คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3415-3417/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยไม่อาจนำเหตุที่ได้สอบสวนข้อเท็จจริงและตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยโจทก์ที่1ที่2และที่4แล้วมาเป็นข้อพิจารณาว่าการเลิกจ้างของจำเลยเป็นการยกเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่1ที่2และที่4โดยที่โจทก์ดังกล่าวมิได้กระทำความผิดเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควรจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพระราชบัญญัติญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา49เป็นบทบัญญัติคุ้มครองลูกจ้างเพื่อมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรมแต่หาได้ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างหรือกำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิขอให้เพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างของนายจ้างด้วยไม่โจทก์ที่4จึงไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะขอให้เพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างของจำเลย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่2โดยไม่มีความผิดโจทก์ที่2จึงมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเพราะเหตุทดแทนตามระเบียบของจำเลยว่าด้วยเงินบำเหน็จพนักงานและลูกจ้างที่ออกจากงานหรือถึงแก่ความตายพ.ศ.2517ข้อ3(1)

ย่อยาว

คดีทั้งสองสำนวนนี้ศาลแรงงานกลางรวมพิจารณาพิพากษากับคดีอื่นอีกหนึ่งสำนวนซึ่งคดีดังกล่าวถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางโดยเรียกโจทก์ทั้งสามสำนวนว่าโจทก์ที่1ที่2และที่4ตามลำดับ
โจทก์ทั้งสามสำนวนฟ้องว่าโจทก์ทั้งสามเป็นลูกจ้างของจำเลยเมื่อวันที่20กรกฎาคม2532จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามโดยมีคำสั่งที่85/2532ไล่โจทก์ที่1และที่2ออกจากงานโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่13ตุลาคม2530และคำสั่งที่86/2532ให้โจทก์ที่4ออกจากงานโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่1มกราคม2531ทั้งนี้จำเลยกล่าวหาว่าโจทก์ที่1และที่2กระทำความผิดอย่างร้ายแรงฐานทุจริตต่อหน้าที่โจทก์ที่4กระทำผิดวินัยฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงโจทก์ทั้งสามมิได้กระทำผิดดังที่จำเลยกล่าวหาการสอบสวนทางวินัยที่จำเลยกระทำต่อโจทก์ที่2และที่4และการพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ที่4ไม่ชอบด้วยระเบียบข้อบังคับคำสั่งเลิกจ้างของจำเลยจึงไม่ชอบเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมทำให้โจทก์ทั้งสามเสียหายขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่85/2532,86/2532และบังคับให้จำเลยรับโจทก์ที่1และที่4กลับเข้าทำงานในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าเดิมโดยนับอายุงานโจทก์ที่4ต่อเนื่องเสมือนไม่มีการเลิกจ้างพร้อมทั้งชดใช้ค่าเสียหายหากจำเลยไม่สามารถรับโจทก์กลับเข้าทำงานได้ให้จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าค่าชดเชยค่าเสียหายและเงินบำเหน็จแก่โจทก์ตามจำนวนที่กล่าวในฟ้อง
จำเลยทั้งสามสำนวนให้การว่าโจทก์ที่1และที่2กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงฐานทุจริตต่อหน้าที่โจทก์ที่4ปกปิดความผิดและไม่ให้ความร่วมมือต่อเจ้าพนักงานตำรวจในการรวบรวมหลักฐานการกระทำของโจทก์ที่4เป็นความผิดวินัยร้ายแรงการสอบสวนทางวินัยและการพิจารณาอุทธรณ์ได้กระทำโดยชอบการที่จำเลยไล่โจทก์ที่1ที่2และให้โจทก์ที่4ออกจากงานจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมโจทก์ทั้งสามไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหายไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าขอให้ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ที่1จำนวน82,800บาทโจทก์ที่2จำนวน107,520บาทโจทก์ที่4จำนวน244,560บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในต้นเงินที่โจทก์แต่ละคนจะได้รับสำหรับโจทก์ที่1และที่2นับแต่วันที่13ตุลาคม2530ส่วนโจทก์ที่4นับแต่วันที่1มกราคม2531จนกว่าจะชำระเสร็จจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ที่1จำนวน21,620บาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่13ตุลาคม2530จนกว่าจะชำระเสร็จจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์ที่1จำนวน234,600บาทโจทก์ที่2จำนวน645,120บาทโจทก์ที่4จำนวน1,599,360บาทกับจ่ายโบนัสแก่โจทก์ที่4จำนวน24,337.50บาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในต้นเงินที่โจทก์แต่ละคนได้รับนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จคำขออื่นให้ยก
โจทก์ทั้งสามสำนวนและจำเลยทั้งสามสำนวนอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า”คดีนี้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่1ที่2และที่4โดยมีคำสั่งไล่โจทก์ที่1และที่2ออกจากงานอ้างเหตุว่าทุจริตต่อหน้าที่และให้โจทก์ที่4ออกจากงานฐานผิดวินัยอย่างร้ายแรงอ้างเหตุว่าไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่กับมีพฤติการณ์ปกปิดช่วยเหลือผู้กระทำผิดไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความซื่อสัตย์สุจริตถือได้ว่าประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงแต่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ที่1และที่2มิได้ทุจริตต่อหน้าที่ส่วนโจทก์ที่4ได้กระทำการตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายถือไม่ได้ว่าไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่และโจทก์ที่4มิได้ปกปิดช่วยเหลือผู้กระทำผิดโจทก์ที่1ที่2และที่4มิได้ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยในกรณีร้ายแรงดังนี้การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่1ที่2และที่4จึงเป็นการเลิกจ้างโดยโจทก์ดังกล่าวมิได้กระทำความผิดส่วนที่จำเลยได้สอบสวนข้อเท็จจริงและตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยโจทก์ที่1และที่4แล้วจึงมีคำสั่งไล่ออกและให้ออกนั้นเห็นว่าแม้จำเลยได้สอบสวนข้อเท็จจริงและตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยโจทก์ที่1ที่2และที่4ตามข้อบังคับของจำเลยแล้วก็ตามแต่ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าการที่นายจ้างมีคำสั่งเลิกจ้างลูกจ้างนั้นเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างศาลแรงงานก็มีอำนาจที่จะมีคำสั่งดังที่ปฏิบัติไว้ในมาตรา49แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522ได้ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่217/2524ระหว่างนาย เจริญคุณะดิลก โจทก์การประปานครหลวงกับพวกจำเลยจึงไม่อาจนำเหตุที่จำเลยได้สอบสวนข้อเท็จจริงและตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยแล้วมาเป็นข้อพิจารณาว่าการเลิกจ้างของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่1ที่2และที่4โดยที่โจทก์ดังกล่าวมิได้กระทำความผิดจึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมอุทธรณ์ของโจทก์ที่1ที่2และที่4ข้อนี้ฟังขึ้น
ที่โจทก์ที่4อุทธรณ์ขอให้เพิกถอนคำสั่งจำเลยที่86/2532อันเป็นคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ที่4นั้นพิเคราะห์แล้วการที่จำเลยเลิกจ้างก็คือการที่จำเลยเลิกสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์ที่4ซึ่งจำเลยมีสิทธิที่จะบอกเลิกจ้างหรือเลิกสัญญากับโจทก์ที่4ได้สำหรับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา49ดังกล่าวข้างต้นก็เป็นบทบัญญัติคุ้มครองลูกจ้างโดยมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างไม่เป็นธรรมหากมีการเลิกจ้างลูกจ้างไม่เป็นธรรมศาลแรงงานมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานโดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างต่อไปในอัตราที่เคยได้รับขณะที่มีการเลิกจ้างประการหนึ่งแต่ถ้าศาลแรงงานพิจารณาแล้วเห็นว่าลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจที่จะทำงานร่วมกันต่อไปได้ด้วยดีแล้วก็มีอำนาจที่จะสั่งไม่ให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานได้แต่ต้องให้นายจ้างใช้ค่าเสียหายแก่ลูกจ้างแทนเท่านั้นหาได้ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างหรือกำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิขอให้เพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างของนายจ้างด้วยไม่ดังนั้นโจทก์ที่4จึงไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะขอให้เพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างของจำเลยที่86/2532อุทธรณ์ของโจทก์ที่4ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาว่าจำเลยจะต้องจ่ายค่าชดเชยและเงินบำเหน็จแก่โจทก์ที่2หรือไม่สำหรับค่าชดเชยจำเลยให้การว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่2เนื่องจากโจทก์ที่2ทุจริตต่อหน้าที่เป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานโดยจำเลยมิได้ให้การว่าไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ที่2เพราะเหตุอื่นด้วยแต่อย่างใดดังนั้นอุทธรณ์ของจำเลยที่ว่านิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยกับโจทก์ที่2เป็นไปตามพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลพ.ศ.2517จะนำประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานมาใช้บังคับไม่ได้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลางแม้จะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่ก็เป็นเรื่องนอกประเด็นและศาลฎีกาไม่เห็นสมควรวินิจฉัยจึงไม่รับวินิจฉัยเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่2โดยโจทก์ที่2มิได้กระทำความผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้นจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ที่2ส่วนเงินบำเหน็จซึ่งจำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมีคำสั่งไล่โจทก์ที่2ออกจากงานโดยโจทก์ที่2มีความผิดทางวินัยมิใช่กรณีโจทก์ที่2ลาออกจากงานโดยไม่มีความผิดและได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาตามระเบียบของจำเลยว่าด้วยเงินบำเหน็จพนักงานและลูกจ้างที่ออกจากงานหรือถึงแก่ความตายพ.ศ.2521และระเบียบดังกล่าวฉบับที่2พ.ศ.2523ข้อ3(2)โจทก์ที่2ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จนั้นศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงมาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่2โดยโจทก์ที่2ไม่มีความผิดโจทก์ที่2เป็นพนักงานของจำเลยตั้งแต่ปี2495นับถึงวันถูกเลิกจ้างเป็นเวลาเกินกว่า30ปีซึ่งตามระเบียบของจำเลยว่าด้วยเงินบำเหน็จพนักงานและลูกจ้างที่ออกจากงานหรือถึงแก่ความตายพ.ศ.2517ข้อ3กำหนดว่า”พนักงานและลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จด้วยเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้(1)เหตุทดแทนเหตุทุพพลภาพเหตุสูงอายุหรือเหตุรับราชการนานตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ”และพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพ.ศ.2494มาตรา11บัญญัติว่า”บำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนนั้นให้แก่ข้าราชการซึ่งออกจากประจำการเพราะเลิกหรือยุบตำแหน่งหรือซึ่งมีคำสั่งให้ออกโดยไม่มีความผิด”จำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่2โดยไม่มีความผิดโจทก์ที่2จึงมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเพราะเหตุทดแทนตามระเบียบของจำเลยว่าด้วยเงินบำเหน็จพนักงานและลูกจ้างที่ออกจากงานหรือถึงแก่ความตายพ.ศ.2517ข้อ3(1)ศาลแรงงานกลางให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์ที่2ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผลอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับค่าชดเชยและเงินบำเหน็จของโจทก์ที่2ฟังไม่ขึ้น”
พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางในส่วนที่เกี่ยวกับการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าที่จ่ายแก่โจทก์ที่1ค่าชดเชยและเงินบำเหน็จที่จ่ายแก่โจทก์ที่1และที่4ให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาปัญหาเรื่องค่าเสียหายในการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมของโจทก์ที่2เรื่องจะให้จำเลยรับโจทก์ที่1และที่4เข้าทำงานต่อไปหรือจะให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายในการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ที่1และที่4แทนและเรื่องค่าจ้างสิทธิประโยชน์และเงินโบนัสนับแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันรับกลับเข้าทำงานกับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าค่าชดเชยและเงินบำเหน็จในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่1และที่4แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง

Share