คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711-1715/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

โจทก์ละทิ้งหน้าที่เข้าไปนั่งคุยและนอนคุยในห้องปรับอากาศเป็นความผิดตามข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานข้อ7.5ที่ว่าต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความขยันไม่เอาเวลาของการทำงานไปคุยทำให้เสียหายแก่นายจ้างและข้อ7.6ที่จะต้องไม่หยอกล้อเล่นกันในเวลาทำงานและไม่หลับนอนในระหว่างการทำงานแต่ตามข้อบังคับหรือระเบียบดังกล่าวมิได้กำหนดว่าเป็นกรณีร้ายแรงอันจะเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องตักเตือนเป็นหนังสือก่อนจึงจะถือว่าการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ร้ายแรงไม่ได้กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)ส่วนจะเป็นความผิดตามข้อบังคับหรือระเบียบฯข้ออื่นหรือไม่คำสั่งเลิกจ้างหาได้ระบุความผิดดังกล่าวไว้ไม่จึงไม่มีประเด็นสำหรับความผิดนั้นและไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลางศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง ห้า เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย จำเลย เลิกจ้างโจทก์ ทั้ง ห้า โดย ไม่ มี ความผิด ขอ ให้ บังคับ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า ค่าจ้าง ค้างจ่าย และ เงินประกันการ เข้า ทำงาน พร้อม ดอกเบี้ย แก่ โจทก์ ทั้ง ห้า
จำเลย ทั้ง ห้า สำนวน ให้การ ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง ห้า เพราะโจทก์ ทั้ง ห้า ร่วมกับ ลูกจ้าง อื่น ของ จำเลย เล่น การพนัน ใน สถานที่ทำงาน ใน ระหว่าง เวลา ทำงาน และ ละทิ้ง หน้าที่ แอบ ไป นอนหลับ ในสถานที่ ทำงาน เป็น การ ประพฤติ ผิด ข้อบังคับ หรือ ระเบียบ เกี่ยวกับการ ทำงาน ของ จำเลย อย่าง ร้ายแรง จำเลย ไม่ ต้อง จ่าย เงิน ทุก สำนวนตาม ฟ้อง ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า โจทก์ ทั้ง ห้า กับพวก ละทิ้งหน้าที่ ไป นั่งคุย นอนคุยกัน ใน ห้องปรับอากาศ เป็น เวลา ประมาณ 25นาที แต่ ไม่ฟังว่า โจทก์ทั้งห้า เล่นการพนัน เป็น การ ฝ่าฝืน ข้อบังคับหรือ ระเบียบ เกี่ยวกับ การ ทำงาน ของ จำเลย แต่ ไม่ เป็น กรณี ที่ร้ายแรง สมควร ต้อง เตือน เป็น หนังสือ ก่อน จึง จะ เลิกจ้าง ได้ โจทก์ที่ ห้า เป็น ลูกจ้าง ทดลองงาน ถูก เลิกจ้าง ใน ระหว่าง ทดลองงาน ไม่ มีสิทธิ ได้ รับ ค่าชดเชย การ กระทำ ของ โจทก์ ทั้ง ห้า เป็น การ ละเลยไม่ นำพา ต่อ ระเบียบ ข้อบังคับ เป็น อาจิณ จำเลย เลิกจ้าง ได้ โดยไม่ ต้อง จ่าย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า พิพากษา ให้ จำเลยจ่าย ค่าชดเชย แก่ โจทก์ ที่ 1 – 4 และ ค่าจ้าง ค้างจ่าย กับ เงินประกันแก่ โจทก์ ทั้ง ห้า พร้อม ดอกเบี้ย คำขอ อื่น ให้ ยก
จำเลย ทั้ง ห้า สำนวน อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า กรณี ของ โจทก์ ทั้ง ห้า นี้ เป็นความผิด ตาม ข้อบังคับ หรือ ระเบียบ เกี่ยวกับ การ ทำงาน เอกสาร หมายล.1 ข้อ 7.5 ที่ ต้อง ปฏิบัติ หน้าที่ ด้วย ความ ขยัน ไม่ เอา เวลา ของการ ทำงาน ไป คุย ทำ ให้ เสียหาย แก่ นายจ้าง และ ข้อ 7.6 ที่ จะ ต้องไม่ หยอกล้อ เล่น กัน ใน เวลา งาน และ ไม่ หลับนอน ใน ระหว่าง การ ทำงาน แต่ ตาม ข้อบังคับ หรือ ระเบียบ ดังกล่าว ก็ มิได้ กำหนด ว่า เป็น กรณีที่ ร้ายแรง อัน จะ เลิกจ้าง ได้ ทันที โดย ไม่ ต้อง ตักเตือน เป็นหนังสือ ก่อน เมื่อ ข้อบังคับ หรือ ระเบียบฯ เป็น ไป ตาม ที่ กล่าวจึง จะ ถือ ว่า การ กระทำ ของ โจทก์ ทั้ง ห้า เป็น การ ฝ่าฝืน ข้อบังคับหรือ ระเบียบ เกี่ยวกับ การ ทำงาน เป็น กรณี ที่ ร้ายแรง ตาม ที่ จำเลยอุทธรณ์ มิได้ กรณี ไม่ ต้องด้วย ข้อยกเว้น ที่ จำเลย จะ ไม่ ต้อง จ่ายค่าชดเชย ตาม ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ47 (3) ส่วน ที่ จะ เป็น ความผิด ตาม ข้อบังคับ หรือ ระเบียบฯ เอกสารหมาย ล.1 ข้อ 11.2 1) ใน ข้อทุจริต ต่อ หน้าที่ หรือ กระทำ ความผิด อาญาโดยเจตนา แก่ นายจ้าง 2) จงใจ ทำ ให้ นายจ้าง ได้ รับ ความเสียหาย และ7) เสพ ของ มึนเมา หรือ เล่นการพนัน อัน มี โทษ ถึง ขั้น ไล่ออก นั้นเห็นว่า ตาม คำสั่ง เลิกจ้าง เอกสาร หมาย ล.4 หา ได้ ระบุ ความผิด ตามข้อ 11.2 1) และ 2) ไว้ ไม่ คดี ไม่มี ประเด็น สำหรับ ความผิด สอง ข้อนั้น ไม่ เป็น ข้อ ที่ ได้ ยก ขึ้น ว่า กัน มา แล้ว ใน ศาลแรงงานกลางศาลฎีกา ไม่ รับ วินิจฉัย อุทธรณ์ ประการ นี้ ส่วน ความผิด ตาม ข้อ 11.2 7) นั้น ศาลแรงงานกลาง ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า โจทก์ ทั้ง ห้า ไม่ ได้เล่น การพนัน จึง จะ ปรับ การ กระทำ ของ โจทก์ ทั้ง ห้า ด้วย ข้อ 11.27) มิได้
พิพากษา ยืน.

Share