คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2538

แหล่งที่มา : สำนักงาน ส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ต้นสนที่อยู่ข้างถนนซึ่งเทศบาลจำเลยที่1มีหน้าที่ดูแลมีสภาพผุกลวงแม้จะมีฝนตกและฟ้าคะนองในวันเกิดเหตุแต่ก็เป็นฝนตกเล็กน้อยและปานกลางในช่วงสั้นๆและความเร็วของลมก็เป็นความเร็วลมปกติการที่ต้นสนล้มลงทับรถยนต์โจทก์จึงมิใช่เกิดจากเหตุสุดวิสัยเนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนแต่เป็นความบกพร่องของจำเลยที่1ที่ไม่ยอมโค่นหรือค้ำจุนต้นสนเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นจำเลยที่1จึงต้องรับผิด ค่าเสียหายเพราะเหตุที่โจทก์ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิตโดยระบบประสาทไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้เสียสมรรถภาพทางเพศและไม่สามารถเดินได้กับค่าเสียหายที่โจทก์ต้องทนทุกข์ทรมานจากการทุพพลภาพตลอดชีวิตเป็นค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงินทั้งสองกรณีอันเนื่องมาจากเหตุที่ต่างกันจึงแยกจำนวนให้ชดใช้ตามเหตุที่แยกออกจากกันเป็นแต่ละเหตุได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น นิติบุคคล มี หน้าที่ ครอบครองดูแล บำรุง รักษา ถนน สิ่งปลูกสร้าง และ ต้น ไม้ บริเวณ ไหล่ ถนน หรือบน ทางเท้า ใน เขต เทศบาล เมือง สงขลา ทั้งหมด จำเลย ที่ 2 เป็น นิติบุคคลสังกัด กระทรวงการคลัง เป็น เจ้าของ และ ผู้ดูแล ที่ดิน ราชพัสดุทั่ว ราชอาณาจักร รวมทั้ง ที่ดิน บริเวณ แหลมสนอ่อน ตำบล บ่อยาง อำเภอ เมืองสงขลา จังหวัด สงขลา ซึ่ง เป็น ที่ดิน ราชพัสดุ หมายเลข ทะเบียน 5526 ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย ที่ 11/2475โดย จำเลย ที่ 1 ได้รับ อนุญาต จาก จำเลย ที่ 2 ให้ เป็น ผู้ครอบครอง ดูแลและ ได้ ใช้ ที่ดิน ดังกล่าว ตัด ถนน ชื่อ ถนน แหลมสนอ่อน จำเลย ที่ 1เป็น ผู้ครอบครอง โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือ ต้น ไม้ บริเวณ ไหล่ ถนนหรือ บน ทางเท้า ของ ถนน ดังกล่าว โจทก์ เป็น เจ้าของ ผู้ครอบครอง รถยนต์กระบะ คัน หมายเลข ทะเบียน บ-6120 สงขลา เมื่อ วันที่ 6 พฤษภาคม 2532โจทก์ ได้ ขับ รถยนต์ คัน ดังกล่าว ไป จอด ที่ ถนน บริเวณ แหลมสนอ่อน เพื่อ จะ รอ ขึ้น แพขนานยนต์ ปรากฏว่า ต้นสน ที่ ปลูก อยู่ บริเวณ ไหล่ ถนนซึ่ง โคน ต้น ผุ กลวง เป็น โพรงได้ ล้ม มา ทับ รถยนต์ ของ โจทก์ ได้รับความเสียหาย ทั้ง คัน และ โจทก์ ซึ่ง นั่ง อยู่ ใน รถยนต์ ได้รับ อันตรายสาหัสทั้งนี้ เพราะ จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ ผู้ครอบครอง ดูแล ต้นสน ไม่ยอม โค่น หรือตัด ต้นสน เพื่อ ป้องกัน มิให้ เกิด ความเสียหาย แก่ ผู้อื่น ซึ่ง เป็น การไม่ได้ ใช้ ความระมัดระวัง ตาม สมควร เป็นเหตุ ให้ เกิดเหตุ ดังกล่าวจำเลย ที่ 2 ใน ฐานะ ผู้ครอบครอง ดูแล ที่ราชพัสดุ ร่วม กับ จำเลย ที่ 1ต้อง ร่วมรับผิด ต่อ โจทก์ ด้วย โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย ต้อง เสียค่าซ่อม รถยนต์ เป็น เงิน 90,000 บาท และ ตัว โจทก์ ได้รับ บาดเจ็บที่ ศีรษะ ลำคอ หลัง กระดูก สันหลัง หัก กด ทับ ไข สันหลัง ทำให้ ขา ทั้ง สองเป็น อัมพาต ระบบ ประสาท ไม่สามารถ ควบคุม การ ขับ ถ่าย เสีย ความ สามารถสืบ พันธุ์ ต้อง ทุพพลภาพ ตลอด ชีวิต โจทก์ เสีย ค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่าย อื่น ๆ ที่ โรงพยาบาล หาดใหญ่ เป็น เงิน 110,000 บาท ค่าจ้าง แพทย์ แผน โบราณ มา บีบ นวด เป็น เงิน 13,200 บาท รวมเป็นค่ารักษาพยาบาล 123,200 บาท ค่า รถเข็น เป็น เงิน 5,200 บาทค่าเสียหาย เพราะ เหตุ ที่ โจทก์ ต้อง กลาย เป็น คน ทุพพลภาพ ตลอด ชีวิตเป็น เงิน 500,000 บาท ค่าเสียหาย เนื่องจาก ต้อง ทน ทุกข์ ทรมานตลอด ชีวิต เป็น เงิน 300,000 บาท และ ค่า ขาด รายได้ เดือน ละไม่ ต่ำกว่า 8,000 บาท นับ ตั้งแต่ วัน ทำละเมิด จนกว่า โจทก์ อายุ65 ปี เป็น เวลา 37 ปี คิด เป็น ค่าเสียหาย 3,552,000 บาท รวมเป็นค่าเสียหาย ทั้งสิ้น 4,570,400 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จาก ต้นเงิน ดังกล่าว นับ ตั้งแต่ วัน ทำละเมิด จน ถึง วันฟ้องคิด เป็น ดอกเบี้ย 155,195 บาท รวม ต้นเงิน และ ดอกเบี้ย เป็น เงินทั้งสิ้น 4,725,595 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงินค่าเสียหาย 4,725,595 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง ไป จนกว่า จะ ชำระ ให้ โจทก์ ครบถ้วน
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า ที่ดิน บริเวณ ที่เกิดเหตุ เป็น ที่ราชพัสดุ ซึ่ง กระทรวงการคลัง เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ และ กระทรวงกลาโหมได้ ขอ ใช้ ที่ดิน บริเวณ ดังกล่าว เพื่อ สร้าง สถานี ทหารเรือ สงขลา ที่ดินรวมทั้ง สิ่งปลูกสร้าง และ ต้น ไม้ ใน บริเวณ ดังกล่าว จึง อยู่ ใน ความครอบครอง ดูแล ของ กองทัพเรือ กระทรวงกลาโหม ไม่ได้ อยู่ ในความ ครอบครอง ดูแล ของ จำเลย ทั้ง สอง ใน วันเกิดเหตุ มี ฝน ฟ้า คะนองลม พัด แรง เป็นเหตุ ให้ ต้นสน ล้ม ลง มา ทับ รถยนต์ ของ โจทก์ เสียหายและ โจทก์ ได้รับ อันตรายแก่กาย ซึ่ง เป็นเหตุ สุดวิสัย ค่าเสียหาย ที่โจทก์ ขอ มา นั้น สูง เกิน ความ เป็น จริง โดย ค่า เคาะ พ่นสี รถยนต์กระบะ และ ค่าอะไหล่ คิด เป็น เงิน ไม่เกิน 37,870 บาท ค่ารักษาพยาบาล เป็น เงินไม่เกิน 30,000 บาท ค่า รถเข็น ไม่เกิน 5,000 บาท ค่า ขาด รายได้เดือน ละ ประมาณ 2,000 บาท เป็น เวลา 12 ปี ไม่เกิน 288,000 บาทและ ค่าเสียหาย เพราะ โจทก์ ต้อง ทน ทุกข์ ทรมาน จาก การ ทุพพลภาพ ตลอด ชีวิตเป็น เงิน ไม่เกิน 50,000 บาท อนึ่ง ฟ้อง ของ โจทก์ เคลือบคลุมเพราะ ไม่ได้ ระบุ ว่า จำเลย ทั้ง สอง กระทำ โดย จงใจ หรือ ประมาท เลินเล่ออย่างไร และ โจทก์ ไม่ได้ บรรยาย ใน ฟ้อง เกี่ยวกับ ค่ารักษาพยาบาล ว่า แยกเป็น ค่า ยา หรือ ค่าใช้จ่าย อื่น ๆ อย่างไร เป็นเหตุ ให้ จำเลย ทั้ง สองไม่สามารถ ยื่นคำให้การ แก้ คดี ได้ ถูกต้อง ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน จำนวน715,200 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จาก ต้นเงินดังกล่าว นับ ตั้งแต่ วันที่ 6 พฤษภาคม 2532 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระเสร็จ แก่ โจทก์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระค่าเสียหาย รวม 785,200 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่งต่อ ปี จาก ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่ วันที่ 6 พฤษภาคม 2532 ไป จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง เบื้องต้น รับฟังได้ว่า เมื่อ วันที่ 6 พฤษภาคม 2532 ขณะที่ โจทก์ ขับ รถยนต์กระบะ คันหมายเลข ทะเบียน บ-6120 สงขลา ไป จอด ที่ ถนน แหลมสนอ่อน ตำบล บ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัด สงขลา เพื่อ จะ รอ ขึ้น แพขนานยนต์ ระหว่าง นั้น ต้นสน ที่อยู่ ข้าง ถนน ล้ม มา ทับ รถยนต์ โจทก์ เสียหาย ตามภาพถ่าย หมาย จ. 9 และ เป็นเหตุ ให้ โจทก์ ได้รับ อันตรายสาหัส ทุพพลภาพตลอด ชีวิต ตาม ใบรับรองแพทย์ เอกสาร หมาย จ. 2
ปัญหา ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ข้อ ที่ สอง มี ว่า ต้นสน ที่ ล้ม ทับรถยนต์ ของ โจทก์ เสียหาย และ โจทก์ ได้รับ อันตรายสาหัส นั้น เกิดจาก เหตุสุดวิสัย หรือ เกิดจาก ความ บกพร่อง ของ จำเลย ที่ 1 จาก ทางนำสืบ ของ โจทก์ประกอบ ภาพถ่าย หมาย จ. 1 และ จ. 4 เห็น ประจักษ์ ชัด ว่า ต้นสน ดังกล่าวมี สภาพ ผุ กลวง สามารถ ที่ จะ มองเห็น สภาพ ได้ จาก ภายนอก มิฉะนั้นทาง สถานี ทหารเรือ สงขลา คง ไม่ ร้องขอ ให้ จำเลย ที่ 1 จัด ส่ง พนักงานไป ทำการ โค่น ต้นสน ใน ที่เกิดเหตุ นาย นิพนธ์ พยาน จำเลย ทั้ง สอง ก็ ยอมรับ ว่า ตาม ภาพถ่าย หมาย จ. 1 และ จ. 4 เมื่อ มอง จาก ภายนอกจะ เห็นว่า ต้นสน ที่เกิดเหตุ มี สภาพ ผุ กลวง แม้ นาย เกรียงไกร กอวัฒนา ผู้อำนวยการ ศูนย์อุตุนิยมวิทยา ภาคใต้ พยาน จำเลย ทั้ง สอง จะ เบิกความ ว่ามี ฝนตก และ ฟ้า คะนอง ใน วันเกิดเหตุ แต่ ก็ เป็น ฝนตก เล็กน้อย และ ปานกลางใน ช่วง สั้น ๆ ซึ่ง พยาน ปาก นี้ เบิกความ ตอบ ทนายโจทก์ ถาม ค้าน ว่าความ เร็ว ของ ลม ใน วันเกิดเหตุ ประมาณ 5 ถึง 25 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมงถือว่า เป็น ความ เร็ว ลม ปกติ ฉะนั้น การ ที่ ต้นสน ล้ม ลง ทับ รถยนต์ โจทก์จึง มิใช่ เกิดจาก เหตุสุดวิสัย เนื่องจาก สภาพ อากาศ แปรปรวน แต่ เป็นความ บกพร่อง ของ จำเลย ที่ 1 ที่ ไม่ยอม โค่น หรือ ค้ำจุน ต้นสนดังกล่าว เพื่อ ป้องกัน มิให้ เกิด ความเสียหาย แก่ ผู้อื่น จำเลย ที่ 1 จึงต้อง รับผิด ต่อ โจทก์
ปัญหา สุดท้าย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 มี ว่า จำเลย ที่ 1ต้อง รับผิด ค่าเสียหาย ต่อ โจทก์ เพียงใด จำเลย ที่ 1 ฎีกา เรื่องค่าเสียหาย ไว้ 4 ข้อ ข้อ แรก ฎีกา ว่า ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 กำหนดค่าเสียหาย ที่ โจทก์ ต้อง ทุพพลภาพ ตลอด ชีวิต เป็น เงิน 100,000 บาทและ ต้อง ทุกข์ ทรมาน จาก การ ทุพพลภาพ ตลอด ชีวิต เป็น เงิน อีก 50,000 บาทให้ โจทก์ ค่าเสียหาย ทั้ง สอง กรณี ดังกล่าว ถือ เป็น ค่าเสียหาย มิใช่ตัว เงิน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 อันเป็นค่าเสียหาย อย่างเดียว กัน ไม่อาจ แยก ออกจาก กัน ได้ การ ที่ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 กำหนด ค่าเสียหาย ให้ ทั้ง สอง กรณี จึง ขัด ต่อ บท กฎหมาย ดังกล่าวและ ค่าเสียหาย ส่วน นี้ โจทก์ ควร ได้รับ เพียง 50,000 บาท นั้น เห็นว่าค่าเสียหาย เพราะ เหตุ ที่ โจทก์ ต้อง ทุพพลภาพ ตลอด ชีวิต โดย ระบบ ประสาทไม่สามารถ ควบคุม การ ขับ ถ่าย ได้ เสีย สมรรถภาพ ทางเพศ และ ไม่สามารถเดิน ได้ กับ ค่าเสียหาย ที่ โจทก์ ต้อง ทน ทุกข์ ทรมาน จาก การ ทุพพลภาพตลอด ชีวิต นั้น ถือ เป็น ค่าเสียหาย อัน มิใช่ ตัว เงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 ทั้ง สอง กรณี อัน เนื่องมาจาก เหตุ ที่ ต่างกัน จึง แยก จำนวน ที่ ให้ ชดใช้ ตาม เหตุ ที่ แยก ออกจาก กันเป็น แต่ละ เหตุ ได้ และ ที่ จำเลย ที่ 1 ว่า โจทก์ ควร ได้รับ ค่าเสียหายส่วน นี้ 50,000 บาท ศาลฎีกา เห็นว่า ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 กำหนดค่าเสียหาย ให้ 150,000 บาท เป็น การ เหมาะสม แล้ว ไม่มี เหตุที่ จะ เปลี่ยนแปลง ”
พิพากษายืน

Share