คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2522/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ฟ้องโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่1นัดหยุดงานโดยไม่มีข้อเรียกร้องไม่มีข้อพิพาทแรงงานเป็นการนัดหยุดงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์มิได้ตั้งข้อหาและมิได้อาศัยข้ออ้างที่เป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยที่1กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา99แต่ประการใดซึ่งมาตรานี้เป็นบทยกเว้นความรับผิดมิใช่บทบังคับการกระทำจึงไม่ใช่หน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องบรรยายฟ้องกล่าวแก้จำเลยเป็นการล่วงหน้าไว้ก่อนหากแต่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะยกบทมาตราดังกล่าวขึ้นต่อสู้ว่าตนไม่ต้องรับผิดเพราะต้องด้วยข้อยกเว้นข้อใดข้อหนึ่งในสี่ประการนั้นจำเลยจะยกมาตรา99ขึ้นปรับคดีว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ได้โจทก์มีอำนาจฟ้อง. จำเลยที่1ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์รวม10ข้อตกลงกันได้3ข้อคงเหลือข้อเรียกร้องที่ตกลงกันไม่ได้อีก7ข้อต้องถือว่าข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ยังมีอยู่ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา22วรรคสามการที่จำเลยที่1ใช้สิทธินัดหยุดงานในวันที่8แล้วกลับเข้าทำงานในวันที่9เดือนเดียวกันโดยลำพังตนมิได้ขอกลับเข้าทำงานต่อฝ่ายบริหารของโจทก์ไม่ถือว่าเป็นการสละข้อเรียกร้องและจะถือว่าข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้เป็นอันระงับหรือสิ้นสุดลงด้วยการนัดหยุดงานและกลับเข้าทำงานใหม่ไม่ได้เพราะไม่มีบทมาตราใดในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์บัญญัติไว้เช่นนั้นสิทธินัดหยุดงานของจำเลยที่1จึงไม่สิ้นไป. พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518หามีบทมาตราใดบังคับว่าเมื่อข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้เกิดขึ้นแล้วลูกจ้างพึงใช้สิทธินัดหยุดงานได้แต่เพียงครั้งเดียวไม่การแปลกฎหมายว่าลูกจ้างมีสิทธินัดหยุดงานได้ครั้งเดียวทั้งที่ไม่มีบทมาตราใดบัญญัติห้ามไว้โดยชัดแจ้งเป็นการแปลที่จำกัดสิทธิโดยชอบธรรมของลูกจ้างการนัดหยุดงานเป็นมาตรการขั้นสุดท้ายของลูกจ้างที่จะให้ได้มาซึ่งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามข้อเรียกร้องของตนมิใช่ฝ่ายนายจ้างเท่านั้นที่ได้รับความเสียหายที่กิจการต้องหยุดชะงักงันฝ่ายลูกจ้างเองก็ต้องได้รับความเสียหายดุจกันที่ไม่ได้รับค่าจ้างดังนั้นถ้าลูกจ้างสามารถใช้สิทธินัดหยุดงานครั้งเดียวเป็นเวลายาวนานทำให้ทั้งสองฝ่ายได้รับความเดือดร้อนเป็นอันมากได้โดยชอบการนัดหยุดงานเป็นช่วงๆเป็นระยะเวลาสั้นๆเป็นการกระตุ้นเตือนให้นายจ้างรู้สำนึกถึงความเดือดร้อนทีละน้อยแล้วจะทวีความรุนแรงขึ้นโดยลำดับเพื่อให้มีการหันหน้าเข้าเจรจาให้ได้มาซึ่งข้อตกลงร่วมกันจึงกระทำได้การใช้สิทธินัดหยุดงานครั้งหลังๆจึงเป็นการใช้สิทธิโดยชอบไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น นิติบุคคล เป็น สหภาพแรงงาน ใน กิจการของ โจทก์ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 เป็น ประธาน และ รองประธาน บริหารงานของ จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 1 ได้ ยื่น ข้อ เรียกร้อง ต่อ โจทก์ ขอปรับปรุง เปลี่ยนแปลง สภาพ การจ้าง และ สวัสดิการ ต่างๆ รวม 10 ข้อตัวแทน ของ โจทก์ กับ ตัวแทน ของ จำเลย ที่ 1 เจรจา ตกลง กัน ได้ 2 ข้อและ พนักงาน ประนอม ข้อพิพาท ดำเนินการ ไกล่เกลี่ย สามารถ ตกลง กันได้ อีก 1 ข้อ ข้อเรียกร้อง ที่ เหลือ เป็น ข้อพิพาท แรงงาน ที่ ตกลงกัน ไม่ ได้ จำเลย ที่ 1 มี หนังสือ แจ้ง นัด หยุด งาน ต่อ โจทก์ ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2527 ครั้น วัน รุ่งขึ้น จำเลย ที่ 1 และ คนงานที่ หยุด งาน ขอ กลับ เข้า ปฏิบัติ งาน ตาม หน้าที่ จึง ต้อง ถือ ว่าข้อพิพาท แรงงาน ที่ ตกลง กัน ไม่ ได้ สิ้นสุด ลง ตั้งแต่ วันที่ 9พฤศจิกายน 2527 แล้ว จำเลย และ คนงาน ของ โจทก์ หา มี สิทธิ นัด หยุดงาน อีก ไม่ แต่ จำเลย ทั้ง สาม ได้ ชักชวน ให้ เจ้าหน้าที่ ของ โจทก์หยุด งาน ใน วันที่ 13 พฤศจิกายน 2527 และ วันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2527อีก โดย แจ้ง เป็น หนังสือ ต่อ โจทก์ และ ได้ ขัดขวาง มิให้ เจ้าหน้าที่ของ โจทก์ ที่ ไม่ ยอม เข้า ร่วม หยุด งาน เข้า ทำงาน โจทก์ ไม่ สามารถผลิต ผลงาน ได้ การ กระทำ ของ จำเลย ทั้ง สาม กับพวก เป็น การ ฝ่าฝืนกฎหมายแรงงาน และ เป็น การ ละเมิด ต่อ โจทก์ ขอ ให้ บังคับ จำเลย ทั้งสาม ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ 300,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย และห้าม จำเลย ทั้ง สาม ยุยง ชักชวน ขัดขวาง การ ทำงาน ของ เจ้าหน้าที่โจทก์ ใน วันที่ 20 – 22 พฤศจิกายน 2527 และ ขอ ให้ ห้าม จำเลย ทั้ง สามกระทำการ ดังกล่าว ใน ครั้ง ต่อๆ ไป
จำเลย ทั้ง สาม ให้การ ว่า การ ยื่น ข้อเรียกร้อง มี ข้อตกลง ว่า แม้จะ ตกลง กัน ได้ ใน บาง ข้อ ข้อ ที่ ยัง ตกลง ไม่ ได้ จะ ต้อง ดำเนินการไกล่เกลี่ย หรือ ให้ คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ชี้ขาด ต่อไป ต้อง ถือว่า ข้อตกลง ทั้งหมด ไม่ มี การ ตกลง กัน ข้อพิพาท แรงงาน ที่ ยัง ตกลงกัน ไม่ ได้ ยัง มี อยู่ จำเลย สามารถ ใช้ สิทธิ หยุดงาน ได้ และ สามารถหยุดงาน เป็น ช่วงๆ จนกว่า จะ มี การ ตกลง กัน ใน ข้อพิพาท แรงงาน นั้นจำเลย ไม่ ได้ สละ ข้อเรียกร้อง ที่ กลับ เข้า ทำงาน ใน วันที่ 9พฤศจิกายน 2527 นั้น เพราะ ครบกำหนด ระยะ เวลา นัด หยุดงาน ตาม หนังสือที่ แจ้ง ต่อ โจทก์ จำเลย ไม่ เคย ขอ กลับ เข้า ทำงาน การ ใช้ สิทธินัด หยุด งาน ของ จำเลย ทุกครั้ง เป็น การ ใช้ สิทธิ โดย ชอบ ด้วยกฎหมาย มิได้ เป็น การ จงใจ ทำ ให้ โจทก์ ได้ รับ ความ เสียหาย ไม่เป็น ละเมิด ต่อ โจทก์ จำเลย ไม่เคย ยุยง ขัดขวาง มิให้ ลูกจ้าง ที่ไม่ ประสงค์ หยุด งาน เข้า ทำงาน การ หยุดงาน เป็น ความ สมัครใจ ใน การใช้ สิทธิ ตาม กฎหมาย ของ ลูกจ้าง เอง ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า การ นัดหยุด งาน จะ กระทำ ได้ เพียงครั้งเดียว ติดต่อ กัน จนกว่า จะ พอใจ เมื่อ ยุติ การ นัดหยุด งาน แล้ว ไม่ มี สิทธิ นัดหยุด งาน อีก จำเลย จัด ให้ มี การ หยุดงาน ครั้ง ที่2 เป็น การ ไม่ ชอบ ด้วย กฎหมาย เป็น เหตุ ให้ โจทก์ ได้ รับ ความเสียหาย เป็น ละเมิด ต่อ โจทก์ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 กระทำ แทน จำเลยที่ 1 ไม่ ต้อง รับผิด เป็น ส่วนตัว พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ใช้ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ 25,500 บาท พร้อม ดอกเบี้ย คำขอ อื่น ให้ ยก
จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า โจทก์ กล่าว หา ว่า จำเลย ที่ 1นัดหยุด งาน ทั้งๆ ที่ ไม่ มี ข้อ เรียกร้อง ไม่ มี ข้อพิพาท แรงงานจึง เป็น การ นัดหยุด งาน ที่ ไม่ ชอบ ด้วย กฎหมาย ฟ้อง โจทก์ มิได้ตั้ง ข้อหา และ มิได้ อาศัย ข้ออ้าง ที่ เป็น หลัก แห่ง ข้อหา ว่า จำเลยที่ 1 กระทำการ ฝ่าฝืน บทบัญญัติ ตาม พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 99 ซึ่ง อยู่ ใน หมวด 7 อัน ว่า ด้วย สหภาพแรงงานประการใด มาตรา 99 นี้ เป็น บท ยกเว้น ความ รับผิด มิใช่ เป็น บทบังคับการ กระทำ เพราะฉะนั้น จึง ไม่ ใช่ หน้าที่ ของ โจทก์ ที่ จะ ต้องบรรยายฟ้อง กล่าว แก้ จำเลย เป็น การ ล่วงหน้า ไว้ ก่อน หาก แต่ เป็นหน้าที่ ของ จำเลย จะ ยก บทมาตรา ดังกล่าว ขึ้น ต่อสู้ ว่า ตน ไม่ ต้องรับผิด เพราะ ต้อง ด้วย ข้อยกเว้น ข้อใด ข้อหนึ่ง ใน สี่ ประการ นั้นด้วย เหตุนี้ ที่ จำเลย ที่ 1 ยก มาตรา 99 ขึ้น ปรับ แก่ คดี ว่า โจทก์ไม่ มี อำนาจฟ้อง จึง เป็น การ นำ กฎหมาย มา ปรับ แก่ คดี ที่ ไม่ ตรงตาม รูปเรื่อง โจทก์ มี อำนาจฟ้อง แล้ว
จำเลย ที่ 1 ได้ ยื่น ข้อเรียกร้อง กับ โจทก์ รวม 10 ข้อ ได้ มี การตกลง กัน เอง ใน ระหว่าง การ เจรจา ของ โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 รวม 2ข้อ และ พนักงาน ประนอม ข้อพิพาท ไกล่เกลี่ย ให้ ตกลง กัน ได้ อีก 1 ข้อ คงเหลือ ข้อเรียกร้อง ของ จำเลย ที่ 1 ที่ ยัง ตกลง กัน ไม่ ได้ อีก7 ข้อ จึง ต้อง ถือ ว่า ข้อพิพาท แรงงาน ที่ ตกลง กัน ไม่ ได้ ระหว่างโจทก์ กับ จำเลย ที่ 1 ยัง มี อยู่ การ ที่ จำเลย ที่ 1 ใช้ สิทธินัดหยุด งาน ใน วันที่ 8 พฤศจิกายน 2527 แล้ว กลับ เข้า ทำงาน ใน วันที่ 9 พฤศจิกายน 2527 โดย ลำพัง ตน มิได้ ขอ กลับ เข้า ทำงาน กับ ฝ่ายบริหาร ของ โจทก์ หา ถือ ว่า เป็น การ สละ ข้อเรียกร้อง ตาม เอกสาร หมาย ล.3 ไม่ ดัง จะ เห็น ได้ จาก รายงาน การประชุมฯ เอกสาร หมาย ล.5 วาระที่ 2 ข้อ 2 ว่า จะ หยุด งาน เป็น ครั้งๆ ไป เพื่อ เปิด โอกาส ให้ โจทก์หา ข้อยุติ ร่วมกัน หาก หยุดงาน ครั้ง ที่ 1 ยัง ไม่ อาจ หา ข้อยุติ ได้ ก็ ให้ หยุดงาน ใน ครั้ง ต่อๆ ไป จนกว่า จะ หา ข้อยุติ ที่ ดี ได้ และจะ ถือ ว่า ข้อพิพาท แรงงาน ที่ ตกลง กัน ไม่ ได้ เป็น อัน ระงับ หรือเป็น อัน สิ้นสุด ลง ด้วย การ นัดหยุด งาน และ กลับ เข้า ทำงาน ใหม่ ก็ไม่ ได้ เพราะ ไม่ มี บทมาตรา ใด ใน พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 บัญญัติ ไว้ ตาม ที่ โจทก์ ฟ้อง เหตุนี้ ศาลฎีกา จึง เห็น ว่าข้อพิพาท แรงงาน ที่ ตกลง กัน ไม่ ได้ ยัง คง มี อยู่ ตาม ความ ในพระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 22 วรรคสาม เมื่อข้อพิพาท แรงงาน ที่ ตกลง กัน ไม่ ได้ ยัง คง มี อยู่ สิทธิ นัดหยุด งานของ จำเลย ที่ 1 จึง ไม่ สิ้น ไป
พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 หา มี บทมาตรา ใด บังคับ ว่าเมื่อ มี ข้อพิพาท แรงงาน ที่ ตกลง กัน ไม่ ได้ เกิดขึ้น แล้ว ลูกจ้างพึง ใช้ สิทธิ นัดหยุด งาน ได้ แต่ เพียง ครั้งเดียว ไม่ การ นัดหยุดงาน เป็น มาตรการ ชั้น สุดท้าย ของ ลูกจ้าง ที่ จะ ให้ ได้ มา ซึ่งข้อตกลง เกี่ยวกับ สภาพ การจ้าง ตาม ข้อเรียกร้อง ของ ตน มิใช่ ฝ่ายนายจ้าง เท่านั้น ที่ ได้ รับ ความเสียหาย ที่ กิจการ ต้อง หยุดชะงักงัน แม้ ฝ่าย ลูกจ้าง เอง ก็ ต้อง ได้ รับ ความ เสียหาย ดุจ กัน ที่ ไม่ได้ รับ ค่าจ้าง ทำ ให้ ตนเอง และ ครอบครัว ได้ รับ ความ เดือดร้อนถ้า ลูกจ้าง สามารถ ใช้ สิทธิ นัดหยุด งาน ได้ ครั้งเดียว เป็น เวลา ยาวนาน ทำ ให้ ทั้ง สอง ฝ่าย ต่าง ได้ รับ ความ เดือดร้อน เป็น อันมาก อาจกระทำ ได้ โดย ชอบ ไฉน การ หยุดงาน เป็น ช่วงๆ เป็น ระยะ เวลา สั้นๆเป็น การ กระตุ้น เตือน ให้ นายจ้าง รู้ สำนึก ถึง ความ เดือดร้อน ทีละน้อย แล้ว จะ ทวี ความ รุนแรง ขึ้น โดย ลำดับ เพื่อ ให้ มี การ หัน หน้าเข้า เจรจา ให้ ได้ มา ซึ่ง ข้อตกลง ร่วมกัน จะ กระทำ มิได้ เล่า การแปล กฎหมาย ว่า ลูกจ้าง มี สิทธิ นัดหยุด งาน ได้ ครั้งเดียว ทั้ง ที่ไม่ มี บทมาตรา ใด บัญญัติ ห้าม ไว้ โดย ชัดแจ้ง เป็น การ แปล ที่ จำกัดสิทธิ โดย ชอบธรรม ของ ลูกจ้าง ซึ่ง จะ ยัง ผล ให้ เป็น การ หยุดงาน ที่ผิด กฎหมาย ตาม คำวินิจฉัย ของ ศาลแรงงานกลาง ซึ่ง อาจทำ ให้ ลูกจ้าง มีความ ผิด ทาง อาญา ตาม พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา139 นั้น ศาลฎีกา ไม่ เห็นพ้อง ด้วย ศาลฎีกา เห็นว่า การ ใช้ สิทธินัดหยุด งาน ของ จำเลย ที่ 1 ใน วันที่ 13 พฤศจิกายน 2527 เป็น การ ใช้สิทธิ ชอบ ด้วย ความ เป็นธรรม และ ชอบ ด้วย กฎหมาย แล้ว ด้วย เหตุ นี้การ ใช้ สิทธิ นัดหยุด งาน ครั้งนี้ จึง ไม่ เป็น การ ทำ ละเมิด ต่อโจทก์ อัน จำเลย ที่ 1 จำ ต้อง ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์
พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ ยกฟ้อง สำหรับ จำเลย ที่ 1 ด้วย นอกจาก ที่แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ของ ศาลแรงงานกลาง

Share