แหล่งที่มา : สำนักงาน ส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
การที่จำเลยที่1ยอมรับต่อพนักงานสอบสวนในคดีอาญาว่าตนขับรถยนต์โดยประมาทชนรถยนต์คันที่ ว. ขับและยอมให้พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับมีผลเพียงทำให้คดีอาญาเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา37แต่การเปรียบเทียบปรับดังกล่าวไม่ใช่คำพิพากษาคดีส่วนอาญาไม่ต้องด้วยมาตรา46ที่คดีในส่วนแพ่งจะต้องถือข้อเท็จจริงตามการที่ศาลถือเอาข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวมาชี้ขาดตัดสินคดีแพ่งจึงไม่ชอบ
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น นิติบุคคล ประเภทบริษัท จำกัด และ เป็น ผู้รับประกันภัย รถยนต์กระบะ หมายเลข ทะเบียน6 ร-0136 กรุงเทพมหานคร ของ นาง บุญสม มณีม่วง จำเลย ที่ 1เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 2 จำเลย ที่ 2 เป็น เจ้าของ รถยนต์ หมายเลขทะเบียน 9 ข-2300 กรุงเทพมหานคร เมื่อ วันที่ 12 ธันวาคม 2530เวลา ประมาณ 15 นาฬิกา นาย วิสูตร มณีม่วง บุตร ของ นาง บุญสม ขับ รถยนต์ คัน ที่ เอา ประกันภัย ไว้ กับ โจทก์ ไป ตาม ซอย สันติคาม มุ่งหน้า จะ ไป ออก ถนน สุขุมวิท ขณะ เดียว กัน จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์ หมายเลข ทะเบียน 9 ข-2300 กรุงเทพมหานคร ของ จำเลย ที่ 2 ใน ทางการที่จ้างของ จำเลย ที่ 2 ไป ตาม ซอย สันติคาม 2 ซึ่ง เป็น ซอย แยก จาก ซอย สันติคาม มุ่งหน้า จะ ไป ซอย สันติคาม 3 เมื่อ รถยนต์ ทั้ง สอง คัน มา ถึง บริเวณ สี่แยก ซอย สันติคาม ตัด กับ ซอย สันติคาม 2 จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์ ด้วย ความประมาท เฉี่ยว ชน กับ รถยนต์ ที่นาย วิสูตร เป็น คนขับ รถยนต์ ที่ นาย วิสูตร ขับ ได้รับ ความเสียหาย เสีย ค่าซ่อม ไป เป็น เงิน 39,826 บาท โจทก์ ชำระ ค่าซ่อม จำนวน ดังกล่าว แทน นาง บุญสม ผู้เอาประกันภัย ไป แล้ว จึง รับช่วงสิทธิ มา ฟ้อง เรียก จาก จำเลย ทั้ง สอง ขอให้ บังคับ จำเลยทั้ง สอง ร่วมกัน ชดใช้ เงิน จำนวน 39,826 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 ไม่รับรองการ เป็น นิติบุคคล ของ โจทก์ หนังสือ รับรอง ท้ายฟ้อง เป็น เอกสารปลอมโจทก์ กับ จำเลย ที่ 1 ไม่มี นิติสัมพันธ์ ต่อ กัน โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ ฟ้องจำเลย ที่ 1 และ รับช่วงสิทธิ จาก นาง บุญสม เหตุ ที่ รถ ชนกัน เกิดจาก ความประมาท ของ นาย วิสูตร คนขับ รถยนต์ คัน ที่ เอา ประกันภัย ไว้ กับ โจทก์ ด้วย ค่าเสียหาย ไม่เกิน 5,000 บาท แต่ จำเลย ที่ 1 ไม่ต้อง รับผิดขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 2 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 1 ชดใช้ ค่าเสียหายจำนวน 20,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปีนับ ตั้งแต่ วันที่ 12 ธันวาคม 2531 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “จำเลย ที่ 1 ฎีกา ว่า ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยว่า หลังจาก จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์ ชน รถยนต์ คัน ที่นาย วิสูตร ขับ แล้ว จำเลย ที่ 1 ยอมรับ ต่อ ร้อยตำรวจเอก ปรีชา ศิลปานุรักษ์ พนักงาน สอบสวน สถานีตำรวจภูธร ตำบล สำโรงเหนือ ว่า จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์ โดยประมาท ร้อยตำรวจเอก ปรีชา ได้เปรียบ เทียบ จำเลย ที่ 1 เป็น เงิน 400 บาท และ คดีถึงที่สุด แล้ว คดี นี้ จึง เป็น คดีแพ่ง เกี่ยวเนื่องกับ คดีอาญา ใน การ พิพากษาคดี แพ่ง ศาล จะ ต้อง ถือ ข้อเท็จจริง ตาม ที่ปรากฏ ใน คดีอาญา ซึ่ง ฟัง ว่า จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์ โดยประมาท จริง นั้นไม่ชอบ เพราะ การ เปรียบเทียบ ปรับ ของ พนักงานสอบสวน ไม่ใช่ คำพิพากษาคดี ส่วน อาญา เห็นว่า การ ที่ จำเลย ที่ 1 ยอม ให้ พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบ ปรับ และ ชำระ ค่าปรับ แล้ว มีผล เพียง ทำให้ คดีอาญา ดังกล่าวเลิกกัน ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 เท่านั้นแต่ การ เปรียบเทียบ ปรับ ของ พนักงานสอบสวน ดังกล่าว ไม่ใช่ คำพิพากษาคดี ส่วน อาญา กรณี จึง ไม่ต้อง ด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 46 ที่ คดี ใน ส่วน แพ่ง จะ ต้อง ถือ ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ถือเอา ข้อเท็จจริง ใน คดีอาญา ที่ จำเลย ที่ 1 ยอมรับ ต่อ พนักงานสอบสวนว่า จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์ โดยประมาท มา ชี้ขาด ตัดสิน คดี นี้ เป็น การ ไม่ชอบศาลอุทธรณ์ ต้อง วินิจฉัยชี้ขาด ข้อเท็จจริง ตาม พยานหลักฐาน ใน สำนวน นี้ฎีกา จำเลย ที่ 1 ฟังขึ้น และ เนื่องจาก คดี นี้ มี ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กันใน ชั้นฎีกา เพียง 20,000 บาท คดี ต้องห้าม มิให้ คู่ความ ฎีกา ในข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งจึง เห็นสมควร ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์ พิจารณา พิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2) ประกอบ มาตรา 247”
พิพากษายก คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ให้ ศาลอุทธรณ์ พิจารณา พิพากษา ใหม่ตาม รูปคดี