คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2902/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

พนักงานเดินหมายส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่1ที่2โดยวิธีปิดหมายจำเลยที่1ที่2มีสิทธิยื่นคำให้การภายใน23วันแต่จำเลยที่1ที่2เพิ่งนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปให้ทนายความในวันสุดท้ายที่ต้องยื่นคำให้การแสดงว่าจำเลยที่1ที่2ไม่สนใจเกี่ยวกับการถูกฟ้องและไม่สนใจที่จะต่อสู้คดีทนายจำเลยที่1ที่2เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่1ที่2จะอ้างเหตุที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งเป็นทนายความไม่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรายละเอียดว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23ไม่ได้ถือได้ว่าจำเลยที่1ที่2จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ไม่ยื่นคำขอให้ศาลสั่งว่าจำเลยที่1ที่2ขาดนัดยื่นคำให้การภายใน15วันนับแต่วันครบกำหนดยื่นคำให้การแม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา198วรรคสองใช้คำว่า”ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี”ก็ไม่ใช่เป็นบทบังคับศาลคงให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้ การที่จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวก่อนศาลจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่าจะทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวหรือไม่สำหรับบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา21(4)ไม่ได้เป็นบทบังคับศาลที่จะต้องทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวเสมอไป

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง เจ็ด ขนย้าย ทรัพย์สิน และ บริวารออก ไป จาก ที่ดิน และ ตึกแถว ของ โจทก์ ให้ ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย
จำเลย ที่ 3 ถึง ที่ 7 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ไม่สืบ พยาน
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง เจ็ด ขนย้าย ทรัพย์สิน และ บริวารออก ไป จาก ที่ดิน และ ตึกแถว ของ โจทก์ และ ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ใน อัตรา เดือน ละ 4,000 บาท ต่อ ตึกแถว 1 ห้อง จนกว่า จะ ขนย้ายทรัพย์สิน และ บริวาร ออกจาก ที่ดิน และ ตึกแถว ของ โจทก์ เสร็จสิ้นคำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก
จำเลย ที่ 1 ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า การ ที่ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ยื่น คำร้องขอ ขยายระยะเวลา ยื่นคำให้การ ตาม คำร้อง ฉบับ ลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2534และ คำร้องขอ ยื่นคำให้การ ตาม คำร้อง ฉบับ ลงวันที่ 21 กันยายน 2534โดย อ้าง เหตุ ว่า ทนายจำเลย ที่ 1 ที่ 2 เพิ่ง ได้รับ แต่งตั้งเป็น ทนายจำเลย ที่ 1 ที่ 2 ใน วันที่ 8 กรกฎาคม 2534 มี ความจำเป็นต้อง ตรวจสอบ ข้อเท็จจริง และ รายละเอียด เกี่ยวกับ คดี นี้ ก่อนเป็น พฤติการณ์ พิเศษ และ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ไม่ได้ จงใจ ขาดนัด ยื่นคำให้การ หรือไม่ เห็นว่า แม้ ทนายจำเลย ที่ 1 ที่ 2 เพิ่ง ได้รับแต่งตั้ง ให้ เป็น ทนายความ แทน จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ใน วัน ยื่น คำร้อง ก็ ตามแต่ ตาม รายงาน การ เดินหมาย ฉบับ ลงวันที่ 19 มิถุนายน 2534พนักงานเดินหมาย ได้ ส่งหมาย เรียก และ สำเนา คำฟ้อง ให้ แก่จำเลย ที่ 1 ที่ 2 โดย วิธี ปิด หมาย เมื่อ วันที่ 15 มิถุนายน 2534 ซึ่งจำเลย ที่ 1 ที่ 2 มีสิทธิ ที่ จะ ยื่นคำให้การ ได้ ภายใน 23 วันแต่ ปรากฏว่า จำเลย ที่ 1 ที่ 2 เพิ่ง นำ หมายเรียก และ สำเนา คำฟ้อง ไป ให้ทนายจำเลย ที่ 1 ที่ 2 ใน วันที่ 8 กรกฎาคม 2534 ทั้ง ๆ ที่ มี เวลาถึง 20 วัน เศษ ที่ จะ จัดหา ทนายความ แต่ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ก็ หาดำเนินการ อย่างใด ไม่ แสดง ว่า จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ไม่ สนใจ เกี่ยวกับการ ที่ ถูก ฟ้อง และ ไม่ สนใจ ที่ จะ ดำเนินการ ต่อสู้ คดี ทนายจำเลย ที่ 1ที่ 2 ซึ่ง เป็น เพียง ตัวแทน ของ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 จะ อ้าง เหตุ ที่เพิ่ง ได้รับ การ แต่งตั้ง เป็น ทนายความ และ ไม่ได้ ตรวจสอบ ข้อเท็จจริงและ รายละเอียด ว่า เป็น พฤติการณ์ พิเศษ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 หาได้ไม่ จำเลย ที่ 1ที่ 2 จงใจ ขาดนัด ยื่นคำให้การ ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย ที่ 1 ที่ 2ฟังไม่ขึ้น
ประการ ที่ สอง การ ที่ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ไม่ได้ ยื่นคำให้การภายใน กำหนด และ โจทก์ ไม่ได้ ยื่น คำขอ ให้ ศาลชั้นต้น สั่ง ว่า จำเลย ที่ 1ที่ 2 ขาดนัด ยื่นคำให้การ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ยื่น คำแถลง ขอให้ศาลชั้นต้น สั่ง จำหน่ายคดี ศาลชั้นต้น ยก คำแถลง ชอบ หรือไม่ เห็นว่าตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 บัญญัติ ว่า หาก จำเลยขาดนัด ยื่นคำให้การ ให้ โจทก์ มี คำขอ ต่อ ศาล ภายใน สิบ ห้า วัน นับแต่ระยะเวลา ที่ กำหนด ให้ จำเลย ยื่นคำให้การ ได้ สิ้นสุด ลง เพื่อ ให้ ศาลมี คำสั่ง ว่า จำเลย ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ใน วรรคสอง ของ มาตราเดียว กัน บัญญัติ ว่า ถ้า โจทก์ ไม่ยื่น คำขอ ต่อ ศาล ภายใน กำหนด ระยะเวลาดังกล่าว แล้ว ให้ ศาล มี คำสั่ง จำหน่ายคดี นั้น ออก เสีย จาก สารบบความแม้ กฎหมาย จะ ใช้ คำ ว่า “ให้ ศาล มี คำสั่ง จำหน่ายคดี ” ก็ ไม่ใช่ เป็นบทบังคับ ศาล เด็ดขาด ให้ ต้อง มี คำสั่ง จำหน่ายคดี คง ให้ อยู่ ใน ดุลพินิจของ ศาล ที่ จะ สั่ง จำหน่ายคดี หรือไม่ ก็ ได้ ดังนั้น ที่ ศาลชั้นต้น สั่ง ยกคำแถลง ของ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 จึง ชอบแล้ว ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย ที่ 1ที่ 2 ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน
ประการ ที่ สาม จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ยื่น คำร้อง ให้ งด การ สืบพยานจำเลย ที่ 1 ที่ 2 ไว้ เพื่อ รอ คำสั่ง ของ ศาล สูง ว่า จะ รับคำ ให้การ ของจำเลย ที่ 1 ที่ 2 หรือไม่ การ ที่ ศาลชั้นต้น ไม่อนุญาต ให้ งด การ สืบพยานของ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ไว้ จึง ไม่ชอบ นั้น เห็นว่า เมื่อ ศาล มี คำสั่งว่า จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ขาดนัด ยื่นคำให้การ แต่เพียง อย่างเดียว โดยไม่ ขาดนัดพิจารณา ด้วย เมื่อ โจทก์ สืบพยาน ฝ่าย โจทก์ เสร็จ แล้วศาล ชอบ ที่ จะ ให้ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 อ้าง ตนเอง เบิกความ เป็น พยานได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสองการ ที่ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ขอ งดสืบพยาน เพื่อ รอ ฟัง ผล คำพิพากษา หรือคำสั่ง ของ ศาล สูง เป็น การ ใช้ ดุลพินิจ ของ ศาลชั้นต้น แม้ ศาล สูงจะ กลับ คำสั่งศาล ชั้นต้น เป็น ให้ รับคำ ให้การ ของ จำเลย ที่ 1 ที่ 2ไว้ ศาล สูง ก็ ชอบ ที่ จะ เพิกถอน คำพิพากษา และ กระบวนพิจารณาของ ศาลชั้นต้น เสีย ได้ คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น จึง ชอบแล้ว ฎีกา ข้อ นี้ของ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน
ประการ สุดท้าย จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ฎีกา ว่า ใน วันที่ 27 กันยายน2534 จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ได้ ยื่น คำร้องขอ ให้ ศาล เพิกถอน กระบวนพิจารณาที่ ผิดระเบียบ เนื่องจาก ศาลชั้นต้น สั่ง ยกคำร้อง ขอยื่น คำให้การ ฉบับลงวันที่ 21 กันยายน 2534 โดย ไม่ได้ ทำการ ไต่สวน จึง ไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย นั้น ฎีกา ข้อ นี้ ศาลอุทธรณ์ ยัง ไม่ได้ วินิจฉัย ศาลฎีกา เห็นว่าไม่ควร ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย อีก เห็นควร วินิจฉัย ไป เสียทีเดียว เห็นว่า การ ที่ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ยื่น คำร้องขอ อนุญาต ยื่นคำให้การ นั้น ไม่มี กฎหมาย บัญญัติ ว่า ก่อน ที่ ศาล จะ สั่ง คำร้อง นี้ ศาลจะ ต้อง ไต่สวน คำร้อง ดังกล่าว ก่อน ศาล จึง มีอำนาจ ใช้ ดุลพินิจ ว่า จะ ทำการไต่สวน คำร้อง ดังกล่าว หรือไม่ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 21(4) ไม่ได้ เป็น บทบังคับ ศาล ที่ จะ ต้อง ทำการ ไต่สวน คำร้องดังกล่าว เสมอ ไป เมื่อ ศาลชั้นต้น ใช้ ดุลพินิจ ไม่ไต่สวน คำร้อง จึง ชอบแล้ว ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ฟังไม่ขึ้น เช่นกันที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย
พิพากษายืน

Share