คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์มิใช่เป็นการซื้อขายหุ้นตามปกติแต่เป็นการซื้อขายในกรณีพิเศษซึ่งมีวัตถุประสงค์ทำการค้าเก็งกำไรจากราคาหุ้นที่ขึ้นลงในตลาดหลักทรัพย์มากกว่าประสงค์ที่จะให้มีการโอนใบหุ้นใส่ชื่อผู้ซื้อเป็นเจ้าของที่แท้จริงจึงไม่จำต้องปฏิบัติตามแบบที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1129วรรคสอง. โจทก์เป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ให้จำเลยได้ซื้อหุ้นบริษัทร.และหุ้นธนาคารก.ให้ตามคำสั่งของจำเลยแล้วกลับนำหุ้นที่ซื้อตอนหลังในราคาที่ต่ำกว่ามาโอนให้จำเลยแต่ใบหุ้นที่โอนให้นั้นก็เป็นหุ้นบริษัทร.และหุ้นธนาคารก.ในจำนวนเท่ากันกับที่จำเลยสั่งซื้อใบหุ้นดังกล่าวกับใบหุ้นที่โจทก์ซื้อตามคำสั่งของจำเลยคงแตกต่างกันเฉพาะราคาซื้อขายเท่านั้น.ซึ่งในตลาดหลักทรัพย์ราคาหุ้นย่อมเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเมื่อจำเลยไม่นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่นก็ต้องถือว่าหุ้นบริษัทเดียวกันจำนวนเท่ากันมีมูลค่าให้ผลประโยชน์ตอบแทนอย่างเดียวกันตามปกติและเป็นทรัพย์ที่มีสภาพเช่นเดียวกับสังกมะทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา102ด้วยใบหุ้นที่โจทก์จะโอนให้จำเลยหาจำเป็นจะต้องเป็นใบหุ้นฉบับเดียวกับที่ซื้อไว้ไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ได้ ทำ สัญญา แต่งตั้ง ให้ โจทก์ เป็น นายหน้าและ ตัวแทน เพื่อ ซื้อขาย หลักทรัพย์ และ รับ เงิน โอน หลักทรัพย์ทุกชนิด ทุก ประเภท แทน จำเลย จำเลย ได้ สั่ง ให้ โจทก์ ทำ การ ซื้อขายหุ้น ใน ตลาดหลักทรัพย์ แห่ง ประเทศไทย หลาย ครั้ง ซึ่ง โจทก์ ก็ จัดการให้ เรียบร้อย แต่ เฉพาะ ที่ เป็น หนี้สิน และ เกิด เป็น ข้อพิพาท มีเพียง การ สั่ง ซื้อ หุ้น บริษัท รามาทาวเวอร์ จำกัด และ การ สั่ง ซื้อหุ้น ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด รวม เป็น หนี้สิน จาก การ ซื้อ หุ้น667,320 บาท ต่อมา ปรากฏ ว่า ราคา หุ้น ดังกล่าว รวมทั้ง เงิน ที่ จำเลยมอบ ให้ ไว้ เป็น หลักประกัน มี จำนวน น้อยกว่า หนี้ ของ จำเลย ที่ ค้างชำระ โจทก์ บอกกล่าว ให้ จำเลย จัดการ แก้ไข และ หา หลักทรัพย์ มาเพิ่มเติม หลายครั้ง จำเลย ก็ เพิกเฉย โจทก์ จึง บอกเลิก สัญญา และ แจ้งให้ จำเลย ชำระหนี้ ดังกล่าว พร้อมด้วย ดอกเบี้ย ภายใน 10 วัน มิฉะนั้นจะ บังคับ จำนำ แก่ หลักทรัพย์ จำเลย ทราบ แล้ว แต่ ไม่ ยอม ชำระ หนี้โจทก์ จึง นำ หุ้น ทั้งหมด ของ จำเลย ออก ขาย ทอดตลาด เมื่อ หัก กับหนี้ ที่ จำเลย ค้าง ชำระ แล้ว จำเลย ยัง คง เป็น หนี้ โจทก์ อยู่192,677.60 บาท ขอ ให้ บังคับ จำเลย ใช้ เงิน จำนวน ดังกล่าว แก่ โจทก์พร้อมด้วย ดอกเบี้ย ร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่ วันที่ 25 กรกฎาคม 2523ถึง วันฟ้อง และ ค่าเสียหาย เท่ากับ ดอกเบี้ย ใน อัตรา เดียวกัน นี้นับแต่ วัน ฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ให้การ ว่า การ ซื้อ ขาย หุ้น โจทก์ ไม่ ปฏิบัติ ตามวัตถุประสงค์ ของ กฎหมาย และ นโยบาย ของ ทาง ราชการ ทั้ง ไม่ ได้ ทำการซื้อ หุ้น ตาม ประเภท จำนวน และ ราคา ใน วัน เวลา ตาม ที่ กล่าวมา ในฟ้อง ทั้งหมด เพราะ ไม่ มี การ โอนหุ้น ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสอง ไม่ มี เอกสาร ใบส่งมอบ หลักทรัพย์ กับ รายละเอียดเกี่ยวกับ ใบหุ้น จำเลย ไม่ เคย ได้ รับ โอน ใบหุ้น จาก ผู้ขาย ตามกฎหมาย จึง ไม่ มี มูลหนี้ ที่ จำเลย จะ ต้อง ชำระ แก่ โจทก์ โจทก์ขาย หุ้น ที่ ซื้อ ให้ จำเลย หมด ไป แล้ว แต่ มิได้ นำ เงิน ที่ ได้ รับมา หัก ถอน บัญชี กลับ แสวงหา ประโยชน์ ไว้ เป็น ส่วนตัว แล้ว นำ หุ้นที่ โจทก์ ซื้อ เอง ใน ราคา ถูก มา แทน ให้ การ กระทำ ของ โจทก์ ไม่ชอบ ด้วย ระเบียบ แบบแผน ข้อบังคับ ของ ตลาดหลักทรัพย์ เป็น การพนันขันต่อ ไม่ อาจ ฟ้องร้อง ให้ บังคับคดี ได้ ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น ฟัง ว่า จำเลย เป็น หนี้ โจทก์ ตาม ฟ้อง พิพากษา ให้ จำเลยใช้ เงิน แก่ โจทก์ 192,677.60 บาท พร้อมด้วย ดอกเบี้ย ร้อยละ 15 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 25 กรกฎาคม 2523 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ และ ให้ จำเลยใช้ ค่าฤชา ธรรมเนียม แทน โจทก์ โดย กำหนด ค่าทนายความ ให้ 2,000 บาท
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน ให้ จำเลย ใช้ ค่าทนายความ ชั้นอุทธรณ์ 1,000บาท แทน โจทก์
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟัง ได้ ใน เบื้องต้น ว่า โจทก์ได้ รับ อนุญาต จาก กระทรวง การคลัง ให้ ประกอบ ธุรกิจ เป็น ตัวแทนนายหน้า ซื้อ ขาย หลักทรัพย์ เป็น สมาชิก ของ ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย และ จำเลย ได้ แต่งตั้ง โจทก์ เป็น ตัวแทน นายหน้า เพื่อ ซื้อขาย หลักทรัพย์ โดย ทำ หนังสือ มอบอำนาจ ให้ โจทก์ ทำการ ซื้อ ขายหลักทรัพย์ แทน รวมทั้ง ให้ รับ เงิน จ่าย เงิน และ รับ โอนหุ้น มายึดถือ ไว้ เป็น หลักประกัน การ ชำระหนี้ แล้ว นำ ออก ขาย ได้ เมื่อเข้า หลักเกณฑ์ ที่ กำหนด ไว้ เมื่อ มี การ สั่งซื้อ หุ้น โจทก์ จะซื้อ ให้ ใน ตลาดหลักทรัพย์ และ รับ โอน มา ใน ลักษณะ โอน ลอย ซึ่งจำเลย ก็ ทราบ และ เคย ได้ กำไร จาก การ ขาย หุ้น ที่ รับ โอน ใน ลักษณะดังกล่าว มา แล้ว โจทก์ ได้ ซื้อ หุ้น บริษัท รามาทาวเวอร์ จำกัด ให้จำเลย 2 ครั้ง ต่อมา โจทก์ ได้ ซื้อ หุ้น ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัดให้ จำเลย 2 ครั้ง ซึ่ง โจทก์ คิด ค่านายหน้า ทุกครั้ง และ มี ราคารวมกัน เป็นเงิน 667,320 บาท ส่วน หุ้น โจทก์ รับ โอน ไว้ ใน ลักษณะโอน ลอย ทั้งหมด และ ได้ ยึดถือ ไว้ เป็น หลักประกัน การ ชำระหนี้ ที่จำเลย ติดค้าง อยู่ ตาม สัญญา เอกสาร หมาย จ.4 แต่ โจทก์ นำ หุ้น ของบริษัท และ ธนาคาร เดียวกัน ที่ ซื้อ ตอนหลัง ใน ราคา ที่ ต่ำกว่า มาโอน ใส่ ชื่อ จำเลย และ มี การ นำ หุ้น ดังกล่าว ออก ขาย ด้วย ปัญหาข้อ แรก ที่ จำเลย ฎีกา ว่า การ ซื้อ หุ้น พิพาท เป็น โมฆะ เพราะ เป็นการ ซื้อ ขาย หุ้น ชนิด ระบุ ชื่อ และ ทำ ไม่ ถูกต้อง ตาม แบบ การ โอนหุ้น ซึ่ง บัญญัติ ไว้ ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสอง นั้น เห็นว่า ‘การ ซื้อ ขาย หุ้น ใน ตลาดหลักทรัพย์ มิใช่ เป็น การซื้อ ขาย หุ้น ตาม ปกติ แต่ เป็น การ ซื้อ ขาย ใน กรณี พิเศษ ซึ่ง มีวัตถุประสงค์ ทำการค้า เก็งกำไร จาก ราคา หุ้น ที่ ขึ้น ลง ใน ตลาดหลักทรัพย์ มากกว่า ประสงค์ ที่ จะ ให้ มี การ โอน ใบหุ้น ใส่ ชื่อผู้ซื้อ เป็น เจ้าของ ที่ แท้จริง จึง ไม่ จำต้อง ปฏิบัติ ตาม แบบ ที่กำหนด ไว้ ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรค สอง และ จำเลยเอง ก็ สั่ง ขาย เอา กำไร จาก หุ้น ที่ โจทก์ รับ โอนลอย ไว้ แทน จำเลยมา แล้ว หลายครั้ง มี หลักฐาน ตาม เอกสาร หมาย จ.25 กับ จ.28 ฎีกาข้อ นี้ ของ จำเลย ฟัง ไม่ ขึ้น
ปัญหา ข้อ ต่อไป ที่ จำเลย ฎีกา ว่า หุ้น ที่ โจทก์ โอน ให้ จำเลยไม่ ใช้ หุ้น ฉบับ ที่ โจทก์ ซื้อ ตาม คำสั่ง ของ จำเลย แต่ เป็น หุ้นที่ โจทก์ ซื้อ ตอนหลัง ใน ราคา ที่ ต่ำกว่า จึง ไม่ ชอบ และ ต้อง ถือว่า โจทก์ ซื้อ หุ้น ให้ จำเลย ตาม ราคา หุ้น ที่ จำเลย รับ โอน ต่อมาโจทก์ ได้ นำ หุ้น ดังกล่าว ออก ขาย ไป อีก โดย พลการ ซึ่ง ไม่ ชอบเช่นกัน และ จะ ต้อง นำเงิน ที่ ขาย ได้ มา คิด หักกลบ ลบหนี้ ให้ จำเลยด้วยนั้น แม้ โจทก์ จะ ซื้อ หุ้น พิพาท ให้ จำเลย ตาม คำสั่ง และ มีหลักฐาน การ ซื้อขาย ตาม เอกสาร หมาย จ.6 ถึง จ.16 แล้ว นำ หุ้น ที่ซื้อ ตอนหลัง ใน ราคา ที่ ต่ำ กว่า มา โอน ให้ จำเลย โดย มี หลักฐานตาม เอกสาร หมาย ล.10 ล.13 และ ล.17 ถึง ล.26 จริง แต่ ใบหุ้น ที่ โอนให้ จำเลย ก็ เป็น หุ้น บริษัท รามาทาวเวอร์ จำกัด 1,000 หุ้น กับ หุ้นธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด 1,000 หุ้น ตรง ตาม ที่ จำเลย สั่ง ซื้อแล้ว ใบหุ้น ดังกล่าว กับ ใบหุ้น ที่ โจทก์ ซื้อ ตาม คำสั่ง ของ จำเลยคง แตกต่าง กัน เฉพาะ ราคา ซื้อ ขาย เท่านั้น ซึ่ง ใน ตลาดหลักทรัพย์ราคา หุ้น ก็ เปลี่ยนแปลง ใน ทาง เพิ่ม สูง ขึ้น หรือ ลด ต่ำ ลง อยู่ตลอด เวลา แล้วแต่ ความ ต้องการ ของ ผู้ซื้อ จะ มี มาก หรือ น้อย เมื่อจำเลย ไม่ นำสืบ ให้ เห็น เป็น อย่างอื่น ก็ ต้อง ถือ ว่า หุ้น บริษัทเดียวกัน จำนวน เท่ากัน มี มูลค่า ให้ ผลประโยชน์ ตอบแทน อย่างเดียวกันตาม ปกติ และ เป็น ทรัพย์ ที่ มี สภาพ เช่นเดียว กับ สังกมะทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 102 ด้วย ใบหุ้น ที่ โจทก์ จะ โอนให้ จำเลย หา จำเป็น จะ ต้อง เป็น ใบหุ้น ฉบับเดียว กับ ที่ ซื้อ ไว้ไม่ โจทก์ โอน ใบหุ้น ของ บริษัท เดียวกัน ใน จำนวน เท่ากัน ให้ แก่จำเลย จึง ทำ ได้ โดย ชอบ และ ต้อง ถือ ว่า โจทก์ ได้ ซื้อ หุ้นดังกล่าว ให้ แก่ จำเลย ตาม ราคา ที่ ระบุ ไว้ ใน ใบสั่งซื้อ และ คิดเอา ค่านายหน้า ได้ ตาม ข้อตกลง ใน สัญญา เอกสาร หมาย จ.3 ข้อ 2.3จะ คิด ตาม ราคา หุ้น ที่ จำเลย รับ โอน หา ได้ ไม่…..
พิพากษา ยืน ให้ จำเลย ใช้ ค่าทนายความ ชั้น ฎีกา 1,000 บาท แทน โจทก์’

Share