คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 216/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยสั่งซื้อสินค้าพิพาทจากบริษัท ก. ในประเทศ สหรัฐอเมริกาแล้วว่าจ้างโจทก์ขนส่งสินค้าทางทะเลแบบ ซีวาย/ซีวาย โดยบริษัท ก.เป็นฝ่ายนำตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้ามามอบให้โจทก์บรรทุกลงเรือเมื่อมาถึงท่าเรือกรุงเทพฯซึ่งเป็นท่าปลายทางจำเลยมีหน้าที่ไปขนถ่ายสินค้าออกจากตู้คอนเทนเนอร์ภายใน7วันแล้วส่งตู้คอนเทนเนอร์คืนโจทก์จำเลยจะชำระราคาสินค้าให้บริษัท ก.โดยผ่านทางธนาคารแล้วจำเลยจะรับใบตราส่งจากธนาคารไปแลกใบสั่งปล่อยสินค้าจากโจทก์เพื่อไปรับสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยต่อมาโจทก์ขนส่งสินค้าพิพาทไปถึงท่าเรือปลายทางและพร้อมที่จะส่งมอบสินค้าโดยยกตู้คอนเทนเนอร์ออกจากเรือทั้งได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าระวางและค่าเสียหายอันเกิดจากการที่จำเลยไม่ไปรับสินค้าตามข้อตกลงการที่จำเลยจะเรียกให้โจทก์ส่งมอบสินค้าหรือไม่หามีผลต่อความรับผิดที่จำเลยมีตามข้อตกลงไม่ปัญหาว่าเมื่อผู้รับตราส่งยังไม่ได้เรียกให้ผู้ขนส่งส่งมอบสินค้าโดยวิธีนำใบตราส่งแลกกับใบปล่อยสินค้าจะทำให้ผู้รับตราส่งยังไม่ได้รับโอนสิทธิหน้าที่อันเกิดจากสัญญารับขนหรือไม่จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย สั่ง ซื้อ สินค้า จำพวก เม็ด พลาสติก จาก บริษัท โกลเด้นเท็กซ์ จำกัด ประเทศ สหรัฐอเมริกา มา ยัง ประเทศ ไทย โดย มี ข้อตกลง ระหว่าง บริษัท ผู้ขาย สินค้า โจทก์ และ จำเลย ว่า ให้ โจทก์เป็น ผู้ขนส่ง สินค้า ดังกล่าว และ ให้ โจทก์ เก็บ ค่าระวาง ขนส่ง จาก จำเลยใน ฐานะ ผู้รับตราส่ง ที่ เมือง ท่า ปลายทาง โจทก์ ดำเนินการ ขนส่ง สินค้าดังกล่าว จาก ประเทศ สหรัฐอเมริกา มา ถึง ท่าเรือ กรุงเทพ ฯ และ ส่งมอบ สินค้า ให้การ ท่าเรือ แห่งประเทศ ไทย จำเลย มี หน้าที่ ทำ พิธี การทาง ศุลกากร เพื่อ ขอรับ สินค้า ใน ตู้ คอนเทนเนอร์ จาก การท่าเรือ แห่งประเทศ ไทย แต่ จำเลย มิได้ ทำ พิธี การ ทาง ศุลกากร ภายใน กำหนดเนื่องจาก มี ปัญหา เกี่ยวกับ ค่าอากร ของ สินค้า ที่ นำเข้า มา จำเลย จึง ต้องชดใช้ ค่าระวาง สินค้า ค่าเสียหาย เนื่องจาก ไม่ได้ ใช้ ตู้ คอนเทนเนอร์ค่า ขนถ่าย สินค้า ออกจาก ตู้ คอนเทนเนอร์ ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงินจำนวน 535,733.98 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ของ ต้นเงินดังกล่าว นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่า จำเลย มิได้ เป็น ลูกค้าและ มิได้ ว่าจ้าง โจทก์ ขนส่ง สินค้า พิพาท จำเลย ไม่ได้ สั่ง ซื้อ สินค้าจาก บริษัท โกลเด้นเท็กซ์ จำกัด ข้อตกลง ใน การ ว่าจ้าง ขนส่ง สินค้า ระหว่าง โจทก์ กับ บริษัท ดังกล่าว ไม่ผูกพัน จำเลย ข้อเท็จจริง มี ว่านาย อิ๋วเตอเอี๋ยน ผู้แทน บริษัท นิวซิกม่าอินเตอร์เนชั่นแนล เทรดดิ้ง จำกัด จ้าง จำเลย ผลิต เม็ด พลาสติก แล้ว ส่ง ไป ให้ บริษัท นิวซิกม่าอินเตอร์เนชั่นแนลเทรดดิ้ง จำกัด ที่ ประเทศ ไต้หวัน และ เพื่อ เป็น ประกัน ว่า จำเลย จะ ปฏิบัติ ตาม สัญญา บริษัท นิวซิกม่าอินเตอร์เนชั่นแนลเทรดดิ้ง จำกัด ได้ ขอให้ จำเลย รับรอง ตั๋วแลกเงิน ใบตราส่ง และ เอกสาร อื่น ๆ ที่ บริษัท ผู้ส่ง วัตถุดิบซึ่ง อยู่ ใน เครือ เดียว กัน ส่ง มา ให้ ธนาคาร ตัวแทน ใน ประเทศ ไทย ส่วนบริษัท นิวซิกม่าอินเตอร์เนชั่นแนลเทรดดิ้ง จำกัด จะ เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิต สำหรับ เงิน ค่าจ้าง และ ส่ง เงิน หมุนเวียน จำนวน 2,000,000 บาทให้ แก่ จำเลย ภายใน วันที่ 15 กันยายน 2530 ต่อมา จำเลย ทราบ ว่าบริษัท นิวซิกม่าอินเตอร์เนชั่นแนลเทรดดิ้ง จำกัด สั่ง ให้ บริษัท โกลเด้นเท็กซ์ จำกัด ประเทศ สหรัฐอเมริกา ส่ง สินค้า พิพาท ซึ่ง เป็น วัตถุดิบ ใน การ ผลิต เม็ด พลาสติก มา ให้ แก่ จำเลย แต่ ปรากฏว่าบริษัท นิวซิกม่าอินเตอร์เนชั่นแนลเทรดดิ้ง จำกัด ผิดสัญญา จำเลย จึง ไม่ได้ รับมอบ สินค้า พิพาท จาก โจทก์ และ ไม่ต้อง รับผิด ชดใช้ ค่าระวางสินค้า กับ ค่าเสียหาย ตาม ฟ้อง ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ1 ปี แล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 449,253.98 บาทแก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ของ ต้นเงิน ดังกล่าวนับแต่ วันฟ้อง จนกว่า ชำระ เสร็จ
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง เบื้องต้น รับฟังได้ ตาม ที่ โจทก์ นำสืบ โดย จำเลย ไม่ได้ ปฏิเสธ ว่า ประมาณ เดือน กันยายน2530 โจทก์ ซึ่ง เป็น บริษัท จำกัด มี สำนักงาน ใหญ่ ตั้ง อยู่ ประเทศ สหรัฐอเมริกา และ มี สาขา อยู่ ที่ กรุงเทพมหานคร มี วัตถุประสงค์ ประกอบการ ขนส่ง ระหว่าง ประเทศ ทางทะเล ได้ ขนส่ง สินค้า จำพวกเม็ด พลาสติก จำนวน 704 ถัง บรรจุ ตู้ คอนเทนเนอร์ 4 ตู้มา ทางเรือ เดิน ทะเล จาก ประเทศ สหรัฐอเมริกา ตาม ที่ มี ผู้ว่าจ้าง และ จำเลย เป็น ผู้รับตราส่ง เรือ ได้ มา ถึง ท่าเรือ กรุงเทพ วันที่ 8 ตุลาคม2530 จำเลย ไม่ได้ ปฏิบัติการ ขอรับ สินค้า ดังกล่าว คดี มี ปัญหา ว่าจำเลย ต้อง รับผิด ชำระ ค่าระวาง ขนส่ง สินค้า ทางทะเล และ ค่าเสียหายแก่ โจทก์ หรือไม่ ได้ความ จาก นาย วรสิทธิ์ สินวิสูตร พนักงาน โจทก์ ทำงาน ฝ่าย เรียกร้อง และ ชดใช้ ค่าเสียหาย กับ นาย ประสิทธิ์ รุ่งนภา ผู้จัดการ ฝ่าย ขาย ของ โจทก์ มี หน้าที่ ติดต่อ และ ติดตาม ทวง หนี้ ลูกค้าผู้ว่าจ้าง โจทก์ ใน การ ขนส่ง ทางทะเล ว่า จำเลย สั่ง ซื้อ สินค้า พิพาท ประเภทเม็ด พลาสติก จำนวน 704 ถัง จาก บริษัท โกลเด้นเท็กซ์ จำกัด ประเทศ สหรัฐอเมริกา แล้ว ว่าจ้าง โจทก์ ขนส่ง สินค้า ทางทะเล แบบ ซีวาย/ซีวาย กล่าว คือ บริษัท โกลเด้นเท็กซ์ จำกัด เป็น ฝ่าย นำ ตู้ คอนเทนเนอร์ บรรจุ สินค้า มา มอบ ให้ โจทก์ บรรทุก ลง เรือ เมื่อ มา ถึงท่าเรือ กรุงเทพ จำเลย มี หน้าที่ ไป ขนถ่าย สินค้า ออกจาก ตู้ คอนเทนเนอร์ภายใน 7 วัน แล้ว ส่ง ตู้ คอนเทนเนอร์ คืน โจทก์ ตกลง กัน ว่า จำเลย จะชำระ ราคา สินค้า พิพาท ให้ บริษัท ผู้ขาย โดย ผ่าน ทาง ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด แล้ว จำเลย จะ รับ เอกสาร ใบตราส่ง จาก ธนาคาร ไป แลก ใบสั่งปล่อย สินค้าจาก โจทก์ เพื่อ ไป รับ สินค้า จาก การท่าเรือแห่งประเทศไทย บริษัท โกลเด้นเท็กซ์ จำกัด ได้ ส่ง เอกสาร ใบตราส่ง ตาม สำเนา ภาพถ่าย เอกสาร หมาย จ. 7 ใบ กำกับ สินค้า ใบ อินวอยส์ มา ที่ ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด โจทก์ ได้ ส่ง สินค้า พิพาท มา ทางเรือ เดิน ทะเล และ มี หนังสือถึง จำเลย แจ้ง กำหนด วันที่ เรือ จะ เดินทาง มา ถึง ท่าเรือ กรุงเทพจำเลย ได้รับ หนังสือ และ ตอบรับ มา ที่ สำนักงาน โจทก์ ที่ กรุงเทพมหานครว่า เตรียม รับ สินค้า ไว้ แล้ว เรือ บรรทุก สินค้า พิพาท มา ถึง ท่าเรือกรุงเทพ วันที่ 8 ตุลาคม 2530 โจทก์ ยก ตู้ คอนเทนเนอร์ ออกจาก เรือไป ไว้ ที่ โกดัง การท่าเรือแห่งประเทศไทย ใน วันที่ 10 เดือน เดียว กันแต่ จำเลย ไม่ได้ ปฏิบัติการ รับ สินค้า พิพาท ตาม วิธีการ ซึ่ง นาย วงศ์ กับ นางสาว มาลี วังวรวุฒิ กรรมการ จำเลย บอก สาเหตุ แก่ นาย วรสิทธิ์ ว่า เพราะ จำเลย มี ปัญหา เรื่อง อัตรา ภาษี นำเข้า และ ลูกค้า ชาว ไต้หวันที่ จะซื้อ สินค้า ต่อ จาก จำเลย มี ปัญหา เล็ตเตอร์ออฟเครดิต (แอล.ซี)ขาด อายุ ไม่อาจ เบิกเงิน ค่าซื้อ สินค้า พิพาท ได้ ครั้น นาย วรสิทธิ์ ทำ หนังสือ แจ้ง รายละเอียด ค่าใช้จ่าย ที่ จำเลย จะ ต้อง ชำระ ให้ โจทก์เอกสาร หมาย จ. 8 คำแปล หมาย จ. 9 ไป ยัง ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด โดย ส่ง สำเนา ให้ จำเลย เพื่อ ทราบ ว่า สินค้า พิพาท ยัง ไม่มี ผู้รับธนาคาร กรุงเทพ จำกัด ได้ ส่ง หนังสือ เอกสาร หมาย จ. 10 คำแปล หมาย จ. 27 ถึง นาย วรสิทธิ์ พนักงาน โจทก์ แจ้ง ว่า จำเลย เป็น ลูกหนี้ ที่ แท้จริง โดย เป็น ผู้ซื้อ สินค้า และ ได้ นำ ราคา สินค้า ไป ชำระ ที่ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด กับ นำ ใบตราส่ง สินค้า ไป จาก ธนาคาร แล้ว ส่วน ค่าใช้จ่าย ค่าระวาง ขนส่ง ตาม เอกสาร หมาย จ. 8 จำเลย ไม่ได้ชำระ ให้ โจทก์ เห็นว่า นอกจาก นาย วรสิทธิ์ และ นาย ประสิทธิ์ พยานโจทก์ จะ เบิกความ สอดคล้อง กัน แล้ว นาย สิทธิชัย สนธิสมบัติ พนักงานธนาคาร กรุงเทพ จำกัด หน้าที่ ส่วน ตั๋วแลกเงิน เรียกเก็บ ขาเข้า พยานโจทก์ อีก ปาก ยัง เบิกความ สนับสนุน อีก ว่า โจทก์ ได้ ส่งเอกสาร หมาย จ. 22 ซึ่ง นาย ประสงค์ ประนิธานธรรม พยาน จำเลย รับ ว่า เป็น เอกสาร ใบ แจ้ง ราคา สินค้า พิพาท ไม่รวม ค่าระวาง ขนส่ง มา ให้ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด และ จำเลย ทราบ ต่อมา จำเลย ได้ นำ ใบตราส่ง สินค้า พิพาท ไป จาก ธนาคาร พร้อม กับ ลงนาม ประทับตรา บริษัท จำเลย ท้ายใบ รับ เอกสาร หมาย จ. 24 มี ใจความ ระบุ ว่า ผู้รับเงิน คือ บริษัท โกลเด้นเท็กซ์ จำกัด ผู้จ่าย เงิน คือ จำเลย ได้ความ ดังกล่าว จำเลย ไม่ได้ นำสืบ ปฏิเสธ ถึง วิธีการ รับ ใบตราส่ง จาก ธนาคาร และ ไม่ได้ ปฏิเสธว่า ได้รับ ใบตราส่ง มา แล้ว จึง เชื่อ ได้ว่า จำเลย ได้ ชำระ ราคา สินค้า พิพาทต่อ ธนาคาร แม้ ใบตราส่ง ไม่ใช่ เป็น หลักฐาน แห่ง การ ซื้อ ขาย สินค้า พิพาทก็ ตาม แต่ ตาม พฤติการณ์ เชื่อ ได้ว่า จำเลย เป็น ผู้สั่งซื้อ สินค้า พิพาทจาก บริษัท โกลเด้นเท็กซ์ จำกัด มิฉะนั้น เหตุใด จำเลย จะ ยินยอม ชำระ ราคา สินค้า พิพาท จำนวนเงิน สูง ส่วน ปัญหา ว่า จำเลย เป็น ผู้ว่าจ้างโจทก์ ขนส่ง สินค้า พิพาท มา ทางทะเล หรือไม่ นั้น ได้ความ จากนาย ประสิทธิ์ ว่า ได้ ติดต่อ เจรจา กับ นาย วงศ์ กรรมการ ผู้จัดการ จำเลย ตาม ที่ เคย ติดต่อ ค้าขาย กัน และ เคย เห็น ลายมือชื่อ นาย วงศ์ ประจำ ภายหลัง จำเลย ส่ง หนังสือ ยอมรับ สภาพ หนี้ โจทก์ โดย ขอ ต่อรอง ลดราคา ค่าใช้จ่ายครั้น เมื่อ โจทก์ พิจารณา อนุมัติ จำเลย ทำ หนังสือ ตอบ ขอบคุณเอกสาร หมาย จ. 13 ถึง โจทก์ อีก ด้วย แต่ ภายหลัง จำเลย ไม่ได้ชำระ เงินให้ โจทก์ อ้างว่า ผู้มีอำนาจ ไม่ กล้า ตัดสิน ใจ ลงนาม ใน เช็ค เห็นว่าจำเลย ไม่ได้ นำสืบ โต้แย้ง ข้อเท็จจริง ที่ ว่า นาย ประสิทธิ์ เคย ติดต่อ ค้าขาย เคย เห็น ลายมือชื่อ นาย วงศ์ กรรมการ ผู้จัดการ จำเลย ประจำ และ ไม่ได้ นำสืบ หักล้าง ข้อเท็จจริง ใน เอกสาร หมาย จ. 11 เป็น เพียงปฏิเสธ ว่า ไม่ได้ ลงลายมือชื่อ ใน เอกสาร หมาย จ. 11 จึง เชื่อ ได้ว่าลายมือชื่อ นาย วงศ์ ท้าย เอกสาร หมาย จ. 11 เป็น ลายมือชื่อ นาย วงศ์ แท้จริง พิเคราะห์ ข้อความ ใน เอกสาร ระบุ ว่า “บริษัท เราขอรับ สภาพ หนี้จำนวนเงิน ค่าระวาง ขนส่ง สินค้า ทางทะเล และ ค่าเสียหาย เนื่องจากการ ไม่ได้ ใช้ ตู้ เนื่องจาก ความ ล่าช้า ใน การ ประเมิน ภาษี ศุลกากรบริษัท เราต้อง ประสบ กับ ความ ยาก ลำบาก เพราะ ว่า บริษัท เราได้ตกลง ราคา ขาย สำหรับ สินค้า ดังกล่าว นี้ กับ ผู้ซื้อ ใน ต่างประเทศ เป็นที่ เรียบร้อย แล้ว ซึ่ง ราคา ที่ ตกลง กัน ดังกล่าว นั้น ไม่ได้ รวมค่าเสียหาย เนื่องจาก การ ไม่ได้ ใช้ ด้วย ทำให้ บริษัท เราไม่สามารถ ที่ จะขาย สินค้า ดังกล่าว ให้ แก่ ผู้ซื้อ ตาม ราคา ที่ ตกลง กัน ไว้ ใน ครั้งแรก ได้เราหวังว่า ท่าน จะ สามารถ แบ่งเบา ภาระ ของ บริษัท เราโดย การ ลดจำนวน ค่าเสียหาย ” และ เอกสาร หมาย จ. 13 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2530หลัง วันที่ ลง ใน เอกสาร หมาย จ. 11 เพียง 2 วัน ระบุ ใจความ ว่า”ขอบ พระ คุณ มาก สำหรับ ยอด ที่ ลดลง คงเหลือ จำนวนเงิน 136,400 บาท “เชื่อ ได้ว่า จำเลย ตกลง กับ บริษัท โกลเด้นเท็กซ์ จำกัด ผู้ขาย ว่า จะ เป็น ผู้ชำระ ค่าระวาง ขนส่ง สินค้า พิพาท ตาม แบบ ซีวาย/ซีวาย คือ ชำระ ให้ โจทก์ ผู้ขนส่ง ปลายทาง ตาม ฟ้อง จริง ที่ จำเลย นำสืบ อ้างว่าความจริง นาย อิ๋วเตอเอี๋ยน ชาว ไต้หวัน เป็น ผู้สั่งซื้อ สินค้า วัสดุ สำหรับ ผลิต เม็ด พลาสติก จาก บริษัท โกลเด้นเท็กซ์ จำกัด และ จ้าง โจทก์ ให้ ขนส่ง สินค้า มา ให้ จำเลย ผลิต เม็ด พลาสติก นั้น จำเลย ไม่มี พยานบุคคลพยานเอกสาร สนับสนุน หาก เป็น จริง เมื่อ สินค้า พิพาท มา ถึง ประเทศ ไทยไม่มี ผู้รับ สินค้า เหตุใด จึง ไม่ปรากฏ ข้อเท็จจริง ว่า โจทก์ ได้ แจ้งให้ นาย อิ๋วเตอเอี๋ยน ปฏิบัติ ตาม สัญญา ที่ มี ต่อ บริษัท ผู้ขาย และ บริษัท ผู้ขนส่ง สินค้า น่าเชื่อ ตาม คำพยาน โจทก์ ว่า นาย อิ๋วเตอเอี๋ยน เป็น เพียง บุคคลภายนอก ซึ่ง ตกลง ซื้อ สินค้า ต่อ จาก จำเลย เท่านั้นที่ จำเลย ฎีกา ว่า ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 626, 627แสดง ว่า ตราบใด ที่ ผู้รับตราส่ง บุคคลภายนอก ยัง ไม่ได้ เรียก ให้ผู้ขนส่ง ส่งมอบ สินค้า โดย วิธี นำ ใบตราส่ง แลก กับ ใบปล่อยสินค้าผู้รับตราส่ง ก็ ยัง ไม่ได้ รับโอน สิทธิ หน้าที่ อัน เกิดจาก สัญญา รับขนเห็นว่า เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า จำเลย ผู้รับตราส่ง ตกลง ชำระ ค่าระวาง สินค้า พร้อม อุปกรณ์ ปลายทาง แบบ ซีวาย/ซีวาย ต่อมา โจทก์ ขนส่งสินค้า พิพาท ไป ถึง ท่าเรือ กรุงเทพ อันเป็น ท่า ปลายทาง ใน วันที่8 ตุลาคม 2530 และ พร้อม ที่ จะ ส่งมอบ สินค้า โดย ยก ตู้ คอนเทนเนอร์ออกจาก เรือ เมื่อ วันที่ 10 ตุลาคม 2530 อีก ทั้ง ได้ แจ้ง ให้ จำเลยผู้รับตราส่ง ทราบ แล้ว โจทก์ ผู้ขนส่ง ก็ ย่อม มีสิทธิ ได้รับ ค่าระวางและ ค่าเสียหาย อัน เกิดจาก การ ที่ จำเลย ไม่ไป รับ สินค้า ตาม ข้อตกลงการ ที่ จำเลย จะ เรียก ให้ โจทก์ ส่งมอบ สินค้า หรือไม่ ก็ หา มีผล ต่อความรับผิด ที่ จำเลย มี ตาม ข้อตกลง ปัญหา ว่า เมื่อ ผู้รับตราส่งยัง ไม่ได้ เรียก ให้ ผู้ขนส่ง ส่งมอบ สินค้า โดย วิธี นำ ใบตราส่ง แลก กับใบปล่อยสินค้า จะ ทำให้ ผู้รับตราส่ง ยัง ไม่ได้ รับโอน สิทธิ หน้าที่อัน เกิดจาก สัญญา รับขน ตาม บท กฎหมาย ที่ จำเลย ฎีกา หรือไม่จึง ไม่เป็น สาระ แก่ คดี อันควร ได้รับ การ วินิจฉัย เพราะ ไม่ทำ ให้ผล แห่ง คดี เปลี่ยนแปลง ได้ ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ให้ จำเลย ชดใช้ค่าระวาง สินค้า กับ ค่าเสียหาย เนื่องจาก โจทก์ ไม่ได้ ใช้ ตู้ คอนเทนเนอร์รวม จำนวนเงิน 449,253.98 บาท ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วยฎีกา จำเลย ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share