอยู่ บน หรือ ใน ภาชนะ หรือ หีบ ห่อ ซึ่ง สามารถ มองเห็น ได้ จาก ภายนอก (ค)…(ง)..(จ) ผลิตภัณฑ์ อาหาร ที่ ผลิต จาก แป้ง หรือ ถั่ว (ฉ)…(ช)…(ซ)…(ฌ)… หรือไม่ หาก เป็น สินค้า ที่ มิได้ ระบุ ไว้ ใน บัญชี ดังกล่าว ย่อมได้รับ ยกเว้น ภาษีการค้า และ โจทก์ มีสิทธิ เรียกเงิน จำนวน ดังกล่าว แล้วคืน จาก จำเลย ได้ หาก เป็น สินค้า ที่ ระบุ ไว้ ใน บัญชี ดังกล่าว ย่อม ไม่ได้รับ ยกเว้น ภาษีการค้า และ โจทก์ ไม่มี สิทธิ เรียกเงิน จำนวน ดังกล่าวแล้ว คืน จาก จำเลย เมื่อ บัญชี ที่ 1 หมวด 1 ชนิด สินค้า อาหารเครื่องดื่ม ท้าย พระราชกฤษฎีกา ออก ตาม ความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการ ลด อัตรา และ ยกเว้น ภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 ระบุรายการ สินค้า ไว้ คือ (4) …ผลิตภัณฑ์ อาหาร ใด ๆ …เฉพาะ ที่ บรรจุภาชนะ หรือ หีบ ห่อ ผนึก หรือ บรรจุ ภาชนะ หรือ หีบ ห่อ ที่ มี ชื่อ การค้าหรือ เครื่องหมายการค้า (10) ผลิตภัณฑ์ อาหาร ที่ ผลิต จาก แป้ง หรือ ถั่วเฉพาะ ที่ นำเข้า ใน ราชอาณาจักร และ บัญชี ที่ 1 หมวด 1 ชนิด สินค้าอาหาร เครื่องดื่ม ท้าย พระราชกฤษฎีกา ออก ตาม ความใน ประมวลรัษฎากรว่าด้วย การ ลด อัตรา และ ยกเว้น ภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517ซึ่ง แก้ไข เพิ่มเติม โดย พระราชกฤษฎีกา ออก ตาม ความใน ประมวลรัษฎากรว่าด้วย การ ลด อัตรา และ ยกเว้น ภาษีการค้า (ฉบับที่ 133) พ.ศ. 2526มาตรา 4 ระบุ รายการ สินค้า ไว้ คือ (4) (ข)…ผลิตภัณฑ์ อาหาร ใด ๆ…เฉพาะ ที่ บรรจุ ภาชนะ หรือ หีบ ห่อ ผนึก หรือ ที่ บรรจุ ภาชนะ หรือ หีบ ห่อที่ มี ชื่อ การค้า หรือ เครื่องหมายการค้า ปรากฏ อยู่ บน หรือ ใน ภาชนะหรือ หีบ ห่อ ซึ่ง สามารถ มองเห็น ได้ จาก ภายนอก (10) ผลิตภัณฑ์ อาหารที่ ผลิต จาก แป้ง หรือ ถั่ว เฉพาะ ที่ นำเข้า ใน ราชอาณาจักร ดังนี้หาก สินค้า ที่ โจทก์ ผลิต จำหน่าย เป็น สินค้า ที่ ระบุ ไว้ ใน รายการ ดังกล่าวรายการ หนึ่ง รายการ ใด ย่อม เป็น สินค้า ที่ ได้ ระบุ ใน บัญชี ท้ายพระราชกฤษฎีกา แล้ว โจทก์ ย่อม ไม่ได้ รับ ยกเว้น ภาษีการค้า และ ไม่มี สิทธิเรียกเงิน จำนวน ดังกล่าว แล้ว คืน จาก จำเลย หาใช่ สินค้า ที่ โจทก์ ผลิตจำหน่าย หาก มิได้ ระบุ ไว้ ใน รายการ หนึ่ง รายการ ใด แล้ว ย่อม ได้รับยกเว้น ภาษีการค้า และ มีสิทธิ เรียกเงิน จำนวน ดังกล่าว คืน จาก จำเลยไม่ หรือ หาใช่ สินค้า ที่ โจทก์ ผลิต จำหน่าย หาก เป็น สินค้า ตาม รายการ(ข)…ผลิตภัณฑ์ อาหาร ใด ๆ เฉพาะ ที่ มิได้ บรรจุ ภาชนะ หรือ หีบ ห่อ ผนึกหรือ ที่ มิได้ บรรจุ ภาชนะ หรือ หีบ ห่อ ที่ มี ชื่อ การค้า หรือ เครื่องหมายการค้า ปรากฏ อยู่ บน หรือ ใน ภาชนะ หรือ หีบ ห่อ ซึ่ง สามารถ มองเห็น ได้ จากภายนอก หรือ (จ) ผลิตภัณฑ์ อาหาร ที่ ผลิต จาก แป้ง หรือ ถั่ว ของมาตรา 5(8) แห่ง พระราชกฤษฎีกา ออก ตาม ความใน ประมวลรัษฎากรว่าด้วย การ ลด อัตรา และ ยกเว้น ภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517แก้ไข เพิ่มเติม โดย พระราชกฤษฎีกา ออก ตาม ความใน ประมวลรัษฎากรว่าด้วย การ ลด อัตรา และ ยกเว้น ภาษีการค้า (ฉบับที่ 179) พ.ศ. 2529มาตรา 3 รายการ หนึ่ง รายการ ใด แล้ว ย่อม ได้รับ ยกเว้น ภาษีการค้าและ มีสิทธิ เรียกเงิน จำนวน ดังกล่าว แล้ว คืน จาก จำเลย ไม่ เพราะ สินค้าที่ จะ ได้รับ ยกเว้น ภาษีการค้า ตาม มาตรา 5(8) แห่ง พระราชกฤษฎีกาออก ตาม ความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วย การ ลด อัตรา และ ยกเว้น ภาษีการค้า(ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 แก้ไข เพิ่มเติม โดย พระราชกฤษฎีกา ออก ตาม ความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วย การ ลด อัตรา และ ยกเว้น ภาษีการค้า(ฉบับที่ 179) พ.ศ. 2529 มาตรา 3 นั้น ลำดับ แรก จะ ต้อง เป็น สินค้า ที่มิได้ ระบุ ใน บัญชี ที่ 1 บัญชี ที่ 2 และ บัญชี ที่ 3 ท้าย พระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เสีย ก่อน หาก เป็น สินค้า ที่ ได้ ระบุ ใน บัญชี ที่ 1 หรือ บัญชีที่ 2 หรือ บัญชี ที่ 3 รายการ หนึ่ง รายการ ใด หรือ บัญชี หนึ่ง บัญชี ใด แล้วจะ ถือว่า เป็น สินค้า ที่ มิได้ ระบุ ใน บัญชี ที่ 1 บัญชี ที่ 2 และ บัญชีที่ 3 หาได้ไม่ นอกจาก นี้ แม้ จะ เป็น สินค้า ที่ มิได้ ระบุ ใน บัญชี ที่ 1บัญชี ที่ 2 และ บัญชี ที่ 3 รายการ หนึ่ง รายการ ใด หรือ บัญชี หนึ่ง บัญชี ใดแล้ว ยัง ต้อง เป็น สินค้า ตาม รายการ (ก) ถึง (ฌ) รายการ หนึ่ง รายการ ใดเท่านั้น จึง จะ ได้รับ ยกเว้น ภาษีการค้า เช่น ผลิตภัณฑ์ อาหาร ที่ ผลิตจาก แป้ง หรือ ถั่ว ที่ จะ ได้รับ ยกเว้น ภาษีการค้า ต้อง ผลิต ใน ราชอาณาจักรและ มิได้ บรรจุ ภาชนะ หรือ หีบ ห่อ ผนึก หรือ มิได้ บรรจุ ภาชนะ หรือ หีบ ห่อที่ มี ชื่อ การค้า หรือ เครื่องหมายการค้า ปรากฏ อยู่ บน หรือ ใน ภาชนะหรือ หีบ ห่อ ซึ่ง สามารถ มองเห็น ได้ จาก ภายนอก เป็นต้น มิใช่ สินค้าที่ มิได้ ระบุ ใน บัญชี ที่ 1 บัญชี ที่ 2 และ บัญชี ที่ 3 ซึ่ง มี อยู่จำนวน มาก กว่า ที่ ระบุ ใน (ก) ถึง (ฌ) จะ ได้รับ ยกเว้น ไป ทั้งหมดดังนั้น เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ยุติ ว่า สินค้า ที่ โจทก์ ผลิต จำหน่ายเป็น ผลิตภัณฑ์ อาหาร ที่ ผลิต จาก แป้ง หรือ ถั่ว ที่ ผลิต ใน ราชอาณาจักรแม้ จะ มิใช่ ผลิตภัณฑ์ อาหาร ที่ ผลิต จาก แป้ง หรือ ถั่ว ที่ นำเข้า ในราชอาณาจักร อันเป็น สินค้า ที่ มิได้ ระบุ ใน บัญชี ที่ 1 หมวด 1(10)ท้าย พระราชกฤษฎีกา ออก ตาม ความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วย การ ลด อัตราและ ยกเว้น ภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 ก็ ตาม แต่เมื่อ เป็นผลิตภัณฑ์ อาหาร ใด ๆ ที่ บรรจุ หีบ ห่อ ผนึก ที่ มี เครื่องหมายการค้าปรากฏ อยู่ บน หีบ ห่อ ซึ่ง สามารถ มองเห็น ได้ จาก ภายนอก อันเป็น สินค้าตาม บัญชี ที่ 1 หมวด 1(4) ท้าย พระราชกฤษฎีกา ออก ตาม ความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย การ ลด อัตรา และ ยกเว้น ภาษีการค้า (ฉบับที่ 54)พ.ศ. 2517 แล้ว ย่อม เป็น สินค้า ที่ ได้ ระบุ ใน บัญชี ที่ 1 ท้ายพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าว แล้ว จึง ไม่ได้ ยกเว้น ภาษีการค้า สำหรับการ ขาย สินค้า ดังกล่าว โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ เรียกเงิน จำนวน 57,545,647บาท คืน จาก จำเลย ศาลภาษีอากรกลาง พิพากษายก ฟ้องโจทก์ ชอบแล้วอุทธรณ์ ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน