คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดในฐานะที่โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา880สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไปฉะนั้นโจทก์จะคิดดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันทำละเมิดเสมือนเป็นผู้เสียหายที่ถูกละเมิดโดยตรงมิได้เมื่อโจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนแต่ละจำนวนไปในวันใดโจทก์ชอบที่จะคิดดอกเบี้ยในจำนวนค่าสินไหมทดแทนจำนวนดังกล่าวนับแต่วันนั้นเป็นต้นไป.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ผู้รับ ประกันภัย รถยนต์ คัน เกิดเหตุจำเลย ที่ 1 เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 2 และ กระทำ ใน ทาง การ ที่จ้าง ได้ ขับ รถยนต์ บรรทุก ของ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง จำเลย ที่ 3 ได้ รับประกันภัย ไว้ โดย ประมาท เลินเล่อ เป็น เหตุ ให้ ชน กับ รถยนต์ คัน ที่โจทก์ รับ ประกันภัย โจทก์ ได้ เสีย ค่า ซ่อมแซม รถยนต์ ดังกล่าว ไปแล้ว 62,057 บาท เมื่อ คิด ดอกเบี้ย นับแต่ วัน ละเมิด ถึง วัน ฟ้องเป็น เงิน 4,459 บาท ขอ ศาล พิพากษา บังคับ ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกันชำระ เงิน 66,516 บาท แก่ โจทก์ พร้อมทั้ง ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละเจ็ดครึ่ง ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 62,057 บาท นับ จาก วันฟ้อง จนกว่า จะชำระ เสร็จ
จำเลย ทั้ง สาม ให้การ ว่า อุบัติเหตุ ที่ เกิดขึ้น มิใช่ ความ ประมาทเลินเล่อ ของ จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 2 ที่ 3 จึง ไม่ ต้อง รับผิด
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ ค่าเสียหาย ให้โจทก์ เป็น เงิน 35,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ดครึ่งต่อ ปี ของ ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่ วัน ทำ ละเมิด สำหรับ จำเลย ที่ 1ที่ 2 และ ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่วัน ฟ้อง เป็นต้นไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สาม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา กลับ ให้ ยกฟ้อง
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า อุบัติเหตุ ที่ เกิดขึ้น เป็น ความผิด ของจำเลย ที่ 1 แต่ ฝ่าย เดียว จำเลย ที่ 1 เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 2ขณะ เกิดเหตุ ได้ ขับ รถยนต์ ใน ทาง การ ที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 2 และวินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า มี ปัญหา ว่า โจทก์ มี สิทธิ จะ เรียก ดอกเบี้ยได้ นับ ตั้งแต่ เมื่อใด คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สาม ให้ รับผิดใน ฐานะ ที่ โจทก์ เป็น ผู้ รับช่วง สิทธิ สิทธิ ของ โจทก์ ย่อมเกิดขึ้น ตั้งแต่ วันที่ โจทก์ ได้ ชำระ ค่าสินไหม ทดแทน เป็นต้นไปฉะนั้น โจทก์ จะ คิด ดอกเบี้ย นับ ตั้งแต่ วัน ทำ ละเมิด เสมือน เป็นผู้เสียหาย ที่ ถูก ทำ ละเมิด โดยตรง มิได้ ฎีกา โจทก์ ข้อ นี้ ฟังไม่ ขึ้น ข้อเท็จจริง ฟัง ได้ ตาม ที่ โจทก์ นำสืบ ว่า โจทก์ ได้ จ่ายค่า ลากรถ ทั้ง สอง คัน จำนวน 2,000 บาท เมื่อ วันที่ 20 กุมภาพันธ์2524 และ จำนวน 3,000 บาท เมื่อ วันที่ 10 มีนาคม 2524 จ่าย ค่า ซ่อมรถทั้ง สอง คัน จำนวน 16,500 บาท เมื่อ วันที่ 29 ธันวาคม 2523 และ จำนวน23,000 บาท เมื่อ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2524 จ่าย ค่า เครื่อง อะไหล่จำนวน 17,463 บาท เมื่อ วันที่ 18 มีนาคม 2524 และ จ่าย ค่าขนส่งเครื่อง อะไหล่ ดังกล่าว จำนวน 94 บาท เมื่อ วันที่ 10 มีนาคม 2524 ย่อมถือ ได้ ว่า โจทก์ ได้ รับ ช่วงสิทธิ มา ใน วัน ดังกล่าว แล้ว โจทก์ชอบ ที่ จะ คิด ดอกเบี้ย ใน จำนวน ค่าสินไหม ทดแทน นับแต่ วัน ดังกล่าวเป็นต้นไป
พิพากษา กลับ ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์เป็น เงิน 62,057 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อปี ของ เงินแต่ ละ จำนวน นับ ตั้งแต่ วันที่ โจทก์ ได้ จ่าย เงิน จำนวน นั้น ไปจนกว่า จำเลย จะ ชำระ เงิน ให้ โจทก์ เสร็จ ให้ จำเลย ทั้ง สาม เสียค่าฤชา ธรรมเนียม ทั้ง สาม ศาล แทน โจทก์ โดย กำหนด ค่า ทนายความ ทั้งสาม ศาล รวม 3,500 บาท

Share