แหล่งที่มา : สำนักงาน ส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์หมั้นบุตรสาวจำเลยโดยมอบสินสอดให้จำเลยในวันทำพิธีแต่งงานแต่มิได้จดทะเบียนสมรสกันเพราะโจทก์ไม่ใส่ใจในการไปจดทะเบียนสมรสกับบุตรของจำเลยโจทก์จึงจะอ้างขอสินสอดคืนว่าเมื่อไม่มีการสมรสโจทก์ย่อมเรียกสินสอดคืนได้โดยไม่ต้องพิจารณาว่าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นหาได้ไม่โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกสินสอดคืน
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า โจทก์ ได้ หมั้น นางสาว เพชราภรณ์ โดย นำ สินสอด เงินสด 400,000 บาท ไป ให้ จำเลย ทั้ง สอง ซึ่ง เป็น บิดามารดา ของ นางสาว เพชราภรณ์ และ ทำ พิธี แต่งงาน กัน แต่ ยัง ไม่ได้ ทำการ จดทะเบียนสมรส เพราะ งาน ยุ่ง ต่อมา นางสาว เพชราภรณ์ ได้ หลบหนี โจทก์ กลับ ไป บ้าน จำเลย ทั้ง สอง โดย ไม่ยอม มา อยู่กิน ฉัน สามี ภรรยา และจดทะเบียนสมรส กับ โจทก์ ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน416,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จาก ต้นเงิน400,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ โจทก์ เป็น ฝ่ายผิดสัญญา หมั้น ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน400,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่28 กรกฎาคม 2530 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ข้อ แรก ว่าโจทก์ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา หมั้น โดย ไม่นำ นายทะเบียน ไป จดทะเบียนสมรสระหว่าง โจทก์ กับ นางสาว เพชราภรณ์ ตาม ที่ ตกลง กัน ไว้ และ หลังจาก นั้น โจทก์ ไม่ สนใจ ที่ จะ จดทะเบียนสมรส กับ นางสาว เพชราภรณ์ ข้อ นี้ โจทก์ เบิกความ ตอบ ทนายจำเลย ทั้ง สอง ถาม ค้าน ว่า ใน ช่วง ที่อยู่ ด้วยกันฉัน สามี ภรรยา กับ นางสาว เพชราภรณ์ 40 วัน นั้น นางสาว เพชราภรณ์ เคย ชวน โจทก์ ไป จดทะเบียนสมรส ประมาณ 2-3 ครั้ง แต่ โจทก์ ไม่ไป เพราะขณะ นั้น ขาย ของ ดี เช่นนี้ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า นางสาว เพชราภรณ์ ชวน โจทก์ ไป จดทะเบียนสมรส ตาม ที่ จำเลย ทั้ง สอง นำสืบ เห็นว่า การ ที่นางสาว เพชราภรณ์ ชวน โจทก์ ไป จดทะเบียนสมรส ถึง 2-3 ครั้ง แสดง ว่า นางสาว เพชราภรณ์ ประสงค์ จะ สมรส กับ โจทก์ การ ที่ โจทก์ ไม่ไป แสดง ว่า โจทก์ ไม่ ใส่ ใจ ที่ จะ จดทะเบียนสมรส กับ นางสาว เพชราภรณ์ เมื่อ การ ไม่ได้ จดทะเบียนสมรส ระหว่าง โจทก์ และ นางสาว เพชราภรณ์ เป็น เพราะ ตัว โจทก์ เอง โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ ฟ้อง เรียก สินสอด คืนที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 วินิจฉัย ว่า เมื่อ ไม่มี การ สมรส โจทก์ ย่อม เรียกสินสอด คืน ได้ โดย ไม่ต้อง พิจารณา ว่า ฝ่ายใด ผิดสัญญา หมั้น นั้น เป็น การไม่ชอบ ฎีกา จำเลย ทั้ง สอง ข้อ นี้ ฟังขึ้น และ เมื่อ วินิจฉัย ดังกล่าว แล้วก็ ไม่จำต้อง วินิจฉัย ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง ข้อ อื่น ต่อไป เพราะ ไม่ทำ ให้ผล คดี เปลี่ยนแปลง ”
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์