คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248-1249/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

เมื่อจำเลยต้องรับผิดในผลของการกระทำละเมิดแล้วก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์เต็มจำนวนแม้โจทก์จะมีสิทธิเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการได้ก็เป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์จำเลยจะนำมาหักความรับผิดของตนหาได้ไม่ จำเลยที่1ขอเลื่อนคดีมา1ปีเศษจึงนำพยานเข้าสืบได้ปากเดียวศาลสั่งงดเพราะเห็นว่าเป็นการประวิงคดีนั้นเป็นดุลพินิจที่ชอบแล้ว ผู้ขับรถยนต์ทั้งสองฝ่ายชนกันโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียหายและไม่อาจแบ่งแยกผลของการละเมิดแต่ละฝ่ายใดประมาทมากน้อยกว่ากันศาลมีอำนาจกำหนดให้เฉลี่ยความรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหายฝ่ายละเท่าๆกันได้.

ย่อยาว

คดี ทั้ง สอง สำนวน นี้ ศาลชั้นต้น สั่ง รวม การ พิจารณา และ เรียกโจทก์ สำนวน แรก ว่า โจทก์ ที่ 1 สำนวน หลัง ว่า โจทก์ ที่ 2 โจทก์ที่ 3
โจทก์ ทั้ง สอง สำนวน ฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 เป็น กรม ใน รัฐบาล เป็นเจ้าของ รถยนต์ คัน ที่ เสียหาย โจทก์ ที่ 2 ที่ 3 เป็น ข้าราชการสังกัด กรม โจทก์ ที่ 1 จำเลย ที่ 2 เป็น ลูกจ้าง ขับ รถยนต์ ให้ จำเลยที่ 1 จำเลย ที่ 4 เป็น ลูกจ้าง ขับ รถยนต์ ให้ จำเลย ที่ 3 วันเกิดเหตุ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 4 ขับ รถยนต์ โดย ประมาท ชน รถยนต์ ของโจทก์ ที่ 1 โดย มี โจทก์ ที่ 3 เป็น ผู้ ขับขี่ เป็น เหตุ ให้ รถยนต์ของ โจทก์ ที่ 1 เสียหาย และ โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 ได้ รับ บาดเจ็ดขอ ให้ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน หรือ แทน กัน ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ แก่โจทก์ ทั้ง สาม ตาม ฟ้อง
จำเลย ที่ 2 และ ที่ 4 ขาด นัด ยื่น คำให้การ และ ขาดนัด พิจารณา
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า โจทก์ ที่ 1 ไม่ มี อำนาจฟ้อง เหตุ ที่ เกิดรถ ชนกัน เกิดจาก โจทก์ ที่ 3 ขับ รถยนต์ โดย ประมาท โจทก์ ทั้ง สามเรียก ค่าเสียหาย สูง เกินไป ขอ ให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 3 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 4 ไม่ ใช่ ลูกจ้าง และ ปฏิบัติหน้าที่ ใน ทางการ ที่ จ้าง ของ จำเลย ที่ 3 เหตุ ที่ เกิด รถยนต์ ชนกันเพราะ ความ ประมาท ของ โจทก์ ที่ 3 โจทก์ ทั้ง สาม เรียก ค่าเสียหายมา สูง เกินไป ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้แก่ โจทก์ ที่ 1 เป็น เงิน 60,000 บาท ให้ แก่ โจทก์ ที่ 2 เป็น เงิน93,978 บาท ให้ แก่ โจทก์ ที่ 3 เป็น เงิน 1,256 บาท พร้อมด้วย ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 เป็น เงิน 30,000 บาท โจทก์ ที่2 เป็น เงิน 46,989 บาท และ ให้ จำเลย ที่ 3 ที่ 4 ร่วมกัน ชดใช้ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ที่ 1 เป็น เงิน 30,000 บาท โจทก์ ที่ 2เป็น เงิน 46,989 บาท นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ ที่ 1 จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 ฎีกา
ศาลฎีกา ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า จำเลย ที่ 2 และ ที่ 4 ต่าง ประมาทไม่ น้อยกว่า กัน และ วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า โจทก์ ที่ 2 เป็นข้าราชการ มี สิทธิ เบิกเงิน ค่า รักษาพยาบาล เพราะ ความ ป่วยเจ็บ ได้โจทก์ ไม่ มี สิทธิ ฟ้อง เรียก ค่า รักษาพยาบาล จาก จำเลย ที่ 1 เต็มจำนวน และ การ ที่ ศาลชั้นต้น สั่ง งด สืบพยาน จำเลย ที่ 1 ที่ ขอ ให้ส่ง ประเด็น ไป สืบ ที่ ศาล จังหวัด นครปฐม เป็น การ ไม่ ชอบ นั้นเห็นว่า เมื่อ จำเลย ทั้ง สี่ ต้อง รับผิด ใน ผล ของ การ กระทำ ละเมิดแล้ว ก็ ต้อง รับผิด ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ โจทก์ เต็ม จำนวน ส่วน ที่โจทก์ จะ มี สิทธิ เบิกเงิน ค่า รักษาพยาบาล ได้ หรือไม่ นั้น เป็นสิทธิ เฉพาะตัว ของ โจทก์ จำเลย จะ นำ มา หัก ความ รับผิด ของ ตนหา ได้ ไม่ ส่วน ที่ ศาลล่าง สั่ง งด สืบพยาน จำเลย ที่ 1 นั้น ก็เพราะ จำเลย ที่ 1 ได้ ขอ เลื่อน คดี มา เรื่อย เป็น เวลา 1 ปี เศษจึง นำ พยาน เข้า สืบ ได้ ปาก เดียว จึง สั่ง งด เพราะ เห็นว่า เป็นการ ประวิงคดี คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ที่ ให้ งด สืบพยาน นั้น เห็น ว่าเป็น ดุลพินิจ ที่ ชอบ แล้ว ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ฟัง ไม่ ขึ้น มีปัญหา ต่อไป ตาม ที่ โจทก์ ที่ 1 ฎีกา ว่า ที่ ศาลอุทธรณ์ ให้ เฉลี่ยความ รับผิด ของ จำเลย ทั้ง สี่ โดย ให้ จำเลย ที่ 1 และ จำเลย ที่2 ร่วมกัน ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ โจทก์ 30,000 บาท และ ให้ จำเลย ที่3 และ จำเลย ที่ 4 ร่วมกัน ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ โจทก์ 30,000 บาทเป็น การ ไม่ ชอบ นั้น เห็นว่า การ ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า ไม่อาจ แบ่งแยก ผล ของ การ ละเมิด ว่า จำเลย ที่ 2 และ จำเลย ที่ 4ฝ่ายใด ประมาท มาก น้อย กว่ากัน จึง กำหนด ให้ เฉลี่ย ความ รับผิดฝ่าย ละ เท่ากัน นั้น เห็นว่า ชอบแล้ว ฎีกา โจทก์ ที่ 1 ฟัง ไม่ ขึ้น
พิพากษายืน.

Share