แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
อายุความไม่ใช่สภาพแห่งข้อหาโจทก์จึงไม่จำเป็นต้องกล่าวในคำฟ้องว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะเหตุใดเพราะเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความจะต้องนำสืบว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ จำเลย ทั้ง แปด ร่วมรับผิด ใน ฐาน ละเมิดชดใช้ ค่าเสียหาย 215,373 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ด้วย ดอกเบี้ยใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 150,000 บาท นับแต่ วันฟ้องจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 5 ขาดนัด ยื่นคำให้การ
จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 และ จำเลย ที่ 6 ถึง ที่ 8 ให้การ ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า คดี โจทก์ ขาดอายุความ แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่าโจทก์ จะ ต้อง บรรยาย มา ใน คำฟ้อง หรือไม่ ว่าคดี โจทก์ ไม่ขาดอายุความเห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองบัญญัติ ว่า “คำฟ้อง ต้อง แสดง โดย แจ้งชัด ซึ่ง สภาพแห่งข้อหา ของ โจทก์และ คำขอบังคับ ทั้ง ข้ออ้าง ที่อาศัย เป็น หลักแห่งข้อหา เช่นว่า นั้น “อายุความ ไม่ใช่ สภาพแห่งข้อหา โจทก์ จึง ไม่จำเป็น ต้อง กล่าว ใน คำฟ้องว่าคดี ของ โจทก์ ไม่ขาดอายุความ เพราะ เหตุใด เพราะ เป็น ข้อเท็จจริงที่ คู่ความ จะ ต้อง นำสืบ ว่าคดี โจทก์ ขาดอายุความ หรือไม่ และ นำสืบ ในประเด็น อื่น ต่อไป จน สิ้น กระแสความ จึง ต้อง ส่ง สำนวน คืน ไป ยัง ศาลชั้นต้นพิจารณา และ พิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243 ประกอบ กับ มาตรา 247
พิพากษายก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น และ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้ ศาลชั้นต้น พิจารณา สืบพยานโจทก์ จำเลย จน สิ้น กระแสความแล้ว พิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียม ทั้ง สาม ศาล ให้ ศาลชั้นต้นรวม สั่ง เมื่อ มี คำพิพากษา ใหม่ คืน ค่าขึ้นศาล ใน ชั้นอุทธรณ์ และ ฎีกา รวม10,370 บาท แก่ โจทก์