คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่1ที่2ที่5และที่6ในคดีนี้ว่าร่วมกันผลิตม่านเหล็กบังตาตามสิทธิบัตรของโจทก์และร่วมกันขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์เป็นละเมิดต่อโจทก์ดังนี้เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยที่คดีก่อนกับคดีนี้มีประเด็นอย่างเดียวกันว่าจำเลยได้ร่วมกันผลิตและขายหรือไม่มีไว้เพื่อขายซึ่งม่านเหล็กบังตาอันเป็นการกระทำเทียมหรือเลียนแบบละเมิดสิทธิ์บัตรของโจทก์หรือไม่แม้คดีนี้โจทก์จะมีคำขอเพิ่มเติมโดยเรียกค่าเสียหายมาด้วยแต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องก็เป็นเรื่องเดียวกันมีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรงจำเลยผลิตและขายม่านบังตาก่อนเกิดเหตุและตลอดมาการที่จำเลยต้องหยุดการผลิตเนื่องจากถูกโจทก์แจ้งความกล่าวหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดทางอาญาและเจ้าพนักงานตำรวจได้ยกเครื่องจักรไปต่อมาเมื่อได้รับคืนเครื่องจักรที่ยึดจำเลยก็ได้ใช้เครื่องผลิตม่านบังตาตามปกติต่อมาต้องถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน จะถือว่าขาดตอนแล้วและเริ่มนับใหม่หาได้ไม่ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่1ที่2ที่5และที่6เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1)และกรณีที่จะเป็นฟ้องซ้อนนอกจากคดีจะต้องมีประเด็นอย่างเดียวกันแล้วจำเลยยังจะต้องเป็นจำเลยที่ถูกฟ้องในคดีก่อนด้วย โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่3ที่4เป็นกรรมการของจำเลยที่1ร่วมกับจำเลยที่1และจำเลยอื่นกระทำละเมิดต่อสิทธิบัตรของโจทก์แม้จะมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่3ที่4กระทำในฐานะส่วนตัวก็หาใช่ว่าจะไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวเพราะหากฟังได้ว่าจำเลยที่3และที่4ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์เมื่อศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยว่าจำเลยที่3และที่4ร่วมกันทำ ละเมิดต่อโจทก์หรือไม่และโจทก์เสียหายเพียงใดศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาตามลำดับชั้นศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243(1),247

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ผู้ทรง สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ ม่าน เหล็กบังตา ชนิด ติดกับ ประตู เหล็ก แบบ ยืด และ พับ ได้ เมื่อ ระหว่าง วันที่10 กรกฎาคม 2528 ถึง วันฟ้อง จำเลย ทั้ง หก ได้ ร่วมกัน ผลิต ผลิตภัณฑ์ม่าน เหล็ก บังตา หรือ ใช้ กรรมวิธี หรือ ใช้ แบบ ผลิตภัณฑ์ ตาม สิทธิบัตรของ โจทก์ และ ร่วมกัน ขาย หรือ มีไว้ เพื่อ ขาย ซึ่ง ผลิตภัณฑ์ ที่ ผลิต หรือใช้ กรรมวิธี หรือ ใช้ แบบ ผลิตภัณฑ์ ตาม สิทธิบัตร ของ โจทก์ อันเป็น การ ลอกหรือ เลียนแบบ การ ประดิษฐ์ ของ โจทก์ เป็น การ ละเมิด ข้อ ถือ สิทธิ ตามสิทธิบัตร ของ โจทก์ ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง หก ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหายนับแต่ วัน ทำละเมิด ถึง วันฟ้อง เป็น เงิน 1,000,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์และ ให้ ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ อีก เดือน ละ 300,000 บาท นับแต่วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย ทั้ง หก จะ ยุติ การ ผลิต ผลิตภัณฑ์ ม่าน เหล็กบังตา หรือ ใช้ กรรมวิธี หรือ ใช้ แบบ ผลิตภัณฑ์ ตาม สิทธิบัตร ของ โจทก์รวมทั้ง ให้ หยุด ขาย หรือ มีไว้ เพื่อ ขาย ซึ่ง ผลิตภัณฑ์ ม่าน เหล็ก บังตา ตามข้อ ถือ สิทธิ แห่ง สิทธิบัตร ของ โจทก์
จำเลย ทั้ง หก ให้การ ว่า ฟ้องโจทก์ เคลือบคลุม จำเลย ทั้ง หกมิได้ ร่วมกัน ละเมิด สิทธิบัตร ของ โจทก์ ตาม ฟ้อง ฟ้อง ของ โจทก์เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และ ที่ 6 เป็น ฟ้องซ้อน กับ คดีหมายเลขดำ ที่ 13943/2528 ของ ศาลแพ่ง ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ และ โจทก์ร่วม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ และ โจทก์ร่วม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี นี้ กับ คดี หมายเลขดำ ที่ 13943/2528ของ ศาลแพ่ง มี ประเด็น อย่างเดียว กัน คือ จำเลย ได้ ร่วมกัน ผลิต และ ขายหรือ มีไว้ เพื่อ ขาย ซึ่ง ม่าน เหล็ก บังตา อันเป็น การ ทำเทียม หรือ เลียนแบบละเมิด สิทธิบัตร เลขที่ 261 ของ โจทก์ หรือไม่ แม้ คดี นี้ โจทก์ จะ มี คำขอเพิ่มเติม โดย เรียก ค่าเสียหาย มา ด้วย แต่ มูลคดี ที่ โจทก์ ฟ้อง ก็ เป็นเรื่อง เดียว กัน มี ประเด็น เกี่ยวข้อง กัน โดยตรง จำเลย ผลิต และ ขายม่าน เหล็ก บังตา อันเป็น การ ประกอบ ธุรกิจ ใน ทางการ ค้า ของ จำเลยอยู่ ก่อน เกิดเหตุ และ ตลอดมา การ ที่ จำเลย ต้อง หยุด การ ผลิต เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2528 เพราะ ถูก โจทก์ แจ้งความ กล่าวหา ว่าการ กระทำของ จำเลย เป็น ความผิด ทางอาญา และ เจ้าพนักงาน ตำรวจ ได้ ยึด เอาเครื่องจักร ไป หลังจาก นั้น เมื่อ เจ้าพนักงาน ตำรวจ เห็นว่า การกระทำ ของจำเลย ไม่เป็น ความผิด และ คืน เครื่องจักร ที่ ยึด จำเลย ก็ ใช้ เครื่องจักรผลิต ม่าน เหล็ก บังตา ตาม ปกติ ต่อมา ตั้งแต่ วันที่ 10 กรกฎาคม 2528ดังนี้ ต้อง ถือว่า การกระทำ ของ จำเลย มี ลักษณะ เป็น การกระทำต่อเนื่อง กัน จะ ถือว่า ขาดตอน แล้ว และ เริ่ม การกระทำ ใหม่ ตาม ฎีกาของ โจทก์ และ โจทก์ร่วม หาได้ไม่ ฟ้องโจทก์ คดี นี้ สำหรับ จำเลย ที่ 1ที่ 2 ที่ 5 และ ที่ 6 จึง เป็น ฟ้องซ้อน กับ คดี หมายเลขดำ ที่ 13943/2528ของ ศาลแพ่ง ต้องห้าม ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1) เมื่อ ฟ้องโจทก์ เป็น ฟ้องซ้อน ก็ ย่อม มีผลถึง โจทก์ร่วม ซึ่ง เป็น ผู้ที่ได้รับ ความ ยินยอม จาก โจทก์ ให้ ใช้ สิทธิบัตร ใน การ ผลิต สินค้า ด้วย สำหรับ จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 นั้น แม้โจทก์ จะ มีสิทธิ ฟ้อง จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 ซึ่ง เป็น กรรมการ ของจำเลย ที่ 1 เข้า มา ใน คดี หมายเลขดำ ที่ 13943/2528 ของ ศาลแพ่งด้วย ก็ ตาม แต่เมื่อ โจทก์ ไม่ได้ ฟ้อง เพิ่ง จะ มา ฟ้อง จำเลย ที่ 3 และที่ 4 ใน คดี นี้ ก็ ไม่เป็น ฟ้องซ้อน เพราะ กรณี จะ เป็น ฟ้องซ้อน นอกจาก คดีจะ ต้อง มี ประเด็น อย่างเดียว กัน แล้ว จำเลย ยัง จะ ต้อง เป็น จำเลย ที่ถูก ฟ้อง ใน คดี ก่อน ด้วย
โจทก์ ฟ้อง กล่าวอ้าง ว่า จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 ซึ่ง เป็น กรรมการของ จำเลย ที่ 1 ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 และ จำเลย อื่น กระทำ ละเมิด สิทธิบัตรของ โจทก์ แม้ โจทก์ จะ มิได้ บรรยาย ว่า จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 กระทำใน ฐานะ ส่วนตัว ก็ หาใช่ ว่า จะ ไม่ต้อง รับผิด เป็น ส่วนตัว ตาม คำวินิจฉัย ของ ศาลชั้นต้น ไม่ เพราะ หาก รับฟัง ได้ว่า จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4ร่วมกัน ทำละเมิด ต่อ โจทก์ ก็ ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ คดี จึง มี ปัญหาข้อ ต่อไป ตาม ฎีกา ของ โจทก์ และ โจทก์ร่วม ว่า จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4ร่วมกัน ทำละเมิด ต่อ โจทก์ หรือไม่ และ โจทก์ เสียหาย เพียงใด แต่ เห็นว่าปัญหา หรือ ประเด็น ดังกล่าว ศาลล่าง ทั้ง สอง ยัง มิได้ วินิจฉัย จึง เห็นสมควร ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลชั้นต้น วินิจฉัย และ พิพากษา ตามลำดับ ชั้น ศาลตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ประกอบ ด้วยมาตรา 247
พิพากษายก คำพิพากษา ของ ศาลล่าง ทั้ง สอง เฉพาะ ใน ส่วน ที่เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 ให้ ศาลชั้นต้น วินิจฉัย และ พิพากษาใน ประเด็น ข้อ 3 และ ข้อ 4 ตาม ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด ไว้ ใน ส่วนที่ เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 ต่อไป

Share