คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯมาตรา28เพียงสันนิษฐานว่าโจทก์มีลิขสิทธิ์ในบทเพลงที่โจทก์ฟ้องเท่านั้นไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าโจทก์ยังมีลิขสิทธิ์ในเพลงตามฟ้องจึงหาขัดต่อพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ผู้ ประพันธ์เพลง มี ลิขสิทธิ์ แต่ ผู้เดียว จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน ละเมิด ลิขสิทธิ์ ของ โจทก์ โดย ดัดแปลง และบันทึก เสียง ลง ใน เทป ขอ ให้ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 มาตรา 24, 25, 26, 27, 43, 44, 46 และ 47 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 84, 91
ศาลชั้นต้น ไต่สวน มูลฟ้อง แล้ว เห็น ว่า คดี มี มูล ประทับฟ้อง ไว้พิจารณา
จำเลย ทั้ง สี่ ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ‘….คดี นี้ ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง คง มี ปัญหา ข้อกฎหมาย มา สู่ ศาลฎีกา เพียง ข้อเดียว ว่าคำพิพากษา ของ ศาลอุทธรณ์ ที่ วินิจฉัย ว่า โจทก์ นำสืบ ยืนยัน ไม่ ได้ว่า เพลง ตาม ฟ้อง ยัง เป็น ลิขสิทธิ์ ของ โจทก์ อยู่ นั้น ขัด ต่อพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 28 หรือไม่ ได้ พิเคราะห์บทบัญญัติ ดังกล่าว แล้ว เห็น ว่า บทบัญญัติ ข้อ นี้ เป็น เพียงสันนิษฐาน ว่า โจทก์ มี ลิขสิทธิ์ ใน บทเพลง ที่ โจทก์ ฟ้อง เท่านั้นซึ่ง ไม่ ใช่ ข้อ สันนิษฐาน เด็ดขาด และ ข้อ วินิจฉัย ของ ศาลอุทธรณ์ที่ ว่า โจทก์ นำสืบ ยืนยัน ไม่ ได้ ว่า เพลง ตาม ฟ้อง ยัง เป็นลิขสิทธิ์ ของ โจทก์ อยู่ นั้น เป็น เพียง ข้อ วินิจฉัย ประกอบ ข้อหนึ่งของ ศาลอุทธรณ์ ซึ่ง ได้ วินิจฉัย ไว้ แล้ว ว่า เพลง ต่างๆ ตาม ฟ้องเป็น เพลง ของ บุคคล อื่น ซึ่ง ได้ ขาย ลิขสิทธิ์ ให้ แก่ จำเลย ที่ 2แล้ว บ้าง ที่ โจทก์ ขาย แก่ ฝ่าย จำเลย เอง บ้าง ปรากฏ ตาม เอกสารต่างๆ ที่ ฝ่าย จำเลย อ้าง และ ข้อ นำสืบ ของ โจทก์ เจือสม กับ ข้อนำสืบ ของ จำเลย ที่ อ้าง ใน ฎีกา ว่า ศาลอุทธรณ์ ฟัง ว่า การ โอนบางครั้ง ทำ เป็น หนังสือ บางครั้ง ไม่ ได้ ทำ เป็น หนังสือ นั้น เป็นเรื่อง ที่ ศาลอุทธรณ์ ยก คำเบิกความ ของ โจทก์ ขึ้น มา มิใช่ เชื่อข้อเท็จจริง ตาม นี้ สรุป แล้ว ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า พยาน หลักฐานโจทก์ ฟัง ไม่ ได้ ว่า โจทก์ ยัง มี ลิขสิทธิ์ ใน เพลง ตาม ฟ้อง แล้วพยาน หลักฐาน จำเลย ฟัง ได้ ว่า โจทก์ ไม่ มี ลิขสิทธิ์ ใน เพลง ตามฟ้อง แล้ว จึง เอา ผิด กับ จำเลย ไม่ ได้ คำพิพากษา ของ ศาลอุทธรณ์ จึงหา ขัด ต่อ พระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ไม่ ฎีกา โจทก์ ฟังไม่ ขึ้น…’
พิพากษา ยืน

Share